บล.เอเซียพลัส:
รอวันฝนซา
กําไร 2Q64 ที่ 6.4 พันล้านบาท แม้ลดลง 8% QoQ (+105% YoY) แต่ดีกว่าฝ่ายวิจัยและตลาดคาด 6% จากกำไรก่อนตั้งสํารอง (PPOP) ดีกว่าคาด 21% เพิ่ม 16% QoQ จากรายการวัดมูลค่าเงินลงทุน ชดเชย Credit Cost ที่สูงกว่า ที่ประเมิน 1.16% มาที่ 1.6% และเพิ่มจาก 1.07% ในงวดก่อน รองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจไทย ในขณะที่ NPL /Loan ทรงตัวจากงวดก่อนท่ี 4.6%
ปรับลดกําไรปี 2564 ราว 5% ให้สอดคล้องกับ 1H64 อิง GGM ให้ PBV ท่ี 0.56 เท่า (เดิม 0.64 เท่า) ได้ FV ที่ 135 บาท (เดิม 154 บาท) แม้แนวโน้ม 3Q64 ชะลอตัว QoQ จาก PPOP แต่เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มฯ ในขณะท่ีการต้ังสํารองสูง เชื่อว่าช่วยจํากัด Downside ต่อประมาณการ กอปรกับ PBV ซื้อขายท่ี 0.43 เท่า รวมถึงคาดหวัง Div yield งวด 1H64 ราว 1%
กําไรดีกว่าคาดจาก PPOP ชดเชยการต้ังสํารองสูงข้ึน เพื่อรองรับความเสี่ยง
กําไรสุทธิ 2Q64 เท่ากับ 6,357 ล้านบาท ลดลง 8% QoQ (+105% YoY จากฐานกําไรต่ำ งวด 2Q63) แตดีกว่าฝ่ายวิจัยและตลาดคาดราว 6% มาจากกําไรก่อนตั้งสํารอง (PPOP) ที่ดีกว่าประเมิน 21% เติบโต 16% QoQ (+1.6% YoY) อยู่ที่ 17,534 ล้านบาท หนุนด้วยรายได้รวมมากกว่าคาดการณ์ 10% และขยายตัว 9.6% QoQ (+4.8% YoY) เป็น 33,8232 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ท่ี 13,796 ล้านบาท ดีกว่าที่ประเมิน 24% และ เพิ่มขึ้น 24% QoQ (-2.7% YoY) เหตุเพราะรายการวัดมูลค่าสินทรัพย์จากเงินลงทุน (FVTPL : ประกอบด้วย Realized / Unrealized gain (loss) เงินลงทุนท้ังหุ้นและตราสารหน้ี รวมถึงธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับ 5,954 ล้านบาท เทียบกับท่ีมองไว้ 2,500 ล้านบาท และงวด 1Q64 ท่ี 2,088 ล้านบาท จากท้ัง FX และเงินลงทุน ในขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ อยู่ที่ 6,896 ล้านบาท ตามคาด ลดลง 6% QoQ (+22.7% YoY จากการรวมงบการเงินกับ Permata ต้ังแต่ 2H63) เพราะ Bancassurance and mutual funds ด้านรายได้ดอกเบี้ยฯ ตามท่ีประเมินเท่ากับ 20,027ล้านบาท สูงข้ึน 1.6% QoQ สอดคล้องกับฐานสินเชื่อเติบโต 2.2% QoQ แม้ NIM อ่อนตัว 8 bps จาก 1Q64 ตามที่มองมาท่ี 2.03% แต่เป็นผลจากการลดลงในส่วนของ Yield on interbank ส่วน Yield on loan ทรงตัวจากงวดก่อนท่ี 3.97%
ภาพรวมข้างต้นหักล้าง Credit Cost ที่สูงกว่าท่ีคาดไว้ 1.16% มาอยู่ที่ 1.64% (Expected credit loss : ECL ที่ 9,810 ล้านบาท) และเพิ่มจาก 1.07% ในงวดก่อน (ECL ที่ 6,327 ล้านบาท) หลักๆ เป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาด
