Daily Focus Selective Buy on Earnings and Low PER/PBV

ตลาดหุ้นวานนี้:

SET Index ปรับตัวลงต่อเนื่องตามคาด และปิดลบอีก 12.19 จุด หลุดระดับ 1,645 จุด ทำให้ระยะสั้นทางเทคนิคกลับมาเป็น Sideways จากเดิมที่เป็นขาขึ้น สถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นเร่งตัวขึ้นเป็น 2.5 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิอีก 2.2 พันลบ. (สถานะใน SET50 Index Futures ยังคงไม่มีนัยยะนัก)

แนวโน้มตลาดวันนี้:

เราคาด SET Index ยังผันผวนและแกว่งตัว Sideways Down ในกรอบ 1,630-1,645 จุด โดยแม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อยหลังร่วงหนักระหว่างวัน แต่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ยังเผชิญแรงกดดัน ขณะที่กลุ่มพลังงานคาดถ่วงตลาดตามราคาน้ำมันดิบที่เริ่มพักตัว ตลาดยังคงจับตาประเด็นเงินเฟ้อที่เร่งตัวทั่วโลก โดยเฉพาะฝั่งสหรัฐฯ รวมถึงจับตาการประชุม FED ช่วง 2 วันนี้ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยตามคาดหรือไม่ และส่งสัญญาณนโยบายที่ดึงตัวเพิ่มเติมอย่างไรในช่วงที่เหลือของปี ส่วนปัจจัยในประเทศยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่ชัดเจน หลักๆ ยังอยู่ที่การทยอยประกาศผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน ฝั่ง Real Sector ในเชิงกลยุทธ์จึงยังเน้นลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว แนวโน้มกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง และมี PER/PBV ไม่สูง คาดว่าจะเผชิญแรงขายที่จำกัด และ Outperform ตลาดได้ในระยะนี้

กลยุทธ์: เลือกลงทุนโดยเน้นหุ้น PER/PBV ต่ำ และหุ้นที่คาดกำไร 4Q21 แข็งแกร่ง

หุ้นเด่นเดือน ม.ค.: CK, EA, HMPRO, KBANK, ORI

หุ้นเด่นวันนี้: STANLY

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 250 บาท
  • เป็นหุ้นกลุ่มยานยนต์ที่ PER ต่ำเพียง 8 เท่า และ PBV เพียง 0.7 เท่าขณะที่การเติบโตของกําไรในปี 2022-24 คาด + 14% CAGR คิดเป็น PEG 0.59 เท่า
  • กำไร 3Q22 (ต.ค.-ธ.ค. 2021) คาด +53% Q-Q, -5% Y-Y หนุนทั้งปี 2022 (สิ้นสุด มี.ค. 2022) +46% Y-Y และคาด STANLY ได้อานิสงส์จาก Trend EV เพราะโคมไฟและฟลอดไฟยังเป็นชิ้นส่วนสำคัญ
  • แนวรับ 184.50-185 บาท แนวต้าน 190-192 // 196.50 บาท

Fund Flow:

วานนี้กระแสเงินทุนยังไหลออกจากภูมิภาค แต่บางลงเหลือ US$ 174 ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ออกจากเกาหลีใต้ US$ 483 ล้าน แต่พลิกไหลเข้าไต้หวัน US$ 250 ล้าน ส่วนอาเซียนเม็ดเงินค่อนมาในทางไหลเข้า นำโดยไทย US$ 67 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังค่อนไปในทางไหลออก และจับตาการประชุม FED 2 วันนี้

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) SC คาดกำไรปกติ 4Q21 +7% Q-Q, +29% Y-Y ตามการเติบโตของยอดโอน ทำให้ทั้งปี 2021 คาดกำไรจบ +7% Y-Y สำหรับปี 2022 คงคาดขยายตัวดี +11% Y-Y ทํา All Time High จากการเริ่มรับรู้คอนโดใหม่ 3 แห่ง บวกกับแผนรุกเปิดโครงการใหม่ โดยเฉพาะแนวราบเรายังคงราคาเป้าหมาย 4.20 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ” พร้อมรับปันผลเต็มปี Yield 5.4%

(-) SFLEX ผลการดำเนินงานถูกกดดันจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูง ทำให้กำไร 4Q21 คาด -37% Q-Q, -33% Y-Y และทั้งปี 2021 เติบโตเพียง +4% Y-Y ส่วนแนวโน้มปี 2022-2023 ยังถูกกดดันจากต้นทุนเม็ดพลาสติกและเรซินที่มีแนวโน้มลดลงช้ากว่าคาด รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรง เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2022-2023 ลงเหลือ +9% Y-Y และ +15% Y-Y ตามลำดับ เราปรับลดราคาเป้าหมายลงเหลือ 5.50 บาท (Fully Dilute จาก Warrant เหลือ 5 บาท) ยังแนะนำ “ซื้อ” แต่ชอบน้อยลง

(0) SPVI คาดกำไร 4Q21 โดดเด่น +305% Q-Q, +40% Y-Y จาก High Season และระยะเวลาขาย iPhone13 ที่นานขึ้น และยังได้อานิสงส์จากเทรนด์ WFH LFM เราปรับกำไรปี 2021-2022 ขึ้นเป็น +72% Y-Y และ +2% Y-Y แต่มีการ Rerate PER ลงเล็กน้อย ทำให้ราคาเป้าหมายใหม่อยู่ที่ 6.40 บาท แนะนำเพียง “ถือ”

(0) XO คาดกำไร 4Q21 +6% QQ, +22% Y-Y จากปัญหา Supply Chain ที่คลี่คลาย แต่ยังมีปัญหาสายเรืออยู่บ้างโดยปี 2021 คาดกำไรจบที่ +43% Y-Y บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2022 โต 10%-15% Y-Y ซึ่งคาดหวังเห็นรายได้เร่งขึ้นใน 2Q22 สำหรับด้านต้นทุนยังไม่น่ากังวล มีเพียงค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากแผนการสนับสนุนค่า Listing Fee ให้กับ Distributor มากขึ้น รวมถึงค่าเสื่อมที่จะรับรู้เต็มปี เรายังคาดกำไรปี 2022 +3% Y-Y คงราคาเป้าหมายที่ 22 บาท ลดคำแนะนำเป็น “ถือ” (กรรมการและกรรมการตรวจสอบของ FINANSIA SYRUS เป็นกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบของ XO)

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 99.13 จุด หรือ 0.29% ปิดที่ 34,364.50 จุด จากแรงเข้าซื้อเก็งกำไรในช่วงท้ายตลาดหลังระหว่างวันปรับลงแรง 1,000 จุด จากความกังวลว่าเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด และสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลบจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างยูเครนและรัสเซีย และติดตามการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในวันที่ 25-26 ม.ค. นี้

(-) ตลาดหุ้นเอเชีย ปรับลงจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐและรัสเซียเกี่ยวกับประเด็นยูเครน และระมัดระวังในการซื้อขายก่อนการประชุมเฟด ขณะที่ติดตามเกาหลีใต้รายงาน GDP 4Q21 และออสเตรเลียรายงานอัตราเงินเฟ้อ 4Q21 ในเช้านี้

(0) ค่าเงินบาท แกว่งในกรอบแคบล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 32.97 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.83 ดอลลาร์หรือ 2.15% ปิดที่ 83.31 ดอลลาร์/บาร์เรล จากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และความกังวลเกี่ยวกับเฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 9.9 ดอลลาร์ หรือ 0.54% ปิดที่ระดับ 1,841.7 ดอลลาร์/ออนซ์ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 1,008.45 / +

- Advertisement -