บล.เอเซียพลัส:

KKP กําไร 2Q64 อ่อนตัวและคาด 3Q64 ยังเหนื่อย

กําไร 2Q64 ตามคาด ท่ี 1.35 พันล้านบาท อ่อนตัว 7% QoQ จาก Credit Cost เร่งตัวมาที่ 1.97% จาก 1.82% ในงวดก่อน จากการตั้งสํารองเพื่อรองรับความเสี่ยงและ NPL Ratio เพิ่มข้ึนเป็น 3.6% จาก 3.4% ณ สิ้นงวดก่อน ซึ่งไม่สามารถชดเชยได้กับกําไรก่อนตั้งสํารอง (PPOP) เติบโต 1% QoQ จากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ส่วนแนวโน้ม 3Q64 อ่อนตัว QoQ จาก PPOP ตาม สภาวะเศรษฐกิจและรายได้ค่าธรรมเนียมฯ กลุ่ม IB มี Deal IPO ใหญ่งวดก่อน

คงประมาณการกําไรปี 2564 เพิ่ม 5% yoy แนะนํา Switch จาก Limit Upside และ Sentiment บวกต่อกลุ่มฯ ยังจํากัด โดยกลุ่มฯ ธ.พ. ขนาดกลาง – เล็ก เลือก TISCO (FV@B102) ท่ีนโยบายสินเช่ืออนุรักษ์นิยม สอดรับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่า

กําไร 2Q64 อ่อนตัวและคาด 3Q64 ยังเหนื่อย

กําไร 2Q64 ตามคาด ท่ี 1.35 พันล้านบาท อ่อนตัว 7% QoQ จาก Credit Cost เร่งตัวมาที่ 1.97% จาก 1.82% ในงวดก่อน จากการตั้งสํารองเพื่อรองรับความเสี่ยงและ NPL Ratio เพิ่มข้ึนเป็น 3.6% จาก 3.4% ณ สิ้นงวด ก่อน ซึ่งไม่สามารถชดเชยได้กับกําไรก่อนตั้งสํารอง (PPOP) เติบโต 1% QoQ จากรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ส่วนแนวโน้ม 3Q64 อ่อนตัว QoQ จาก PPOP ตาม สภาวะเศรษฐกิจและรายได้ค่าธรรมเนียมฯ กลุ่ม IB มี Deal IPO ใหญ่งวดก่อน

คงประมาณการกําไรปี 2564 เพิ่ม 5% yoy แนะนํา Switch จาก Limit Upside และ Sentiment บวกต่อกลุ่มฯ ยังจํากัด โดยกลุ่มฯ ธ.พ. ขนาดกลาง – เล็ก เลือก TISCO(FV@B102) ท่ีนโยบายสินเช่ืออนุรักษ์นิยม สอดรับภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่า

กําไร 2Q64 ตามคาดลดลง 7% QoQ จาก Credit Cost เร่งตัวข้ึน

กําไรงวด 2Q64 เท่ากับ 1,354 ล้านบาท ตามคาดฝ่ายวิจัย แต่ต่ำกว่าตลาดคาด 8% ลดลง 7% QoQ (+14% yoy จากรายได้รวมเติบโต 18% yoy ท้ัง NII และ Non NII) สาเหตุจาก Credit Cost ท่ี 1.97% (Expected credit loss : ECL ท่ี 1,378 ล้าน บาท) มากกว่าท่ีคาดไว้ใกล้เคียงงวดก่อนที่ 1.82% (Credit Cost และ ECL งวด 2Q63 ท่ี 1.19% และ 744 ล้านบาท ตามลําดับ) จากการต้ังสํารองเพื่อรองรับความเสี่ยงล่วงหน้ามากขึ้น สะท้อนผ่านการตั้ง ECL ในรูปแบบ Management overlay นอกเหนือจากภาพ เศรษฐกิจที่เกิดข้ึนจริงตาม Model TFRS 9 จํานวน 824 ล้านบาท สูงขึ้นจาก 443 ล้าน บาท ในงวด 1Q64 รวมถึง NPL เพิ่มข้ึนในงวดน้ี