โดยรวมกําไรสุทธิ 1H64 ขยายตัว 23% yoy อยู่ท่ี 13,280 ล้านบาท ส่วนแนวโน้ม 3Q64 อ่อนตัว QoQ จาก PPOP ลดลงจากรายได้ท่ีมิใช่ดอกเบี้ย อาทิ FVTPL ที่มีฐานสูงใน งวด 2Q64 รวมถึงทิศทางรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ได้รับผลกระทบจากการกระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ในขณะที่ทิศทางการตั้ง ECL ไม่ได้ลดลงเร็วนัก เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มฯ อย่างไรก็ดี BBL ที่มีการตั้ง ECL เพิ่มในงวดนี้ จึงมีความเสี่ยงขาลงต่ำกว่ากลุ่มฯ ในความเห็นของฝ่ายวิจัย
แม้ปรับลดกําไรปี 2564 – 65 เฉลี่ย 11% แต่ยังเติบโตเฉลี่ยราว 24%
ฝ่ายวิจัยปรับปรุงประมาณการปี 2564 – 65 ลดลงเฉลี่ย 11% ให้สอดคล้องกับการดําเนินงานงวด 1H64 แม้ปรับรายได้ที่มิใช่การดําเนินงานหลักเฉพาะปี 2564 เพิ่ม 33.5% มาที่ 19,134 ล้านบาท (1H64 คิดเป็นสัดส่วน 56% ของประมาณการ) สะท้อนรายการ FVTPL ในงวด 2Q64 ตามที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ถูกหักล้างด้วยการปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายดําเนินงานปี 2564 – 65 ราว 12% หลังประเมินไว้ต่ำเกินไป ส่งผลให้ Cost to income ratio ปี 2564 -65 เป็น 50% และ 52.3% ตามลําดับ จากเดิมเฉลี่ย 46.4% ในขณะท่ีการดําเนินงานอื่นในปี 2564 คงเดิม ได้แก่ Loan Growth ท่ี 3.4% yoy (ส้ินงวด 1H64 เพิ่ม 2.2% ytd และเป้าหมายธนาคารฯ 3% – 4% yoy) คาดเห็นทิศทางการขยายตัวมากขึ้นในงวด 4Q64 ตามฤดูกาล, NIM ท่ี 2.03% (1H64 ที่ 2.05% และเป้าหมายธนาคารฯ ที่ 2.1%), รายได้ค่าธรรมเนียมฯ เติบโต 6% yoy (1H64 เพิ่ม 19% yoy จากฐานงวด 1H63 ยังไม่รวม ธ.พ. Permata และเป้าหมายธนาคารฯ บวก 3% – 4% yoy)
สําหรับ ECL ปี 2564 ฝ่ายวิจัยประเมินคงเดิมที่ 3 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าธนาคารฯ ที่ประมาณ 22,000 ล้านบาท จาก ECL ในงวด 1H64 ท่ี 16,137 ล้านบาท เช่ือได้ว่า น่าจะเกินเป้า BBL ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ภาพรวมกําไรสุทธิปี 2564 ต่ำลงจากเดิม 5% อยู่ที่ 24,553 ล้านบาท (กําไร 1H64 คิดเป็นสัดส่วน 54% ของประมาณ การ) ขยายตัว 42.9% yoy และปี 2565 ท่ี 25,533 ล้านบาท สูงข้ึน 4% yoy
ต้ังการ์ดสูงช่วยจํากัด Downside และ PBV ไม่แพงซื้อขายท่ี 0.43 เท่า
ภายใต้ประมาณการใหม่ อิง GGM ปรับลด ROE ระยะยาวจาก 8% มาที่ 7% และ Growth Rate เหลือ 2% สะท้อนการระบาดของ COVID-19 ในไทยและอินโดฯ กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ ด้าน COE คงเดิมท่ี 10.8% ให้ PBV ที่ 0.56 เท่า (เดิม 0.64 เท่า) ได้ FV ใหม่ปี 2564 ท่ี 135 บาท (เดิม 154 บาท) คงแนะนํา ซื้อ การต้ังสํารองสูงใน งวด 2Q64 ช่วยจํากัด Downside จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวช่วง 2H64 ประกอบกับ ราคาช่วงที่ผ่านมาถูกกดดันจากปัจจยลบท้ัง COVID-19 และการไหลออกของ Fund Flow จากต่างชาติ ทําให้ PBV ปัจจุบันซื้อขาย 0.43 เท่า ถือว่าถูก Discount มามากพอสมควร และเป็นจุดที่สามารถหาจังหวะทยอยเข้าลงทุนได้
