บล.หยวนต้า (ประเทศไทย): 

KIATNAKIN PHATRA BANK กําไร 4Q64 ดีกว่าคาด และมองปี 65 ยังโตต่อได้

Action

BUY (Maintain)

TP upside (downside) +15.2%

Close Jan 20, 2022 Price (THB) 66.00

12M Target (THB) 76.00

Previous Target (THB) –

What’s new?

  • KKP รายงานกำไรสุทธิ 4Q64 จานวน 2,023 ลบ. โตเด่น 82.6%YoY และ 36.9%QoQ ดีกว่าคาด แม้ต้ังสำรองเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยลบดังกล่าวถูกหักล้างด้วยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่โต 11.2%QoQ หลังพอร์ตสินเช่ือขยายตัวดี และ NIM ฟื้นตัว บวกกับรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น จากท้ังค่าธรรมเนียมที่ปรับขึ้น และกำไรจากการขายหนี้

Our View

  • เรามองผลดำเนินงานของ KKP มีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ สอดรับกับการขยายพอร์ตสินเช่ือเช่าซื้อ และพัฒนาการที่ดีขึ้นของธุรกิจฝั่งตลาดทุน ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside 16% จากมูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 2565 ที่ 76 บาท (อิง Prospective PBV ท่ี 1.1x) และคาดจะกลับมาจ่ายปันผลในระดับ Div. Payout Ratio ที่สูงขึ้นจากปี 2564 โดยคาดเงินปันผลจากกำไร 2H64 ที่ 2.6 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Div. Yield 4% จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

4Q64 กำไรโตเด่น 36.9% QoQ หนุนด้วยรายได้ดอกเบี้ยและกำไรจากการขายหนี้

KKP รายงานกำไรสุทธิ 4Q64 จำนวน 2,023 ลบ. โตเด่น 82.6% YoY จากการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลงจาก 4Q63 และโต 36.9% QoQ ดีกว่าที่เราและตลาดคาด โดยแม้ KKP มีการตั้งสำรองสูงขึ้นกว่า 57.1% QoQ จน Credit Cost เพิ่มเป็น 1.77% จากเพียง 1.37% ใน 3Q64 เพื่อเพิ่ม Management Overlay ราว 928 ลบ. (จากการตั้งสำรองทั้งหมดใน 4Q64 จำนวน 1,582 ลบ.) รองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ และเป็นผลจากการเร่งตั้งสำรองเพื่อ Write-Off หนี้เสียบางส่วน แต่พบว่าในแง่ของกำไรจากการดำเนินงานก่อนการตั้งสำรอง (PPOP) โตเด่น 42.4% QoQ หลัก ๆ มาจาก 1) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่เร่งตัวขึ้นกว่า 43.6% QoQ หลังรายได้ค่าธรรมเนียมของทั้งธุรกิจธนาคาร ธุรกิจฝั่งตลาดทุน ที่ฟื้นตัวในช่วงคลาย Lockdown อีกทั้งมีกำไรจากการขายหนี้ที่บริษัท Write-off ไปแล้วเพิ่มเติมเข้ามา และ 2) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิโตเด่น 11.2% QoQ หนุนด้วยพอร์ตสินเชื่อที่โต 6.8% QoQ จากการขยายตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ไปยังแบรนด์ใหม่ที่ยังเติบโตได้ดี และการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อบ้านที่เร่งตัวขึ้นในช่วงปลายปี นอกจากนี้เราพบว่า NIM ของ KKP เริ่มฟื้นตัวขึ้นจาก 4.38% ใน 3Q64 เป็น 4.59% หลง Asset Yield เริ่มขยับขึ้นตาม Mixed ของสินเชื่อที่ไปยังกลุ่มที่ให้ Yield สูงขึ้น และการควบคุม Cost of Funding ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปรับประมาณการกำไรขึ้น สะท้อน NIM และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เริ่มฟื้นตัว

สำหรับปี 2565 เราคาดผลดำเนินงานของ KKP ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง หนุนด้วย 1) รับรู้รายได้ดอกเบี้ยรับจากธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากปี 2564 บริษัทได้เร่งขยายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อยานยนต์จำนวนมาก จากการทำตลาดในแบรนด์รถยนต์กลุ่มใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ที่สวนทางกับคู่แข่ง ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2) รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจฝั่งตลาดทุนมีทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น ทั้งในส่วนของธุรกิจ Brokerage ที่มี Market Share เพิ่มขึ้น และธุรกิจบริหารจัดการกองทุนรวมที่มี AUM เพิ่มขึ้นมาก และ 3) คาดการตั้งสำรองจะผ่อนคลายลงต่อเนื่อง หลังภาพรวมของเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว อีกทั้ง บริษัทได้เร่งตั้งสำรองมามากจนปัจจุบันมี Coverage Ratio สูงถึง 175% ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบกว่า 5 ปี ขณะที่ปริมาณ NPL ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีแรงกดดันที่จะต้องตั้งสำรองไม่มากนัก เพื่อสะท้อนปัจจัยบวกดังกล่าว เราจึงปรับประมาณการกำไรของ KKP ขึ้นเฉลี่ยปีละ 3.7% โดยภายใต้ประมาณการใหม่ คาดปี 2565 KKP จะมีกำไรสุทธิ 6,931 ลบ. โต 9.7% YoY

มองธุรกิจค่อยๆฟื้นตัว และราคาหุ้นยังมี Upside

เรามองผลดำเนินงานของ KKP มีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ สอดรับกับการขยายพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ และพัฒนาการที่ดีขึ้นของธุรกิจฝั่งตลาดทุน ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังมี Upside 16% จากมูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 2565 ที่ 76 บาท (อิง Prospective PBV ที่ 1.1x) และคาดจะกลับมาจ่ายปันผลในระดับ Div Payout Ratio ที่สูงขึ้นจากปี 2564 โดยคาดเงินปันผลจากกำไร 2464 ที่ 2.6 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Div. Yield 4% จึงคงคำแนะนำ “ซื้อ”

- Advertisement -