ยังไม่ผ่าน 1700 จุด

สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในช่วงแคบ บริเวณ 1,693-1,702 จุด ดัชนีย่อตัวลงหลังจากไม่สามารถยืนเหนือ 1,700 จุด มีแรงขายมากในหุ้นกลุ่มค้าปลีก และกลุ่มพลังงาน ตามราคาน้ำมันดิบปรับตัวลง หลังมีรายงานว่า คณะบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดน พิจารณาแผนการระบายน้ำมัน 180 ล้านบาร์เรล ออกจากคลังสำรองฉุกเฉิน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,695.24 จุด -3.16 จุด -0.19% มูลค่าการซื้อขาย 71,204 ลบ. ต่างชาติ +391.36 ลบ. TFEX -1,635 สัญญา ตราสารหน้ี +2,640.80 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ทีมนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐเปิดเผยผลการวิจัยล่าสุด ระบุว่าเด็กอายุ 5-11 ปีซึ่งได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทคมีโอกาสป่วยเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้ฉีดวีคซีนถึง 68%

+ ก.คลังสั่งแบงก์รัฐตรึงอัตราดอกเบี้ยบ้านถึงสิ้นปี กระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ช่วยฟื้นเศรษฐกิจ ระบุรัฐบาลอาจปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หวั่นประเทศถูกลดเครดิตจากการกู้เงินเกินตัว

+ ธปท.รายงานว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ. ยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว โดยการส่งออกสินค้าปรับเพิ่มขึ้นตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจต่างประเทศ ขณะเดียวกัน จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

+ประเทศไทยเปิดตัวโครงการก่อสร้าง “นิคม อุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค” หนึ่งในนโยบายไทยแลนด์ 4.0 การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) รองรับการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ new s-curve ที่มีนวัตกรรม และใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 28,379 ราย ATK 22,331 ราย มีผู้เสียชีวิต 92 ราย รักษาหาย 23,843 ราย

ปัจจัยลบ-

– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 550.46 จุด -1.56% กังวลสงครามรัสเซีย-ยูเครน และ FED อาจเร่งปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย หลังจากสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปี

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 7.54 ดอลลาร์ -7% ปิดที่ 100.28 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสหรัฐยืนยันว่าจะระบาย น้ำมันในคลังสำรองจำนวน 1 ล้านบาร์เรล/วัน เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน

– โฆษกทําเนียบขาวรายงานโดยอ้างหน่วยข่าวกรองของสหรัฐว่า ผู้นำรัสเซียได้รับข้อมูลผิดๆ จากบรรดาที่ปรึกษาในเรื่องผลการปฏิบัติงานของกองทัพรัสเซียในยูเครน และผลกระทบจากการคว่ำบาตรต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากคณะที่ปรึกษาไม่กล้าบอกความจริงกับปธน.ปูติน

– IMFเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ว่า มาตรการคว่ำบาตรทางการเงินที่ชาติตะวันตกใช้กับรัสเซียอาจลดทอนความสำคัญของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และอาจส่งผลให้ระบบการเงินโลกมีการกระจายตัวมากขึ้น

– ผู้นำรัสเซียลงนามในกฤษฎีการะบุว่าต่างชาติที่ซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียจะต้องชำระเงินเป็นสกุลรูเบิลเท่านั้น เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. และสัญญาการซื้อก๊าซจะถูกระงับ หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับตัวเลข PCE สหรัฐพุ่งสูงสุดในรอบเกือบ 40 ปี ส่งผลให้ความกังวลว่าเฟดอาจ เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,685-1,700 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้น Value Play : KBANK BBL SCB EA GULF ADVANC TRUE DTAC
  • กรณีสงครามยืดเยื้อ ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูง บวกต่อ PTTEP PTTGC TOP, สินค้าเกษตร ข้าวสาลี และ กากถั่วเหลืองขึ้น เป็นบวกต่อ TMILL TVO และเป็นลบต่อธุรกิจอาหารสัตว์ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น CPF GFPT ASIAN
  • จ่อปลดล็อกเข้าประเทศทุกเงื่อนไข 1 มิ.ย.นี้ เลิก ThailandPass/Test&Go : AOT ERW CENTEL MINT AWC
  • นโยบายส่งเสริมรถ EV : EA NEX GPSC BCPG

หุ้นรายงานพิเศษ

SISB (Bloomberg Consensus 11.50)

