Stocks prices are displayed on an electronic stock board at the Asia Plus Securities Pcl headquarters in Bangkok, Thailand, on Friday, Aug. 30, 2013. Stocks in Southeast Asia are tumbling at the fastest pace in 12 years relative to global equities, sending the regional benchmark index into a bear market as foreign investors cut holdings for a third month. Photographer: Dario Pignatelli/Bloomberg
บล.เอเชียพลัส

ความเสี่ยงยังปกคลุม ต้องระวังการปรับฐาน Top Pick เลือก AEONTS, NER, SAPPE
ตัวเลข PMI สหรัฐที่ประกาศเมื่อคืนสร้างความปั่นป่วนให้ตลาดการเงิน โดยราคาหุ้นปรับตัวลดลง, Bond Yield ระยะยาวหักหัวลง แต่เงิน USD แข็งค่า กดดัน Commodity และ เงินบาท ให้อ่อนตัว ภาวะดังกล่าวน่าจะเป็นปัจจัย
สร้างแรงกดดันต่อ SET Index วันนี้ ส่วนในประเทศต้องติดตามสถานการณ์ Covid-19 ใกล้ชิด โดยหากจำนวนผู้ติดเชื้อไม่ลดลงภายในสัปดาห์หน้าอาจมีการพิจารณามาตรการควบคุมที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งมีการพูดถึงการทำ
Lockdown เหมือนช่วง 2Q63

อีกเรื่องหนึ่งแม้เป็นกระแสแต่ก็ถือว่ามีน้ำหนักต่อทิศทางตลาดหุ้นมากคือ การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับการขายหุ้น ซึ่งอาจทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของตลาดหุ้นไทยในเวทีโลกลดลง ทำให้ SET Index ยังมีความเสี่ยงต่อการปรับฐาน ต้องลงทุนด้วยความระมัดระวังพอร์ตจำลอง ยังให้ถือเงินสดสำรอง 25% ส่วนโครงสร้างหุ้นในพอร์ต ยังคงตามเดิม Top Pick เลือก AEONTS, NER แล SAPPE

PMI สหรัฐ เดือน มิ.ย. ชะลอ กดดัน Bond Yield, สินค้าโภคภัณฑ์ และเงินบาทอ่อนค่าแรง แต่ดีต่อหุ้นส่งออก
ต่างประเทศ สหรัฐ เมื่อคืน รายงาน PMI เดือน มิ.ย. ภาคต่างๆ โดยเฉพาะภาคบริการออกมา อยู่ที่ 60 จุด แต่ต่ำกว่าที่ตลาดคาด และลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในช่วงสั้นส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงปรับฐาน และเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ พันธบัตร

▪ ตลาดหุ้นต่างประเทศ ; ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรป เมื่อคืนปรับลงจากประเด็น PMI ดังกล่าว
▪ ตลาดพันธบัตร : สะท้อนผ่าน Bond Yield สหรัฐ อายุ 2 ปี 5 ปี และ 10 ปี ปรับลงแรง (ดังตาราง)แต่ ASPS ประเมินเป็นปัจจัยชั่วคราว คาดในระยะกลาง – ยาว คาดแนวโน้ม Bond Yield สหรัฐ และไทย ยังเป็นขาขึ้น ตาม
ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น

▪ อัตราแลกเปลี่ยน : ค่าเงินดอลลาร์ อิง Dollar Index ล่าสุด ยังแข็งค่า 92.5 จุด (นับตั้งแต่ต้นปี แข็งค่าราว 2.9%) หนุนให้ค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 32.3 บาท/ดอลลาร์ ทำจุดสูงสุดตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค.63 สูงสุดในรอบ 1 ปี 3เดือน] เป็น Sentiment บวกต่อหุ้นส่งออก อาทิ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ KCE, DELTA ,HANA ฯลฯ (ราคาหุ้นหลายตัวเกินมูลค่าพื้นฐาน แนะนำเก็งกำไร) กลุ่มเกษตรและอาหาร อาทิ NER, STA, TU, TFG, CPF และกลุ่มส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ SAT

