บล.หยวนต้า (ประเทศไทย):
TMBTHANACHART BANK ปี 65 ปรับโครงสร้างเสร็จ พร้อมกลับมาโฟกัสการเติบโต
Action
TRADING (Maintain)
TP upside (downside) +9.9%
Close Jan 20, 2022 Price (THB) 1.42
12M Target (THB) 1.56
Previous Target (THB) –
What’s new?
- TTB รายงานกำไรสุทธิ 4Q64 จำนวน 2,799 ลบ. โตเด่น 126.7%YoY และ 18.7%QoQ ดีกว่าคาด หนุนด้วยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิที่โต 1.5%QoQ หลังพอร์ตสินเช่ือขยายตัว และ NIM เร่ิมฟื้นตัวดีขึ้น บวกกับรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยโต 41.4%QoQ หลังค่าธรรมเนียมปรับขึ้นตามปริมาณธุรกรรม นอกจากนี้ การต้ังสำรองยังลดลง 9.2%QoQ หลังคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี
Our View
- แม้เรามอง TTB กำลังเข้าสู่ทิศทางการฟื้นตัวของธุรกิจ แต่ด้วยราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมามากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา จนราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside เหลือเพียง 10.2% จากมูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 2565 ที่ 1.56 บาท ทำให้เรามองว่าราคาหุ้นซึมซับปัจจัยบวกไปมากแล้ว เราจึงคงคำแนะนำเพียง “Trading” จนกว่าจะเห็นพัฒนาการของสินเช่ือท่ีดีกว่าคาด หรือการต้ังสำรองที่ลดลงเร็วกว่าที่เราประเมิน
4Q64 กำไรโต 18.7% QoQ ดีกว่าคาด หลังค่าธรรมเนียมโตดี และสำรองลดลง
TTB รายงานกำไรสุทธิ 4Q64 จำนวน 2,799 ลบ. โตเด่น 126.7% YoY จากการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลงมากจากปีก่อน และโต 18.7% QoQ ดีกว่าที่เราและตลาดคาด โดยแม้มีแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เร่งตัวขึ้น 18.6% QoQ หลังมีค่าใช้จ่ายโบนัสพนักงานและค่าใช้จ่ายในการ Rebranding เพิ่มเข้ามา แต่ปัจจัยลบดังกล่าวถูกหักล้างด้วย 1) รายได้ดอกเบี้ยรับที่ปรับขึ้น 1.5% QoQ สอดรับไปกับพอร์ตสินเชื่อที่เริ่มกลับมาขยายตัวและ NIM ที่ฟื้นตัวขึ้นเป็น 2.99% จาก 2.96% ใน 3Q64 หนุนด้วย Asset Yield ที่ปรับตัวดีขึ้น หลังบริษัทเริ่มเพิ่มสัดส่วนสินเชื่อกลุ่ม High Yield มากขึ้น 2) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยโตเด่น 41.4% QoQ หลักๆ มาจากรายได้ค่าธรรมเนียมของ Bancassurance และค่าธรรมเนียมธนาคารที่ดีขึ้นตามปริมาณธุรกรรมผ่านสาขาที่เพิ่มขึ้นหลังคลาย Lockdown รวมทั้งมีกำไรจากการตีมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน ด้วยมูลค่ายุติธรรมเพิ่มขึ้น 129.3% QoQ และ 3) การตั้งสำรองลดลง 9.2% QoQ หลังบริษัทสามารถควบคุมคุณภาพของสินทรัพย์ได้ดี ประกอบกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มผ่อนคลายลง สะท้อนจาก NPL Ratio ที่ลดลงเหลือ 3.08% จาก 3.28% ใน 3Q64 ทำให้ Coverage Ratio ของ TTB เพิ่มขึ้นจาก 120.2% ใน 3Q64 เป็น 124.7%
ปรับประมาณการกำไรขึ้น สะท้อนการฟื้นตัวของ Asset Yield
เรามองปี 2565 จะเป็นปีที่ TTB เริ่มกลับมาให้น้ำหนักกับการเติบโต และการสร้าง Synergy ระหว่างฐานลูกค้าของ TMB และ TBANK มากขึ้น หลังเศรษฐกิจในประเทศเริ่มมีสัญญาณเชิงบวก ทำให้บริษัทสามารถกลับมาเร่งขยายพอร์ตสินเชื่อในกลุ่ม High Yield อย่างสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อเพื่อการบริโภคได้มากขึ้น ทำให้คาดพอร์ตสินเชื่อจะเริ่มขยายตัวพร้อมๆ กับ Asset Yield ที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้คาดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะปรับตัวลง หลังผ่านพ้นการปรับโครงสร้างและการปรับระบบการทำงาน Back Office หลังควบรวมเสร็จสิ้นแล้ว อีกทั้งคาดจะมีแรงหนุนจากการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลง หลังคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี และมี Coverage Ratio อยู่ในระดับที่แข็งแรง เพื่อสะท้อนถึงปัจจัยบวกดังกล่าว เราจึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิตั้งแต่ปี 2565 ขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.9% โดยภายใต้ประมาณการใหม่ คาด TTB จะมีกำไรสุทธิปี 2565 ราว 12,860 ลบ. โต 22.8% YoY
ราคาหุ้นขึ้นมามาก ทำให้ Upside จำกัด … คงคำแนะนำเพียง “Trading”
แม้เรามอง TTB กำลังเข้าสู่ทิศทางการฟื้นตัวของธุรกิจ แต่ด้วยราคาหุ้นที่ปรับขึ้นมามากในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาจนราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside เหลือเพียง 10.2% จากมูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 2565 ที่ 1.56 บาท ทำให้เรามองว่าราคาหุ้นซึมซับปัจจัยบวกไปมากแล้ว เราจึงคงคำแนะนำเพียง “Trading” จนกว่าจะเห็นพัฒนาการของสินเชื่อที่ดีกว่าคาด หรือการตั้งสำรองที่ลดลงเร็วกว่าที่เราประเมิน