รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
SET Index ถูกกดดัน 1535 จุด เป็นแนวรับ
Top Pick เลือก BDMS, MCS, NER
การยกระดับมาตรการ Lockdown เพื่อควบคุมการระบาดของ Covid-19 ในประเทศ ประเมินว่าน่าจะทำให้เกิดแรงกดดันในหลายแง่มุม เริ่มจากภาพรวมเศรษฐกิจเชื่อว่าจะเห็น GDP 3Q64 กลับมาติดลบทั้ง YoY และ QoQ อีกครั้ง แต่อาจจะไม่รุนแรงเท่า 2Q63 เนื่องจากฐานของ GDP ในงวด 3Q63 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก แต่ทำให้ไม่ความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะเห็น GDP Growth ปี 2564 โตไม่ถึง 1% และหาก Lockdown เป็นเวลานานก็จะทำให้ติดลบได้ ส่วนแรงกดดันที่จะมีต่อ SET Index ในเชิง Sentiment น่าจะเห็นการปรับตัวลดลง แต่เบื้องต้นดูว่าที่บริเวณ 1535 จุด น่าจะรองรับแรงกดดันได้ อย่างไรก็ตามอาจมีกลุ่มที่ได้ประโยชน์เช่น ส่งออก และ โรงพยาบาล

สถานการณ์เรื่อง Covid-19 ยังสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ประเมินแนวรับแรกที่ 1535 จุด พอร์ตจำลองไม่มีการปรับ แต่ยก Stop Profit และ Cut Loss ให้สูงขึ้น คงเงินสดที่ 10% Top Pick เลือก BDMS, MCS และ NER

OPEC+ ได้ข้อสรุปเพิ่มกำลังการผลิต 4แสนบาร์เรล/วัน จำกัด Upside ราคาน้ำมัน
  กลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน OPEC+ เมื่อวานนี้สามารถตกลงกันได้ โดยสรุปมีมติเพิ่มกำลังการผลิตเดือนละ 4 แสนบาร์เรล/วัน นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2564 จนถึงเดือน เม.ย. 2565 และตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565

การปรับเพิ่มกำลังการผลิตของ OPEC+ ส่งผลให้ Supply น้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จำกัด Upside ของราคาน้ำมันดิบโลก และสร้าง Sentiment เชิงลบต่อหุ้นในกลุ่มน้ำมันเช่น PTTEP (FV@B144) และ PTT (FV@B48.5) โดยในระยะสั้นแนะนำชะลอลงทุน แต่ในระยะกลาง-ยาว จากปัจจัยพื้นฐานของหุ้นน้ำมันที่แข็งแกร่ง, ราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับสูงเกินกว่าสมมุติฐานของ ASPS ที่ 60 เหรียญ, ราคาหุ้นน้ำมันยัง Laggard ราคาน้ำมันดิบมาก (น้ำมันดิบ +42%ytd, PTTEP +1.8%ytd, PTT -13%ytd) จึงแนะนำหาจังหวะทยอยสะสมลงทุน

ประเด็นสำคัญอื่นๆที่ให้น้ำหนักในสัปดาห์นี้ คือ การรายงานการส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน มิ.ย. 2564 ในวันที่ 21 ก.ค. 2564 ซึ่งตลาดคาดการส่งออกของไทยจะยังขยายตัวสูง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สอดคล้องกับการส่งออกของจีนที่ขยายตัวต่อเนื่องถึง 13 เดือน (ไทยส่งออกไปจีนสูงเป็นอันดับ 2 สัดส่วน 14% ของการส่งออกรวม) ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่า โดยหากนับตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. 2564 เป็นต้น มาเงินบาทอ่อนค่าถึง 5.6% และตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่า 9.5%ytd นับเป็นSentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มส่งออก เช่น NER, STA, TU, TFG, SAT, MCS, ส่วน KCE, DELTA, HANA ราคาหุ้นสูงกว่า Fair Value จึงแนะเพียงเก็งกำไรเป็นช่วงสั้นๆ

Lockdown ครั้งนี้เข้มงวดใกล้เคียงไตรมาส 2 ปี 2563 หากยืดเยื้อ คาด GDP Growth ไทยปี 64 มีโอกาสติดลบ

ผลกระทบจากการ Lockdown ต่อเศรษฐกิจไทย แต่ก็อาจสร้างความคาดหวังว่าจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาด Covid-19 ได้ และแนวโน้มผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลงเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต ส่วนผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจเกิดขึ้น คือ