▪ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ : ส่วนนึงคาดว่าเป็นผลจาก Dollar index ที่แข็งค่า และการ Take Profit ทำให้หลายสินค้าปรับลงแรง อาทิ ราคากากถั่วเหลืองปรับฐานแรง 6.7% ถือเป็น Sentiemnt เชิงลบต่อ หุ้น TVO (FV@42.0) ,ถ่านหิน ปรับฐานแรง 4.76% Sentiemnt เชิงลบต่อ หุ้น BANPU , LANNA และราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับฐานแรง 3.4% หลังจากวันก่อนหน้าปรับเพิ่มขึ้นหลังจากการประชุม OPEC ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปการรตัดลกำลังการผลิตในเดือน ส.ค. เป็นต้นไป ช่วงสั้นประเมินเป็น Sentiment ลบต่อหุ้นน้ำมัน แต่ ราคาหุ้น PTTEP (FV@B128) และ PTT (FV@B48.5) ยัง Laggard ราคาน้ำมันดิบอยู่มาก แนะนำหาจังหวะทยอยสะสมลงทุน

ในประเทศ ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทย ยังถูกกดดันจาก Covid, การจัดหาวัคซีน , การจำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจ

ประเด็นในประเทศที่น่าจะยังมีผลต่อการขับเคลื่อนของ SET index ตลอดเดือน ก.ค. ดังที่ ASPS นำเสนอยังมี 3 เรื่องที่ยังเป็นปัจจัยกดดัน คือ

1. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่ Covid ที่ยังอยู่ระดับ 5-6 พันรายต่อวัน และความกังวลการระบาดทั้งสายพันธ์ Delta และ สายพันธ์ใหม่ ล่าสุด คือ แลมบ์ดา จากประเทศเปรู ที่ต่างประเทศพบเจอแล้วใน 30 ประเทศทั่วโลก
(แพร่กระจายเร็วกว่า Delta) เป็นประเด็นที่ต้องติดตาม

2. การกระจายวัคซีน และการจัดหาวัคซีน COVID-19 หากจะเปิดประเทศภายใน 120 วัน ในเดือน ตค.64 จะต้องฉีดวัคซีนให้ได้เฉลี่ยวันละ 3.5 แสนโดสต่อวัน (ข้อมูลการฉีดรายวัน ดูเหมือนว่าจะทำได้ต่ำกว่าเป้า คือ ฉีดได้วันละ 1-2 แสนโดส) ส่วนการจัดหาวัคซีน เป็นประเด็นที่ต้องติดตามจะเป็นไปตามแผนหรือไม่ แม้วานนี้ที่ประชุม ครม. อนุมัติจัดซื้อวัคซีน COVID-19 เพิ่มเติม ได้แก่วัคซีน Sinovac 10.9 ล้านโดส เข้ามาช่วง ก.ค. – ส.ค. 2564, Pfizer 20 ล้านโดส เข้ามาช่วง ต.ค. 2564 และ Moderna 5-9ล้านโดส เข้ามาช่วง 4Q64 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เมื่อวานหลายตัวปรับฐานแรง

3. การจำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจ หลังจากรัฐบาล Lockdown 10 จังหวัด ระยะเวลา 1 เดือน และปัจจุบันสถานการร์ผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้น ล่าสุดเริ่มมีข้อเสนอจาก ศบค. คือคาดจะประชุมในวันที่ 11-12 ก.ค. 2564 เพื่อประเมินสถานการณ์ ซึ่งหากแนวโน้มยังไม่ดีขึ้น ศบค. อาจพิจารณายกระดับมาตรการ Lockdown เหมือนช่วงเดือน เม.ย. 2563 ได้

โดยรวมจากปัจจัยโดยรวม หากสถานการณ์ยืดเยื้อ และผิดเป้าที่รัฐวางไว้ คาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นไทยในช่วงตลอด 3Q64 และผลกระทบคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ Downside ทั้ง GDP Growth และกำไรบริษัทจดทะเบียนทั้งปี มีโอกาสถูก Revise

ภาษีการขายหุ้น … อีกหนึ่งปัจจัยสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นไทย