โดยกําไรก่อนต้ังสํารอง (PPOP) เท่ากับ 3,058 ล้านบาท ใกล้เคียงคาดสูงขึ้น 1% QoQ (+37% YoY) หนุนด้วยรายได้รวมสอดคล้องกับท่ีประเมินอยู่ท่ี 5,735 ล้านบาท เพิ่ม 2.1% QoQ (+18.2% YoY) ชับเคลื่อนจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (Non NII) เติบโต 9% QoQ (+57% YoY) ที่ 1,941 ล้านบาท นําโดยรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ดีกว่าที่คาดว่าจะอ่อนตัว QoQ เป็นเพิ่ม 12.5% QoQ (+82.5% YoY จากฐานต่ำปีก่อน) อยู่ที่ 1,614 ล้านบาท เพราะค่าธรรมเนียมในกลุ่มตลาดทุน อย่าง IB Fee ท่ีมีดีลใหญ่อย่าง TIDLOR ชดเชย รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลงใกล้เคียงคาด 0.9% QoQ (+5% YoY) เท่ากับ 3,794 ล้าน บาท สวนทางฐานสินเชื่อขยายตัวตามคาดการณ์ 4.4% QoQ (+6.6% YTD) อยู่ที่ 286,119 ล้านบาท เกือบทุกกลุ่มลูกค้าอย่างสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (+5.6% QoQ, +9.5% YTD) และสินเชื่อบรรษัท (+15%QoQ,+11.7%YTD) แต่การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อบรรษัท และสินเชื่อเช่าซื้อ เน้นไปที่ลูกค้ารถยนต์มือ 1 เช่น TOYOTA, HONDA, MG ท่ีมี Yield ต่ำ (Loan Mix) กดดัน Yield on loan ต่ำลง 13bps จากงวดก่อนมาที่ 6.48% ซึ่งไม่สามารถทดแทนได้กับ Source of fund ต่ำลงเหลือ 1.25% เทียบกับ 1.34% ในงวดก่อน ผ่านการบริหารต้นทุนทางการเงิน ภาพรวมส่งผลให้ NIM ลงมาท่ี 4.29% จาก 4.48% ในงวดก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ 4.48% (เพราะฐาน Earningasset เฉลี่ยที่ใช้ในการคํานวณ NIM สูงกว่าท่ีมองจากมูลค่าเงินลงทุนเป็นหลัก) ในขณะที่ค่าใช้จ่ายดําเนินงานใกล้เคียงคาดสูงข้ึนในอัตราเร่งกว่ารายได้ 3.7% QoQ เท่ากับ 2,678 ล้านบาท ทําให้ Cost to income ratio (CIR) อยู่ท่ี 46.7% จาก 46% ในงวดก่อน โดยงวดน้ีผลขาดทุนรถยึด (บันทึกในค่าใช้จ่ายดําเนินงาน) ที่ 425 ล้านบาท แม้ลดจาก 561 ล้านบาท ในงวด 1Q64 แต่ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยปี 2560 – 2562 ที่ 257 ล้านบาทต่อไตรมาส ขณะที่ทิศทาง NPL ในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เร่งตัวต่อเนื่อง (รายละเอียดหน้าถัดไป) เชื่อเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้ CIR ไม่ได้ลดระดับเร็วนักในระยะกลาง แม้ช่วง 3Q64 จะมีมาตรการพักเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน ช่วยกดปริมาณรถยึดไม่ให้สูงขึ้นมากนัก แต่คาดจะกลับมาเร่งตัวต่อในงวด 4Q64 – 1Q65 ในมุมมองของฝ่ายวิจัย

ส่วนแนวโน้มกําไร 3Q64 อ่อนตัวลง QoQ จากระดับ ECL ที่ไม่ได้ลดระดับลงเร็วนัก ตามความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทย จึงเช่ือ ธ.พ. ยังไม่ผ่อนการตั้งสํารอง กอปรกับ คาดการณ์ IB FEE ต่ำลง เพราะไม่มี Deal ใหญ่เหมือนงวดก่อน รวมถึงประเมิน NIM ได้รับผลกระทบจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้จากการ Lock down ช่วง ก.ค. 64

ท้ังน้ี กําไร 1H64 ขยายตัว 5.6% yoy เท่ากับ 2.8 พันล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยรายได้ ฟื้นตัว 8.7% YoY ภาพรวมกําไร 1H64 ยังสอดคล้องกับประมาณการทั้งปี คิดเป็น สัดส่วน 52% ของประมาณการทั้งปี จึงคงคาดกําไรปี 2564 เท่ากับ 5.4 พันล้านบาท เติบโต 5% yoy สําหรับเงินปันผล 1H64 ภายใต้ EPS งวด 1H64 ที่ 3.33 บาท อิง Dividend payout ratio เท่ากับปี 2563 ท่ี 36% ตามเกณฑ์ ธปท. ฝ่ายวิจัยประเมิน DPS งวด 1H64 จะเท่ากับ 1.2 บาท คิดเป็น Div yield ราว 2.2% (ปี 2562 KKP ประกาศจ่ายเงินปันผล 22 ส.ค. 62 และข้ึน XD วันที่ 4 ก.ย. 62)

