รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน

ต้องผ่านหลายด่านทดสอบ ถือเงินสด 20%
Top Pick เลือก BJC, GPSC และ MCS
ในเชิงของ Sentiment การลงทุน ช่วง ก.ค. ต่อเนื่อง ส.ค. มีหลายด่านที่อาจสร้างแรงกดดัน และอาจทำให้ SET Index พักฐาน เริ่มจากสถานการณ์ Covid-19 ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของ ก.ค.64 น่าจะเป็นช่วงที่น่าเป็นห่วงที่สุดโดยน่าจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อเป็น New High ต่อเนื่องซึ่งจะเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขอย่างหนักและอาจเปิด Downsideให้กับประมาณการ GDP รวมถึง กำไรบริษัทจดทะเบียน ด่านที่ 2 เป็นเรื่องแนวนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นการส่งสัญญาณลดระดับการผ่อนคลายที่แรงขึ้นช่วงเดือน ก.ค. หรือ ส.ค. และด่านที่ 3 เป็นเรื่องของกำไรงวด 2Q64 โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักน่าจะมีฐานกำไรที่ลดลงจาก 1Q64

การกำหนดกลยุทธ์ลงทุนช่วงเดือน ก.ค. ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น โดย SET Index น่าจะผันผวน แนะนำถือครองเงินสด 20% วันนี้ไม่มีการปรับพอร์ต จำลอง หุ้น Top Pick เลือก BJC, GPSC และ MCS

เงินบาทอ่อนค่าอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 1 ปี 1 เดือน ชะลอ Flow ไหลเข้า แต่ดีต่อหุ้นส่งออก
วานนี้ สหรัฐรายงานตัวเลขเศรษฐกิจแข็งแกร่ง โดย ยอดผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสหรัฐครั้งแรก ยังลดลง 5.1 หมื่นราย อยู่ที่ 3.64 แสนราย ต่ำสุดตั้งแต่เกิดโควิด-19 ในสหรัฐ ในเดือน มี.ค. 2563 เป็นปัจจัยหนุน Dollar แข็งค่าต่อเนื่อง ล่าสุด อยู่ที่ 92.3 จุด ส่งผลให้เงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ล่าสุด 32.15 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 1 ปี 1 เดือน และนับตั้งแต่ต้นปี – ปัจจุบัน เงินบาทเป็นสกุลที่อ่อนค่าเป็นอันดับ 2 ในเอเซีย รองจากเงินเย็นญี่ปุ่น

ดังที่ฝ่ายวิจัย ASPS นำเสนอในช่วงก่อนหน้า คือ เงินบาทที่อ่อนค่าและมีแนวโน้มอ่อนค่าจะกระทบ 2 ส่วนคือ

(-) ปัจจัยกดดัน Fund Flow จากต่างชาติสะท้อนได้จากสถิติในอดีตตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน Fund Flow ที่ไหลออก กับเงินบาทที่อ่อนค่ามีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน โดยตลอด 14 ช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยทุกครั้ง และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุกๆ 1% มักจะกดดันให้ Fund Flow ไหลออกเฉลี่ยราว 6.9 พันล้านบาท

(+) เงินบาทที่อ่อนค่าดีต่อ ภาคส่งออก โดยผู้ส่งออกจะได้รายรับจากค่าเงินที่มากขึ้น ดีต่อหุ้นส่งออกในบริษัทจดทะเบียน หลักๆ กลุ่มเกษตรและอาหาร ฝ่ายวิจัยแนะนำ NER (FV@9.5) , STA(FV@60.0), TU(FV@20.0), TFG(FV@6.2), CPF(FV@42.0) กลุ่มส่งออกยานยนต์ แนะนำ SAT(FV@24.0) กลุ่มส่งออกเหล็ก แนะนำ MCS (FV @21.90) ส่วนกลุ่มส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ KCE DELTA HANA SVI ราคาหุ้นเกือบทุกตัวราคาปรับขึ้นไปสูงเกินพื้นฐาน แนะนำเพียงเก็งกำไร

ในส่วนของตลาดหุ้นโลกและหุ้นไทยในวันนี้ คาดจะแกว่งตัวโดยรอช่วงเย็น – คืนนี้

1. ตัวเลขการจ้างงานสหรัฐ คือ อัตราการว่างงานสหรัฐ เดือน มิย. Consensus คาด จะลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 5.7% จากเดือนก่อนหน้า 5.8% และจุดสูงสุดกลางปี 2563 ที่ 14.7% และ ยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ตลาดคาด 6.75 แสนราย เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.ที่ออกมา 5.6 แสนราย