ปี 2563 GDP ไทยทั้งปี 2563 หดตัว 6.2% yoy หลังจากรัฐบาลประกาศ Lockdown ระยะเวลา 26 มี.ค.-3 พ.ค.63 รวม 38 วัน ในรอบนั้นมูลค่า Real GDP แต่ละไตรมาส เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว พบว่า ไตรมาส 1 ลดลง 5.8 หมื่นล้านบาท และงวด 2Q63 ลดลงแรงถึง 3.23 แสนล้านบาท และไตรมาส 3-4 ปีที่แล้ว GDP มูลค่า GDP ยังลดลงต่อ (ดังตาราง) เพราะทั่วโลกเผชิญโควิด และนักท่องเที่ยวไม่มีเข้าไทย รวมถึงภาคส่งออกลดลงเพราะ Lockdown ทั่วโลก

ปี 2564 ค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่า Downside การปรับลดคาดการณ์ GDP Growth จะเกิดขึ้น และมีโอกาสสูงที่ปีนี้ GDP ไทยอาจจะโตไม่ถึง 1%yoy หลังจาก 1.)จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันเพิ่มขึ้นทะลุ 1 หมื่นราย จนทำให้ล่าสุด รัฐบาล มีการประกาศคุมเข้มกิจกรรมเศรษฐกิจตั้งแต่ ปลายเดือน มิ.ย. จนถึงล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ ได้ยกระดับ Lockdown เพิ่มความเข้มงวด เป็น 13 จังหวัด เริ่ม 20 ก.ค.เป็นต้นไป โดยรายละเอียดการคุมเข้มรอบนี้ถือว่าเข้มงวดกว่า 2Q64 ทั้งศูนย์การค้าที่ปิด ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า และธนาคารชะลอการให้บริการ และ การขนส่งทั้งทางอากาศ และทางราง จำกัดการบริการ

ASPS ประเมินจากการ Lockdown แบบเข้มงวดของรอบนี้ กระทบต่อ GDP Growth เศรษฐกิจไทย ช่วง 2H64 ประเมินว่า GDP งวด 2Q64-3Q64 ประเมินมูลค่าจะลดลง
จากปีที่แล้ว คาดจะหดตัวทั้ง qoq และ yoy (ดังตาราง)และมีโอกาสสูงที่ GDP Growth ทั้งปี 2564 อาจจะต่ำกว่า 1% และอาจจะพลิกกลับมาติดลบ โดยจะกระทบมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการ Lockdown จะยาว นานแค่ไหนเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม

เบื้องต้นแจกแจงผลกระทบ COVID เป็นราย Sector ชอบ NER, MCS, BDMS
การแพร่ระบาดโควิดสายพันธ์เดลต้า ทำให้ประเทศไทยรับมือได้ลำบากกว่าในอดีตมาก สะท้อนได้จากตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่วานนี้อยู่ที่ 1.1 หมื่นราย (สูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 1 ถ้าคิดเทียบกับสัดส่วนประชากร) รวมถึงผู้ป่วยอาการหนัก 3.4 พันราย (สูงสุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลก) การเผชิญปัญหาดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และอาจเห็นมาตการของรัฐบาลคุมเข้มมากขึ้น

ในส่วนตลาดหุ้น เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ได้ทำการแบ่งแยกผลกระทบแต่ละ Sector ออกเป็นระดับต่างๆ ทำให้ประเมินผลกระทบต่อตลาดหุ้นได้ละเอียดขึ้น ดังนี้

กลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบมาก 6 Sector (มีสัดส่วน Market Cap. 26%, มีสัดส่วนกำไร 14%) มีรายละเอียดดังนี้

ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารอย่าง M รวมถึง CENTEL (สัดส่วน 59% ของรายได้ปี 2562) และ MINT(สัดส่วนร้านอาหารในไทยราว 12% ของรายได้ปี 2562) เนื่องจากร้านอาหารส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์การค้า / ห้างสรรพสินค้า ย่อมได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเดิมสามารถเปิดเพื่อ Delivery ได้ ขึ้น ขณะที่สถานการณ์ COVID-19 ในไทยที่รุนแรงขึ้น ส่งผลต่อการกลับมานั่งรับประทานอาหารในร้านใช้เวลาอีกสักระยะ อย่างไรก็ดีสัดส่วนการขายจาก Delivery ไม่ได้สูงมากนัก อีกทั้งการถูกสั่งปิดจากทางราชการ เชื่อว่าจะทำให้การต่อรองเพื่อขอลดค่าเช่าทำได้ง่าย

โดยในกลุ่มร้านอาหาร M ที่ไม่มีภาระหนี้สินและมีเงินสดในมือราว 7.7 พันล้านบาท เชื่อเพียงพอผ่านพ้นวิกฤติ หากราคาปรับตัวลงถือว่าน่าสนใจ (52 Week low อยู่ที่ 43.75 บาท) ทั้งนี้ การที่คนใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น ขณะที่ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้เปิด มีโอกาสเห็นการทำอาหารทานที่บ้านมากขึ้น หนุนต่อความต้องการใช้น้ำมันถั่วเหลือง บวกต่อ TVO