ภายหลังมีกระแสข่าวว่า ไทยกำลังพิจารณากลับมาเก็บภาษีรายรับจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์อัตรา 0.11% สำหรับนักลงทุนที่มูลค่าการซื้อขายเกิน 1 ล้านบาทต่อเดือน ตามที่แหล่งข่าวต่างประเทศทั้ง Bloomberg และ Reuters รายงาน

ประเด็นดังกล่าว ASPS พบว่า ไทยมีการจัดเก็บภาษีรายรับจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ในอัตรา 0.1% อยู่แล้วตามกฎหมาย แต่ภาษีดังกล่าวได้รับการยกเว้นมาตั้งแต่ปี 2534–ปัจจุบัน ภาครัฐจึงสามารถพิจารณากลับมาจัดเก็บภาษีได้หากต้องการขยายฐานภาษี

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาท่าทีจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องพบว่า ส่วนใหญ่ยังปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติม (แต่ก็ไม่ปฏิเสธแนวคิด) เช่น นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุ ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ากระทรวงการคลังกำลังพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างภาษีในตัวใดบ้าง แต่ยืนยันระบบภาษีที่ปรับปรุงจะต้องส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน, ทันสมัย, มีประสิทธิภาพ,เป็นธรรม, และทั่วถึง ขณะที่ทาง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) นายภากร ปีตธวัชชัย ผู้จัดการ ตลท. เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯไม่ขอออกความคิดเห็นกรณีดังกล่าว เนื่องจากไม่มีอำนาจตัดสินใจ

ทั้งนี้ หากภาครัฐกลับจัดเก็บภาษีจริง ASPS คาดว่าจะส่งให้รัฐมีรายได้เพิ่ม และกระทบตลาดฯ ดังนี้
1. รายได้รัฐจะเพิ่มปีละประมาณ 1- 2 หมื่นล้านบาท (ถ้ามูลค่าซื้อขายยังอยู่ในระดับใกล้เคียงอดีต) คือ ในปีปัจจุบันนักลงทุนประเภท Active มีการซื้อขายหุ้นเฉลี่ยราว 2-3 ล้านบาท/เดือน หากรัฐเรียกเก็บภาษีนักลงทุนที่มีการ
ขายหุ้นเกิน 1 ล้านบาท/เดือน แสดงว่านักลงทุนประเภท Active ส่วนใหญ่จะถูกเก็บภาษี ในเบื้องต้นหากคำนวณรายได้รัฐจากการเก็บภาษีหลักทรัพย์ ในช่วง 1H64 ตลาดฯมีมูลค่าซื้อขาย (คิดขาเดียว) รวม 11.3 ล้านล้านบาท (ytd) เมื่อคูณอัตราภาษี 0.11% รัฐจะมีรายได้เพิ่มประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท (ถ้าทำเป็นทั้งปีก็สูงเกิน 2 หมื่นล้านบาท) และหากพิจารณาจากมูลค่าซื้อขายในอดีตพบว่าส่วนใหญ่แล้วรัฐจะได้รายได้เพิ่มเกิน 1 หมื่นล้านบาทต่อปี

2. ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องจากผลตอบแทนของการ Trading ลดลง จาก Transaction cost ที่สูงขึ้นมาก ทำให้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากทั้งนักลงทุนไทยและต่างประเทศได้ลดน้อยลง โดยเฉพาะจากนักเก็ง
กำไรภาษีขายหลักทรัพย์ขาเดียว 0.11% รัฐได้ตังเกินหมื่นล้านบาท/ปี

3. มูลค่าการซื้อขายหดตัวลง อาจส่งผลให้การเรียกเก็บภาษีในระยาวมีโอกาสลดลง ตราบที่มูลค่าซื้อขายในอนาคตยังคงลดลงต่อเนื่อง ประเด็นดังกล่าว หากรัฐปฏิบัติจริงถือว่ากดดันตลาดหุ้นพอสมควร ทั้งในมุมผลตอบแทน และมูลค่าซื้อขายที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ASPS มองว่าประเด็นดังกล่าวยังคงต้องรอความชัดเจนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป เนื่องจากเป็นเพียงแค่แนวคิดเท่านั้น แต่ในเบื้องต้นเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวน่าจะยังไม่นำมาใช้จริงใน
ช่วงเวลาอันสั้น

 

- Advertisement -