  • ผู้บริหารตั้งเป้าการเติบโตในอีก 5 ปี นักเรียนเติบโตสู่ 4,150 คน จากในปัจจุบันมีนักเรียน 2,434 คน หรือคิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 11.3% ต่อปี โดยได้แรงหนุนจากการเปิดสาขาธนบุรีเฟส 2 ปี 2022 สาขานนทบุรีปี 2023 และสาขาระยองในปี 2024 โดยคาดว่าจะสามารถรักษาระดับอัตรากำไรขั้นต้นและอัตรากำไรสุทธิที่ระดับ 45-50% และ 20-25% ตามลำดับ
  • เตรียมขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดและชานเมืองเพิ่มเติม เพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดจากโรงเรียนเอกชน และโรงเรียน English Program โดยอาจปรับลดขนาดของโรงเรียนลง แต่ยังใช้หลักสูตรจากสิงคโปร์ โดยมองการลงทุน 5 จังหวัดหลัก เชียงใหม่ อุดรธานี ขอนแก่น ชลบุรี(พัทยา) และ ภูเก็ต
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการตั้งแต่ 1Q22 เป็นต้นไป เนื่องจากไม่มีการล็อกดาวน์และนักเรียนเริ่มทยอยกลับเข้ามาเรียนเพิ่มขึ้น ล่าสุดนักเรียนกลับมาเรียนกว่า 2.6 พันคน แล้วจาก 4Q21 อยู่ที่ระดับ 2.4 พันคน และไม่มีการให้ส่วนลดค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ในปี 22 โรงเรียน SISB สาขาธนบุรีเฟส 2 แล้วเสร็จช่วยหนุนให้จำนวนนักเรียนกลับมาเติบโต เราจึงแนะนำ “ซื้อสะสม”

หุ้นมีข่าว

(+) AMATA (Bloomberg Consensus 23.85 บาท) ตั้งเป้ารายได้รวมโต 10-20% ยอดขายที่ดิน แตะ 1.4-1.5 พันไร่ มั่นใจต่างชาติสนใจย้ายฐานลงทุนในไทย-เวียดนาม กำงบลงทุนกว่า 4-5 พันล้านบาท เดินหน้าซื้อที่ดินพัฒนานิคมรองรับ จับตายอดขายครึ่งปีหลังพีครับไฮซีซัน (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MAKRO (Bloomberg Consensus 48.50 บาท) ผุดแพลตฟอร์มตลาดค้าส่งออนไลน์ (MAKNET) วางเป้าอันดับ 1 ของไทย ภายใน 3 ปี คาดมีลูกค้าใช้บริการ 5 แสนราย ชูเป็น New S Curve ในยุคดิจิทัล ดันสัดส่วนรายได้ออนไลน์แตะ 30% จากปัจจุบันที่ 12% พร้อมอัดงบลงทุน 1.1 หมื่นล้านบาท ขยายสาขาในไทยและต่างประเทศ 35 แห่ง รวม MAKNET มั่นใจยอดขายปีนี้เติบโตต่อเนื่อง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IP (Bloomberg Consensus 24.10 บาท) จ่อปิดดีล “ดรัก แคร์” ผู้นำธุรกิจร้านขายยา วันที่ 1 เม.ย.นี้ พร้อมรับรู้รายได้ทันที แย้มแผนดันเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ปักเป้าดันรายได้ปีนี้โตเท่าตัว 1.8 พันล้านบาท ลุยขายสินค้ากัญชง-กัญชากลางปีนี้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) INSET (Bloomberg Consensus 7.30 บาท) รับอานิสงส์ก่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์บูม รัฐ เอกชนแห่ดีลงานเพียบ หนุนมูลค่าตลาดพุ่งสูงขึ้น แย้มจ่อเซ็นสัญญางานใหม่ 3 แห่ง เติมแบ็กล็อก จากที่มีอยู่ 2.3 พันล้านบาท คาดปีนี้โกยรายได้ไม่ต่ำกว่า 2 พันล้านบาท ฟากโบรกมองเข้าสู่ขาขึ้นรอบใหญ่ มีโอกาสรับงานถนัด การก่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • ภายใน 21 เม.ย. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบการเงินงวด 1Q65
  • 18 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2555

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 1 เม.ย. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมี.ค.จากไฉซิน

อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาค การผลิตขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค.

สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนมี.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล ดัชนีภาคการผลิตเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM)

  • 4 เม.ย. อียู รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน ก.พ.

สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ.

  • 5 เม.ย. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบลอล
- Advertisement -