กลุ่มการบิน กรณีมาตรการควบคุมการเดินทางล่าสุดของ กบร. ที่ห้ามเที่ยวบิน รับ-ส่งผู้โดยสาร ที่สนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ มีผลนับจาก 21 ก.ค. 64 ยกเว้นเส้นทางที่ทำการทดลองเปิดประเทศในปัจจุบัน อาทิ ภูเก็ต และสมุย กรณีดังกล่าวเป็นลบต่อกลุ่มสายการบิน เนื่องจากโอกาสการกลับมาให้บริการที่ล่าช้าออกไป และคาดว่าจะส่งผลให้ AOT AAV และ BA ขาดทุนต่อเนื่องไปถึงสิ้นปี

ทั้งนี้ เชื่อว่าจะสร้าง Downside ต่อประมาณการไม่สูง ภายใต้สมมติฐานในประมาณการปัจจุบันที่ล่าช้ากำหนดการฟื้นตัวผู้ใช้บริการเริ่มนับจากปี 2565อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลขาดปัจจัยบวกที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม จึงคงน้ำหนักลงทุน น้อยกว่าตลาด โดยมีตัวเลือกลงทุนเดียว คือ AOT ที่ได้ประโยชน์มากและเร็วที่สุด เมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายให้กลับมาเดินทางได้ปกติ

กลุ่มก่อสร้าง ได้รับผลกระทบโดยตรงตั้งแต่การออกมาตรการปิดแคมป์คนงานและปิดไซต์งานก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 64 เป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน เนื่องจาก Backlog ของบริษัทรับเหมาก่อสร้างในตลาดหลักทรัพย์ อาทิ CK,NWR,SYNTEC,SEAFCO และ PYLON มีสัดส่วนส่วนงานส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพ-ปริมณฑล ได้แก่งาน ก่อสร้างรถไฟฟ้าและอาคารขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน

โดยผลกระทบยังมีไปตลอดทั้ง Supply Chain ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง อย่างเหล็กเส้นเหล็กโครงสร้าง ท่อเหล็ก สายไฟ ปูนซีเมนต์ คอนกรีต และวัสดุก่อสร้างอื่นๆที่ใช้ในงานก่อสร้างที่จะต้องลดกำลังการผลิตลงเนื่องจากสินค้าเต็มสต็อก และอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าตามกำหนดเนื่องจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างเองก็ไม่ได้รับเงินค่าก่อสร้างจากผู้ว่าจ้างเช่นเดียวกัน รวมถึงเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่อาจเปิดโครงการไม่ได้ตามกำหนด

กลุ่มมีเดีย บริษัทที่ทำธุรกิจสื่อนอกบ้านอย่าง VGI และ PLANB จะได้รับผลกระทบเชิงลบจากนโยบาย Work From Home และการหลีกเลี่ยงกิจกรรมของผู้คนที่อยู่นอกบ้าน ส่งผลต่อจำนวน Eyeball ที่มีต่อป้ายโฆษณา และโฆษณาผ่านรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินที่ลดลง อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องลดค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาลง

ส่วนสื่อในโรงภาพยนตร์อย่าง MAJOR ก็ได้รับผลกระทบหนักเช่นเดียวกันจากการปิดโรงภาพยนตร์ สำหรับสื่อทีวีอย่าง RS และ WORK น่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าสื่อประเภทอื่น เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางออกนอกบ้าน ทำให้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อทีวีกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง โดยนีลเส็นเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อทีวีเดือน มิ.ย. เติบโตขึ้นกว่า 20%YoY และยังครองส่วนแบ่งตลาดโฆษณาอยู่ที่ 61% ของเม็ดเงินโฆษณารวม

กลุ่มธุรกิจศูนย์การค้า นำโดย CPN ประกาศปิดศูนย์การค้าเพิ่มเติม 4 แห่ง รวมเป็น 19 แห่งในจังหวัดพื้นที่ควบคุมสุงสูดและเข้มงวดตามคำสั่งภาครัฐ (กรุงเทพ นนทบุรี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี และสงขลา) และยกระดับมาตรการควบคุมเร่งด่วน โดยเปิดให้บริการเฉพาะธุรกิจจำเป็น ได้แก่ ซูปเปอร์มาร์เก็ต (Central Food Hall, Tops Market, Tops Superstore) และร้านขายยา จนถึงเวลา 20.00 น. ระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน ตั้งแต่ 20 ก.ค. 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากภาครัฐ

