รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET Index ยังต้องผันผวนไปอีกระยะ
Top Pick เลือก BDMS, BLA, NER

ราคาสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดโลกที่ปรับขึ้น ทั้งตลาดหุ้น และ Commodity น่าจะสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นไทย แต่จะถูกลดทอนด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ เงินบาทที่อ่อนค่า ถือเป็นอุปสรรคต่อ Fund Flow ต่างชาติที่จะไหลเข้า และ สถานการณ์ Covid-19 ในประเทศที่ยังน่ากังวล วันนี้ติดตามการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ว่าจะมีมาตรการอะไร เพื่อควบคุมสถานการณ์หรือไม่ แต่เราประเมินว่ายังไม่น่าจะถึงขั้น Lockdown กทม. ส่วนการเมืองในประเทศการชุมนุมวานนี้ผ่านไปด้วยดี ขณะที่การแก้รัฐธรรมนูญรัฐสภามีมติรับหลักการวาระที่ 1 เพียง 1 ร่างซึ่งให้น้ำหนักไปที่การเปลี่ยนกลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

การที่ SET Indexลงไปต่ำกว่า 1580 จุด แล้วดีดกลับขึ้นมา ถือเป็นภาวะที่ยังน่าจะเห็นความผันผวนต่อไปอีกระยะหนึ่ง พอร์ตจำลอง วานนี้มีStop Profit/Cut Loss หุ้น AOT, BLA และ BAM วันนี้ให้ซื้อหุ้น BDMS, BLA และ NER เข้าอย่างละ 10% ถือเงินสด 20% Top Pick เลือก BDMS, BLA และ NER

ต่างประเทศฟื้น Sentiment บวกตลาดหุ้นไทย .. แต่ยังมีFactor ในประเทศที่ต้องติดตาม
สินทรัพย์เสี่ยงโลกวานนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐเพิ่มขึ้น 0.6% ทำ New High, ตลาดหุ้นยุโรปเพิ่มขึ้น 1.1%, รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มขึ้นเช่นกัน อาทิ ราคาน้ำมันดิบ Brent ทรงตัวสูงแตะ 75.5 เหรียญ เป็น Sentiment บวกต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน PTTEP (FV@B128) และ PTT (FV@B48.50), ถ่านหิน, ยางพารา, ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

แรงหนุนสำคัญมาจาก 3 ประเด็น คือ
• นาย Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้บรรลุข้อตกลงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกับสภาคองเกรสแล้ว โดยเป็นการลงทุนก่อสร้างและปรับปรุงถนน, สะพาน, ทางรถไฟ, โครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น วงเงิน 5.79 แสนล้านเหรียญ
• ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เผยผลทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ของธนาคารพาณิชย์สหรัฐ พบว่าธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ 23 ผ่านการทดสอบ ส่งผลให้ธนาคารเหล่านี้สามารถกลับมาจ่ายเงินปันผล และดำเนินการซื้อคืนหุ้นได้อีกครั้ง หนุนหุ้นธนาคารสหรัฐ อาทิ JP Morgan, Golman Sach ปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2%
• นาย John Williams ประธาน Fed สาขา New York กล่าวว่า “ณ เวลานี้ยังไม่ใช่จังหวะที่ Fed ควรปรับนโยบายการเงิน เพราะเศรษฐกิจสหรัฐยังห่างไกลจากระดับการจ้างงานสูงสุด แต่เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว Fed สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยให้กลับมาใกล้เคียงระดับปกติ (Normal level) ได้” คำกล่าวล่าสุดของ นาย Williams ช่วยลดความกังวลการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของ Fed ในระยะสั้นลงมาได้

ปัจจัยบวกจากต่างประเทศดังกล่าว ASPS ประเมินเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้ แต่หากประเมินปัจจัยในประเทศ หากประเมินยังมีหลาย Factor กดดัน SET Index อาทิ

1. Covid-19 สายพันธ์ใหม่ๆ, จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันที่ยังยืนเหนือ 3000 ราย ,ความกังวลเตียงไม่เพียงพอ และการแพร่กระจายใน Cluster ใหม่ๆที่ยังมีต่อเนื่อง

2.วันนี้ ศบค. ชุดใหญ่พิจารณาว่าจำเป็นต้องกลับมา Lockdown กทม. 7 วัน หรือไม่ เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม และอาจจะกดดันหุ้นเปิดเมือง Reopen ที่มีฐานรายได้ในกทม อาทิ กลุ่มขนส่ง กลุ่มสื่อ กลุ่มค้าปลีก ฯลฯ ขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ หากมีการ Lockdown กทม. 7 วัน กระทบราว 1.1 หมื่นล้านบาท หรือกระทบราว 0.11% ของ Real GDP ปี 2563 (อ้างอิงฐานข้อมูลจาก หอการค้า)