2. การประชุม OPEC+ ถูกเลื่อน 1 วัน แต่จะรู้ผลคืนนี้ ตลาดคาด OPEC+ จะมีการเพิ่มการผลิตน้ำมัน 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ของเดือน ส.ค. ( มติการประชุมรอบที่แล้วกำหนดถึงแค่ เดือน ก.ค. คือจะเพิ่ม 4.4 แสนบาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 6.2 ล้านบาร์เรล/วัน) เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม คำแนะนำหุ้นน้ำมัน PTT (Buy: FV@B48.5) และ PTTEP (Buy: FV@B128) ซึ่งทั้ง 2 ตัวราคาหุ้นยัง
Laggard ราคาน้ำมันดิบที่ปรับขึ้นมาแรงต่อเนื่องค่อนข้างมาก ยังคงคำแนะนำทยอยสะสมลงทุน

มาตรการกระตุ้นทางการคลังของรัฐ เตรียมทยอยออกมาตั้งแต่ ก.ค.

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐเป็นแรงหนุนสำคัญที่ช่วยประคอง และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วง 2H64 โดยแบ่งเป็น

▪ มาตรการที่รัฐบาลอนุมัติและเริ่มมีผลแล้ว ล่าสุดเมื่อวาน วันแรกของการเริ่มมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 , ยิ่งใช้ยิ่งได้ ฯลฯ และจะมีเข้ามาต่อเนื่อง หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการข้างต้น คาดเป็นหุ้นในกลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะหุ้นค้าปลีกที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อใบเสร็จสูง เช่น กลุ่มซ่อมแซม-ต่อเติมบ้าน (HMRO, DOHOME), กลุ่มแฟชั่น (CRC), กลุ่มอุปกรณ์ IT (COM7, SPVI) และหุ้นกลุ่มห้างสรรพสินค้า (CPN, BJC)

มาตรการคลังที่รัฐยังไม่อนุมัติและเตรียมจะออกเพิ่มเติม อิง นสพ. กรุงเทพธุรกิจเช้านี้ คาดวงเงิน 6 หมื่นล้านบาท โดยมุ่งเน้นไปที่ SMEs โดยฝั่งภาคเอกชนเสนอให้รัฐดำเนิน คือ มาตรการจะเป็นลักษณะร่วมจ่าย (Copayment) , การลดการจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ลงจาก 7% เหลือ 3.5% ธุรกิจ SMEs ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น เป็นประเด็นติดตามต่อ

ตลาดหุ้นไทย ในช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. ยังต้องเผชิญ 3 ประเด็นสำคัญ

ฝ่ายวิจัยประเมิน Timeline ในช่วงเดือน ก.ค.- ส.ค. ประเมินมี 3 ประเด็นสำคัญที่น่าจะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นไทย หลักๆ คือ

1. การระบาดของ COVID-19 จากการแพร่สายพันธุ์ Delta (อินเดีย) : เช้านี้พบผู้ติดเชื้อ 6,087 ราย ยังทำ New High ดังที่ฝ่ายวิจัยนำเสนอข้อมูลคาดการณ์ใน Maket talk เมื่อวานนี้ ASPS ประเมินว่าหากการะบาดของสายพันธุ์ Delta ในไทยคล้ายกับอินเดีย คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อของไทยจะทำจุดสูงสุด (Peak) ในช่วงประมาณราวสัปดาห์ที่ 2-3 ของเดือน ก.ค. 2564 ก่อนที่จะค่อยๆลดลงจนใกล้เคียงระดับเดิมในวันที่ 7 ก.ย. 2564 อย่างไรก็ตามหากสถานการณืไม่ดีขึ้นหรือ เพิ่มขึ้น คาดจะเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นไทย

2 การส่งสัญญาณลดระดับการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ Fed คาดจะมีเข้ามาต่อเนื่อง : หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2566 ราว 2 ครั้งส่วนการส่งสัญญาณปรับลดวงเงิน QE (QE Tapering) หากอิงจากรูปแบบ (Pattern) การส่งสัญญาณ QE Tapering ในรอบก่อน (ปี 2556-2558) พบว่า นับตั้งแต่ Fed เริ่มส่งสัญญาณ QE Tapering ครั้งแรก จนถึงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะใช้ระยะเวลาประมาณ 20 เดือน และถ้ากำหนดให้ Fed จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจริงในช่วงปลายปี 2566 (ตามที่ส่งสัญญาณ) เมื่อนำมาคำนวณย้อนกลับ พบว่า Fed ควรจะส่งสัญญาณ QE Tapering ในรอบนี้ประมาณช่วงเดือน ก.ค.–ส.ค. 2564 สอดคล้องกับกำหนดการต่างๆในช่วงเดือน ก.ค.–ส.ค. 2564 ที่ตลาดคาดว่า Fed จะสัญญาณ QE Tapering เพิ่มเติม เช่น การประชุม Fed ในวันที่ 27-28 ก.ค. 2564, การประชุม Jackson Hole Symposium ในวันที่ 26-28 ส.ค.2564 เป็นต้น