ถือเป็น Sentiment เชิงลบ เนื่องจากศูนย์การค้า 19 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของพื้นที่เช่ารวม และสร้างรายได้ค่าเช่า 60-70% ของรายได้ค่าเช่าธุรกิจศูนย์การค้าปี 2563 ดังนั้นการปิดให้บริการย่อมส่งผลกระทบเชิงลบทั้งในการลดลงของปริมาณคนใช้บริการ (Traffic), การยกเว้นค่าเช่าสำหรับร้านที่ปิดบริการ รวมถึงการให้ส่วนลดค่าเช่าที่เพิ่มมากขึ้นตามสถานการณ์ ทั้งหมดมีผลต่อรายได้ค่าเช่า

โดยผลกระทบย่อมกดดันต่อผลประกอบการ 3Q64 อ่อนตัวลงจาก 2Q64 แต่จะมากน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ปิดให้บริการ โดยหากปิด 14 วันตามกำหนด คาดหวังผลที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเท่างวด 2Q63 ที่ปิดไป 1.5 เดือน จนทำให้กำไรปกติงวดดังกล่าวเหลือเพียง 311 ล้านบาท จึงคงต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิดต่อไป โดยเฉพาะจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และคงค้างว่าจะลดลงหรือไม่ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาพิจารณาการคลาย Lock Down ในลำดับถัดไป รวมถึงต้องติดตามมาตรการภาครัฐว่าจะมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกฝ่ายทั้งขนาดเล็กและใหญ่เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นในครั้งนี้หรือไม่

กลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อย 5 Sector (มีสัดส่วน Market Cap. 39% มีสัดส่วนกำไร 59%) มีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีหุ้นโรงกลั่นและน้ำมันถูกกดดันจาก COVID-19 ในประเทศค่อนข้างจำกัด เนื่องจากสัดส่วนกำไรส่วนใหญ่อิงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้ากระทบจากการใช้ไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมที่ลดลง หากมาตการ Lockdown ยังยืดเยื้อ

กลุ่มธ.พ. ระยะสั้นยังไม่เห็น Downside ต่อประมาณการ แต่ยังมีความเสี่ยงหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจช้าลงถือเป็นอีกส่วนที่กดดันการฟื้นตัวของกำไรกลุ่ม ธ.พ.

กลุ่มวัสดุก่อสร้างอิงตามกำไรของ SCC เป็นส่วนใหญ่ ชึ่งการเติบโตล้อไปกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก

กลุ่มเช่าซื้อ คนออกจากบ้านลดลง จะกระทบการออกไปขอสินเชื่อตามสาขาบ้างชั่วคราว แต่ประชาชนยังมีความต้องการใช้สินเชื่อสูงต่อเนื่องในงวด 2H64 ขณะที่ AEONTS จะได้รับผลกระทบจากการที่ผู้บริโภคออกจากบ้านลดลง กดดันการใช้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลลดลง โดยรวมแล้ว ฝ่ายวิจัยชอบ MTC (FV@B80) จากแนวโน้มสินเชื่อสุทธิงวด 2Q64 เติบโตต่อเนื่อง หนุนแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2564 ยังเดินหน้าทำ New high

กลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อย 4 Sector (มีสัดส่วน Market Cap. 11% มีสัดส่วนกำไร 4%) มีรายละเอียดดังนี้

กลุ่มโรงพยาบาล ระดับผู้ต้องการตรวจ COVID-19 รวมถึงการรักษา ยังเร่งตัวขึ้นมาก หนุนกำไรไตรมาส 3 เติบโตต่อเนื่องต่อจากไตรมาส 2

กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วน เกษตร-อาหาร ประเมินได้ผลประโยชน์ทางอ้อม เป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว และธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกทั้งสิ้น โดยค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่า 2.1%mtd จนล่าสุดอยู่ที่ 32.8 บาท/เหรียญฯ หนุนให้มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น

ภาพรวมผลกระทบกำไรจากประเด็น COVID-19 ระบาดระลอกใหม่ จากมุมมองนักวิเคราะห์พื้นฐานเบื้องต้น มีกลุ่มที่ได้รับผลกระทบราว 73% ของกำไรรวม (กระทบมาก 14% และกระทบน้อย 59%) และมีกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ราว 4% ส่วนอื่นๆ ที่เหลือ คาดว่ายังเห็นผลกระทบไม่ขัดรวมถึงไม่ได้ทำการศึกษา แสดงให้เห็นว่าภาพรวมตลาดมีหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID19 จำกัด Upside ของ SET Index ให้ปรับตัวขึ้นได้ยาก หากการแพร่ระบาดยังยืดเยื้อ

กลยุทธ์เน้นเลือกหุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัด และยังได้แรงหนุนทางอ้อม อย่างหุ้นโรงพยาบาล BDMS และหุ้นงบ 2Q64 สวย และยังที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า MCS, NER เป็น Toppicks

- Advertisement -