3. เงินบาทที่อ่อนค่าต่อเนื่อง กดดัน Flow ไหลออก

“ส่งออก” ยังเป็นพระเอกของเศรษฐกิจไทยปี 2564 แนะนำหุ้นส่งออก NER, TFG
พระเอกขับเคลื่อนเดียวของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ที่ยังมีอนาคตสดใส คือ “ภาคส่งออก” (โดยฟันเฟืองเศรษฐกิจในประเทศ อาทิ การบริโภคครัวเรือน ยังถูกดดันจาก Covid-19) โดยASPS นำเสนอมาตลอด ถึงสัญญาณบวกหนุนแนวโน้มส่งออกต่างประเทศ : ประเทศหัวเรือใหญ่ ฉีดวัคซีน Covid -19 ต่อเนื่อง และเริ่ม Reopen หนุนการบริโภคในประเทศ ซึ่งอิง คาดการณ์การค้าโลกปี 2564-2565 ของ IMF รอบล่าสุด เม.ย. 64 คาดจะขยายตัวสูง 8.4%yoy และ 6.5% ตามลำดับ

ในประเทศ :
▪ ค่าเงินบาท/ดอลลาร์ เช้านี้อ่อนค่าอยู่ที่ 31.84 บาท สูงสุดในรอบ 1 ปีนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน มิ.ย. 2564 เป็นต้นมา หากนับตั้งแต่ต้นสัปดาห์อ่อนค่ากว่า 5.6%wtd แลละถ้านับตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่า 6.3%ytd นับเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากสุดในเอเชีย ทำให้สินค้าส่งออกราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
▪ หลายสำนักเศรษฐกิจทยอย Upgrade Assumption ส่งออกปี 2564 ที่สำคัญ คือ ล่าสุด การประชุม กนง. 23 มิ.ย. ธปท.ปรับเพิ่มส่งออก โต 17.1% จากเดิม 10% สูงกว่า Consensus ที่คาดการส่งออกจะขยายตัวราว 7-10% (ASPS คาด 8%) ตอกย้ำความเชื่อมั่น
• ตัวเลขส่งออก เดือน พ.ค. เมื่อวานนี้ ที่กระทวงพาณิชย์ประกาศ อยู่ที่ 2.3 หมื่นล้านเหรียญฯ ออกมาโตระเบิด 41.59% สูงสุดในรอบเกือบ 11 ปี หลักๆมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว ,ราคาสินค้าส่งออกปรับเพิ่มขึ้น , ตลาดส่งออกสำคัญทุกตลาด อาทิ จีน สหรัฐ ฯลฯ ขยายตัว 20-50% โดยรวมทำให้ส่งออกเฉลี่ย 5M64 +10.8% หากดูไส้ในสินค้าส่งออกที่ มีการเติบโตตลอดตั้งแต่ต้นปี 2564 –ปัจจุบัน และเชื่อว่าจะมีแนวโน้มดีต่อเนื่องในช่วงที่เหลือออีก 7 เดือนของปีนี้ อิงข้อมูล กระทรวงพาณิชย์ แบ่งเป็น
▪ Sector เกษตร สินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดี หลักๆ คือ ยางพารา (บริษัทจดทะเบียนในตลาดที่ส่งออกอาทิ NER ,STA) , สิ่งปรุงรสอาหาร(XO), อาหารสัตว์เลี้ยง(TU,ASIAN) ไก่สด แช่เย็นและแช่แข็ง (GFPT,TFG CPF) , ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (TWPC)
▪ Sector อุตสาหกรรม สินค้าส่งออกที่ขยายตัวได้ดีคือ กลุ่มยายนต์ (SAT ,AH) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (VNG,SKN) เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ HANA
▪ กลุ่มหุ้นที่ด้ประโยชน์ทางอ้อมจากส่งออกที่ขยายตัว บริษัทมีพ้ืนที่ให้บริการจัดเก็บสินค้าในแหลมฉบัง JWD , WHA FPT หรือ บริษัทที่ทำธรุรกิจขนส่งระหว่างประเทศ อาทิ WICE

โดยรวมจะเห็นได้ว่าเมื่อวานนี้ราคาหุ้นส่งออกหลายตัวปรับขึ้นมา ASPS ยังเชื่อว่า 1 ในช่วง 2H64 1 ใน Theme การลงทุน คือ หุ้นส่งออก และกลุ่มที่ได้ประโยชน์ทางอ้อมจากส่งออกที่เพิ่ม ยังลงทุนได้ โดยหุ้นสที่ฝ่ายวิจัยยังแนะนำซื้อ อาทิ NER, STA, TU, TFG, CPF, SAT โดยชื่นชอบ NER , TFG

ความเสี่ยงในประเทศ บาทอ่อน จำกัดการขึ้นของตลาด แนะหุ้น NER, BDMS, BLA
แม้ภาพรวมสินทรัพย์เสี่ยงโลกฟื้นตัวต่อ หนุนให้ SET Index มีโอกาสฟื้นตัวตามในวันนี้ แต่ Upside ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากยังมีหลายเหตุปัจจัยในประเทศกดดัน ทั้งความกังวล COVID-19 ระบาดสูงขึ้น โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่ยังมีความเสี่ยงอาจมีมาตรการ Lockdown 7 วัน ขณะเดียวกันการชุมนุมทางการเมืองยังมีต่อ ส่งผลให้เม็ดเงินลงทุนต่างชาติไหลเข้าจำกัด

นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเร็วใกล้ระดับ 32 บาท/ดอลลาร์ (สูงสุดในรอบ 1 ปี 1 เดือน) และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง ถือเป็นอีกปัจจัยกดดัน Fund Flow จากต่างชาติ สะท้อนได้จากสถิติในอดีตตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน Fund Flow ที่ไหลออกกับเงินบาทที่อ่อนค่ามีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน โดยตลอด 14 ช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยทุกครั้ง และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุกๆ 1% มักจะกดดันให้ Fund Flow ไหลออกเฉลี่ยราว 6.9 พันล้านบาท

ดังนั้นทั้งความเสี่ยงในประเทศที่เพิ่มขึ้นแล้ว และนักลงทุนต่างชาติยังมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มตัว เป็นตัวกดดันให้ SET Index ขึ้นได้ไม่เต็มที่ กลยุทธ์การลงทุนเน้นหลบเลี่ยงความผันผวน โดยเลือกหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง ที่มีความสัมพันธ์ดัชนีไม่มาก และมีปัจจัยเฉพาะตัวเป็นแรงส่ง อย่าง NER, BDMS และ BLA เป็น Toppick ในวันนี้

NER (FV @ 9.50) หุ้นกลุ่มส่งออกยางพาราที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าโดย ล่าสุดเงินบาทอยู่ที่ 31.8 บาท/เหรียญฯ(อ่อนค่ากว่า 1.9%mtd) อีกทั้งเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนคำสั่งซื้อจากลูกค้าใหม่และเก่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หนุนแนวโน้มธุรกิจยางพาราของ NER จะเติบโตชัดเจนต่อจากนี้ โดยคาดกำไรสุทธิปี 2564-65 จะเพิ่มขึ้นถึง 87.5% yoy และ 17.4% yoy จากแนวโน้มปริมาณขายยางพาราและทิศทางราคายางพาราเพิ่มขึ้น และราคาหุ้นปัจจุบันมีค่า PER เพียง 7 เท่า และคาดหวัง Dividend yield ได้กว่า 5.6% ต่อปี

BLA (FV @ 35.00) หนึ่งในหุ้นที่ควรมีไว้ติดพอร์ต เนื่องจากได้ประโยชน์จากแนวโน้ม Bond Yield ขาขึ้น และคาดกำไรสุทธิปี 2564 จะเพิ่มขึ้นถึง 109.6% yoy จากฐานกำไรที่ต่ำในปี 2563 และธุรกิจประกันชีวิตฟื้นตัว ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆมากขึ้น

BDMS (FV @ 24.00) หุ้นที่แข็งแกร่งสุดกลุ่มฯ และฝ่ายวิจัยยังชื่นชอบมากสุดในกลุ่มฯ จากธุรกิจที่แข็งแกร่ง และมีเครือข่ายครอบคลุม โดยเชื่อว่าผลประกอบการนับจาก 2Q64 ต่อเนื่องปี 2565 จะฟื้นตัวต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกทม.อีกทั้ง 2H64 จากความคืบหน้าวัคซีน อาจหนุนผู้ป่วยไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด ขณะที่ผู้ป่วย Fly-in คาดหวังทยอยฟื้นตัวบางส่วน คงคาดกำไรปกติปี 2564 โต 43%YoY

- Advertisement -