NPL ก่อตัวขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจ

สําหรับมูลหนี้ NPL (Stage 3) ณ ส้ินงวด 2Q64 สูงขึ้น 9.8% จากสิ้นงวด 1Q64 มาอยู่ที่ 10,339 ล้านบาท ผลจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เชื่อว่าส่งผลต่อเนื่องให้ลูกหนี้ออกจากมาตรการพักชําระหนี้ในช่วงก่อนหน้านี้ไม่สามารถปฎิบัติตามเงื่อนไขการชําระเงินใหม่ได้ และไม่เข้าเงื่อนไขได้รับความช่วยเหลือต่อ (ณ สิ้นงวด 1Q64 มีลูกหน้ีอยู่ในมาตรการช่วยเหลือราว 9% ของพอร์ตสินเชื่อ เทียบกับสิ้นงวด 2Q63 ท่ี 40% ของพอร์ตสินเช่ือ) โดย NPL ปรับเพิ่มทุกกลุ่มสินเชื่อ นําโดยสินเช่ือเช่าซื้อรถยนต์ (สัดส่วน 27% ของมูลหนี้ NPL) และสินเช่ือลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ (สัดส่วน 31% ของมูลหน้ี NPL) เพิ่ม 25% และ 6% จากส้ินงวดก่อน ตามลําดับ

ขณะที่ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตท่ีคาดว่าจะเกิดข้ึน (Loan loss reserve : LLR) เท่ากับ 15,449 ล้านบาท สูงข้ึน 8.6% จากสิ้นงวดก่อน ต่ำกว่าการไหลเข้าของของ NPL ส่งผลให้Coverage ratio ลดลงมาที่ 160% จาก 163.3% ณ สิ้นงวดก่อน ทั้งน้ี KKP ยังคงมี Excess Reserve ณ สิ้นงวด 2Q64 เท่ากับ 1,321 ล้านบาท (ทยอยปรับลดด้วยวิธีเส้นตรง ระยะเวลา 5 ปี ราว 90 ล้านบาทต่อไตรมาส เป็นรายการบวกกลับใน ECL)

ทิศทางเศรษฐกิจไทยที่ยังฟื้นตัวช้า แม้มีมาตรการช่วยเหลือลูกหน้ีช่วยชะลอ NPL ช่วงสั้น แต่การ Recovery หลังออกมาตรการฯ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยง กอปรกับนโยบายสินเช่ือ ของ KKP ในช่วงท่ีผ่านมาเป็นไปในเชิงรุก โดยเฉพาะสินเช่ือรถยนต์ สะท้อนจากสินเชื่อเช่าซื้อ ณ ส้ินงวด 2Q64 ขยายตัว 6% QoQ (+9% YTD และ 29% ตั้งแต่ส้ินปี 2562) เทียบกับกลุ่มฯ ท่ีเร่ิมเข้มงวดสินเช่ือในกลุ่มนี้ (TISCO สินเช่ือเช่าซื้อรถยนต์งวด 2Q64 อ่อนตัว 3% QoQ, 5% YTD และ 13% ตั้งแต่สิ้นปี 2562) จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงท่ีต้องจับ ตาต่อคุณภาพสินทรัพย์ช่วงปี 2565 – 66 ภายใต้แนวโน้มรายได้ครัวเรือนที่ตึงตัว

Switch มองขาดปัจจัยกระตุ้นให้ราคาเคลื่อนไหว Outperform ตลาด

อิง GGM (ROE 12% และ COE 11.1%) ให้ PBV ที่ 1.07 เท่า ได้ FV ปี 2564 ท่ี 59 บาท คงแนะนํา SWITCH นอกจาก Limit Upside และกลุ่มฯ ยังขาด Sentiment บวกให้ เคลื่อนไหว Outperform ตลาด และปรับตัวขึ้นในระยะกลาง – ยาว จาก Downside GDP ไทยรวมถึงการระบาดของ COVID-19 ในไทย โดยในกลุ่มฯ ธ.พ. ขนาดกลาง – เล็ก ฝ่าย วิจัยเลือกTISCO(FV@B102)ทนี่โยบายสินเชื่อค่อนข้างอนุรักษ์นิยมสอดรับกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมากกว่า

ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ําหนักต่อประมาณปี 2564 ของ KKP

  1. กรณีที่สินเช่ือเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายจะส่งผลกระทบต่อคาดการณ์รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และกําไรสุทธิของ KKP โดยทุกๆ 1% ของคาดการณ์สินเช่ือสุทธิปี 2564 ที่ลดลงจากปัจจุบันที่ประเมินไว้เติบโต 4% yoy จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ ลดลง 0.3% จาก 15,739 ล้านบาท และกําไรสุทธิปี 2564 ลดลง 0.3% จาก 5,377 ล้านบาท
  2. NIM ลดลงต่ำกว่าคาดจะส่งผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และกําไรสุทธิ ของ KKP โดยทุกๆ 10bps ของ NIM ที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2564 ที่ 4.6% จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 2.1% จากปัจจุบันท่ี 15,739 ล้านบาท และกําไรสุทธิปี 2564 ลดลง 5% จาก 5,377 ล้านบาท

    แนะนํา : Switch

    ราคาปัจจุบัน (บาท) 54.00

    ราคาเป้าหมาย (บาท) 59.00

    Upside (%) 9.3

    Dividend Yield (%) 6.5

- Advertisement -