3 กำไรบริษัทจดทะเบียนงวด 2Q64 อาจชะลอตัว %qoq:
จาก 2 เหตุผลหลัก คือ
▪ ฐานกำไรไตรมาส 1 ที่อยู่ระดับ 2.6 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้น135%yoy, 45%qoq) และสูงกว่าที่ Consensus คาดถึง 38% ซึ่งไม่โดนกดดันจากประเด็น COVID-19 ขณะที่ไตรมาส 2 นั้นถูกกดดันเต็มไตรมาส จากมาตการการแบ่งโซนสีไปนานกว่า 2.5 เดือน (ช่วงกลางเดือน เม.ย. – มิ.ย. 64)

▪ กำไรกลุ่มหลักๆ อย่างพลังงานที่อิงกับราคาน้ำมันดิบ คาดได้รับ Stock Gain ไม่มากเท่าไตรมาส 1 ที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งแรง และกลุ่มธพ. ที่มีกำไร 1Q64 รวม 4.6 หมื่นล้านบาท (เติบโต 2%YoY, 45%QoQ) ดีกว่าคาดมาก ซึ่งใน 2Q64 น่าจะตั้งสำรองสูงขึ้นจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ไม่น่าจะดูดีเท่างวด 1Q64 ดังนั้นมองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index วันนี้ไว้ที่ 1582 –1600 จุดเช่นเดิม โดยกลยุทธ์เอาชนะตลาดที่ไร้ปัจจัยบวกด้วยหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งที่คาดกำไรปีนี้ จะ
เติบโตอย่าง MCS BJC และ GPSC เป็น Toppick ในวันนี้

MCS (FV @ 21.90) เงินบาทอ่อนค่า ส่งผลดีต่อ MCS โดยจากการประเมิน Sensitivity Analysis ภายใต้สมมติฐานปัจจุบัน พบว่า การอ่อนค่าของเงินบาททุกๆ 1 บาท/100 เยน จะทำให้กำไรสุทธิปี 2564 เพิ่มขึ้น 3.5% จากประมาณการปัจจุบัน โดยเบื้องต้นประเมินกำไรสุทธิ 2Q64 จะอยู่ในช่วง 250-300 ล้านบาท เติบโตไม่ต่ำกว่า 15%YoY จากงานส่งมอบเป็นงานที่ให้ margin สูง อย่างโครงการ Toranomon และ Azabudai ซึ่งมีราคาขายเฉลี่ยเริ่มต้น 2.9 แสนเยน/ตัน

BJC (FV @ 39.50) แนวโน้มระยะสั้นเชื่อว่าเห็นผลกระทบ COVID รอบใหม่บั่นทอนการฟื้นตัวต่อธุรกิจ แต่คาดจะเริ่มดีขึ้นในช่วงมิ.ย.64 กอปรกับ ผลบวกการปรับโครงสร้างค่าใช้จ่ายภายในคาดเห็นต่อเนื่อง และจะช่วยให้เห็นกำไร 2Q64 ลดลง yoy ในอัตราชะลอลงได้ขณะที่งวด 2H64 เชื่อว่ายังคาดหวังฟื้นตัวได้จากทั้งการท่องเที่ยวในประเทศ + กิจกรรมเศรษฐกิจที่น่าจะทยอยดีขึ้นจากแผนเร่งกระจายวัคซีนของไทยทั่วถึง คาดกำไรปกติ ปี 2564 เติบโต 29.1%

GPSC (FV @ 82.00) รัฐบาลตั้งคณะกรรมการยานต์ยนต์ไฟฟ้า กับเป้าหมาย Zero Emission (ตามหัวข้อก่อหน้า) ถือป็น Sentiment เชิงบวกต่อ GPSC ที่มีศักยภาพโดดเด่นที่จะก้าวสู่ธุรกิจยานยนต์ อีกทั้งคาดทิศทางกำไรปกติงวด 2Q64 จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจาก 1Q64 จากรายได้ขายไฟฟ้าให้กับทางภาครัฐ (EGAT) ที่คาดจะเพิ่มขึ้น รวมถึงค่า K-Factor ในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่คาดจะปรับเพิ่มขึ้นตามช่วงฤดูกาล

- Advertisement -