ท้ังน้ี ภายใต้เกณฑ์การจ่ายเงินปันผลงวด 1H64 ของ ธปท. อิง Div payout ratio ปี 2563 ที่ 30% บนฐาน EPS งวด 1H64 ที่ 6.96 บาท คาดหมาย DPS ในกรอบ 1 – 2 บาท เทียบเท่า Div Yield ราว 1% – 2% ซึ่งหากพิจารณา BIS Ratio ณ ส้ินงวด 2Q64 ทรงตัว จากสิ้นงวดก่อนท่ี 18.4% และ Tier -1 ที่ 15.9% สูงเกินเกณฑ์ขั้นต่ำท่ี 12% และ 9.5% ตามลําดับ น่าจะพอคาดหวังเงินปันผลงวด 1H ได้ในความเห็นฝ่ายวิจัย อย่างไรก็ดีเงินปันผลยังข้ึนอยู่กับนโยบายของธนาคารเป็นหลัก
ประเด็นความเสี่ยงท่ีมีน้ําหนักต่อประมาณปี 2564 ของ BBL
NIM ลดลงต่ำกว่าคาด จะส่งผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และกําไรสุทธิของ BBLโดยทุก 10bp ของ NIM ท่ีปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2564 ท่ี 2.03% จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 5% จากปัจจุบันที่ 75,852 ล้านบาท และกําไรสุทธิปี 2564 ลดลง 12% จากปัจจุบันท่ี 24,553 ล้านบาท
กรณีท่ีสินเชื่อโตต่ำกว่าเป้าหมาย จะส่งผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและกําไรสุทธิ ของ BBL โดยทุก 1% ของคาดการณ์สินเช่ือสุทธิปี 2564 ท่ีลดลงจากปัจจุบันที่ประเมิน ขยายตัว 3.4% yoy จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 0.65% จากสมมติฐานที่ 75,582 ล้านบาท และกําไรสุทธิปี 2564 ลดลง 1.6% จากประมาณการที่ 24,553 ล้านบาท
กรณีท่ีคุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่กว่าคาด (Stage1 ไหลตกช้ันเป็น 2 ซึ่งทําให้สํารองเพิ่มอย่างมีนัยฯ และ Stage2 ไหลตกชั้นเป็น Stage 3) จะส่งผลกระทบต่อคาดการณ์ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดข้ึน (Expected Credit Loss : ECL) ให้ปรับตัวสูงขึ้น โดยทุก 10 bps ของคาดการณ์ ECL ปี 2564 ที่เพิ่มข้ึนจากสมมติฐานท่ี 125 bps จะทําให้ผลขาดทุนด้านเครดิตท่ีคาดว่าจะเกิดข้ึนเพิ่มราว 8% จากปัจจุบันที่ 30,000 ล้านบาท และทําให้กําไรสุทธิปี 2564 ลดลงราว 8% จาก 24,553 ล้านบาท
แนะนํา : ซื้อ
ราคาปัจจุบัน (บาท) 103.50
ราคาเป้าหมาย (บาท) 135.00
Upside (%) 30.4
Dividend Yield (%) 2.2
ความขัดแย้งกันของผลประโยชน์
เนื่องจาก BBL เป็น 1 ในผู้ถือหุ้น ใหญ่ของ ASP โดยปัจจุบัน BBL บริษัทในเครือ และครอบครัวโสภณพนิช ถือหุ้นใน ASP อยู่ รวมกันราว 21% การตัดสินใจในการลงทุนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักลงทุน