สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวบวกเล็กน้อยช่วงเปิดตลาด ก่อนที่จะมีแรงขายกดดันดัชนี ลบต่ำสุดราว 21 จุด ดัชนีปรับตัวลงต่อเนื่อง โดยตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียปรับตัวลงราว -0.7% ถึง -2.0% ในขณะที่ Dow futures ปรับตัวลง ราว -1.21% ตลาดยุโรปลงราว -2.0% ถึง -2.5% แรงขายมีมากในหุ้นกลุ่มพลังงานไอซีทีและค้าปลีก ส่วนกลุ่มการแพทย์ยืนในแดนบวก ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,568.33 จุด -17.85 จุด -1.13% มูลค่าการซื้อขาย 71,991 ลบ. ต่างชาติ -1,369.02 ลบ. TFEX -7,185 สัญญา ตราสารหน้ี -3,588.70 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ ธปท. แถลงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือน พ.ค.2565 ปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน การบริโภคและการ ลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ จากท้ังฝั่งไทยและต่างประเทศ

+ สทท. เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจใน 2Q65 อยู่ที่ระดับ 53 สะท้อนสถานการณ์การท่องเที่ยวที่ดีขึ้นกว่า 1Q65 แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก ดัชนีคาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยว 3Q65 อยู่ที่ระดับ 62 ต้ังเป้าดึงนักท่องเท่ียวต่างชาติ 12 ล้านคนเข้าไทย สร้างรายได้ 1 ล้านล้านบาท

+ เปิดผลสำรวจความเช่ือมั่นเอสเอ็มอีไตรมาส 2/2565 อยู่ที่ระดับ 56.00 ระบุกลุ่มท่องเที่ยวเชื่อมั่นสูงสุด หลังอ่วมพิษโควิด-19 ทำลูกค้า-กำลังซื้อชะลอ คาดปี 2566 ผลประกอบการทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

+/- ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ในประเทศวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,354 ราย ATK 4,814 ราย มีผู้เสียชีวิต 16 ราย รักษาหาย 2,154 ราย

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 253.88 จุด -0.82% กังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชัดเจนว่าจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 4.02 ดอลลาร์ -3.7% ปิดที่ 105.76 ดอลลาร์/บาร์เรล กังวลภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และการชะลอตัวของดีมานด์พลังงาน วานน้ี ที่ประชุมกลุ่มโอเปกพลัสมีมติเพิ่มกำลังการผลิต 648,000 บาร์เรล/วันในเดือนส.ค.

– สหรัฐรายงานว่า ดัชนี PCE ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 6.3%YoY ในเดือนพ.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 6.3% ในเดือน เม.ย. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหาร และพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ FED ให้ความส่ำคัญ เพิ่มขึ้น 4.7%YoY ในเดือนพ.ค.

– องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เตือนว่าประชาชนประมาณ 19 ล้านคน อาจเผชิญกับภาวะขาดสารอาหารเรื้อรังทั่วโลกในปี 2566 หากการผลิตอาหารท่ัวโลกลดลง

– ธนาคารกลางสวีเดนหรือริกส์แบงก์ ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 0.75% ปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 22 ปี มีผล 6 ก.ค. ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนใกล้ระดับ 2% ในช่วงต้นปี 2566 เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนยังคงกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงแรง กดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ 1,560-1,580 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • กนง.มีโอกาสปรับข้ึขึ้นดอกเบี้ยช่วงครึ่งปีหลัง+หุ้นแบงก์ได้ประโยชน์จากธปท.เลิกเพดานจ่ายปันผล และทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น เราชอบแบงก์ใหญ่ KBANK SCB BBL KTB TISCO
  • ครม.เว้นภาษี VAT สำหรับผู้ประกอบการ Data Center : ICN ITEL MFEC INSET
  • ยกเลิกระบบ Thailand Pass : ERW CENTEL BA AAV AOT ASAP SPA MBK CPN

หุ้นรายงานพิเศษ

STECH – ต้นทุนยังกดดันผลประกอบการ

  • 1Q65 มีรายได้รวม 510.7 ล้านบาท เติบโต 29.7%YoY เนื่องจากมีส่งมอบงานในปริมาณสูงจากยอดคำสั่งซื้อในมือ และการรับรู้งานก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่เข้ามา อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิทำได้ที่ระดับ 22.9 ลบ. หดตัวลง -30.2 %YoY เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งน้ำมัน เหล็ก และปูนซีเมนต์ ประกอบกับมีการแข่งขันด้านราคาจากคู่แข่ง
  • บริษัทคาดแนวโน้ม 2Q65 เติบโตต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่ผ่านมา ผลจากภาพรวมอุตสาหกรรมก่อสร้างที่เร่งฟื้นตัวหลังสถานการณ์โควิดผ่อนคลาย ประกอบกับมาตรการเปิดประเทศจากภาครัฐและนโยบายการลงทุน ส่งผลบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมก่อสร้างกลับมา บริษัทตั้งเป้าการเติบโต 2565 ไว้ที่ 25-30% จากการรับรู้ยอด Backlog ในมือ 1,475 ลบ. ประกอบกับอยู่ระหว่างติดตามงานก่อสร้างใหม่อีกมูลค่ารวมกว่า 1,490 ลบ. ทั้งงานภาครัฐและเอกชน สะท้อนภาพรวมงานโครงการขนาดใหญ่เริ่มเดินหน้า โดยเฉพาะเมกะโปรเจกต์ภาครัฐ
  • ความเห็น: มีความเห็นเชิงบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการช่วงครึ่งหลังของปี 2565 จากแรงหนุนของมาตรการเปิดประเทศจากภาครัฐ และงานใหม่ๆ ที่ทยอยเปิดประมูลต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงหลักยังอยู่ที่การบริหารจัดการต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นหลัก แนะ “Wait & see”

หุ้นมีข่าว

(+) WICE (Bloomberg consensus 22.50 บาท) เผยวอลุ่มขนส่งพุ่ง หลังจีนเริ่มเปิดเมือง แถมค่าระวางเรือมีโอกาสฟื้นตัวต่อเนื่อง พร้อมธุรกิจสินค้าข้ามพรมแดนกลับมาคึกคัก แย้มผลงานไตรมาส 2/2565 โตขึ้นจากไตรมาสก่อน มั่นใจทั้งปีรายได้โต 20% ราว 9,000 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) WPH (Bloomberg consensus – บาท) ลั่นปีหน้าสัดส่วนผู้ป่วยต่างชาติจะกลับมาที่ระดับ 25% ซึ่งเป็นระดับก่อนเกิดเหตุการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ขณะที่ในปีน้ีจะอยู่ที่ระดับ 10% หลังจากที่ภาครัฐเปิดประเทศ เช่ือว่าทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น ระบุราคาหุ้นมีค่าพี/อี  ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มโรงพยาบาล มีการจ่ายเงินปันผลในระดับที่ดี (ที่มา ทันหุ้น)

(+) TSR (Bloomberg consensus 4.45 บาท) ล่าสุดจับมือกับ go! Power ในเครือเซ็นทรัลรีเทล รุกให้บริการปล่อยสินเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมอัพเป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่เป็น 500-600 ล้านบาท มองภาพรวมอุตสาหกรรมยังทรงตัวจากภาวะเงินเฟ้อกดกำลังซื้อหดตัว คาดเปิดประเทศท่องเที่ยวเต็มรูปแบบหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว ยอดขายธุรกิจเครื่องกรองน้ำปีน้ีเติบโตแน่ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) AMR (Bloomberg consensus – บาท) มั่นใจรายได้ปีนี้แตะ 2 พันล้านบาท โชว์งานในมือกว่า 2 พันล้านบาท และยังมีงานโครงการใหม่ๆ เข้ามาต่อเนื่อง ล่าสุด ติดตู้ชาร์จแบตอีวี รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เป้าหมายติดตั้งครบ 1,000 แห่ง ในปี 2566 พร้อมศึกษางานใหม่ๆ เพิ่มเติมรวมถึงแผน ซื้อธุรกิจสาธารณูปโภค ที่เก่ียวกับพลังงาน-สิ่งแวดล้อม (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 8 ก.ค. ประชุม ศบค. ชุดใหญ่
  • 19-22 ก.ค. อภิปรายไม่ไว้วางใจ
  • ภายใน 21 ก.ค. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบฯ งวด 2Q65
  • 10 ส.ค.ประชุมกนง. ครั้งที่ 4/65

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 1 ก.ค. ญี่ปุ่นเปิดเผยอัตราว่างานเดือนพ.ค. ความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ (ทังกัน) ประจำไตรมาส 2/2565

จีน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือน มิ.ย.จากไฉซิน
อียู เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตครั้งสุดท้ายเดือน มิ.ย. และอัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย.สหรัฐ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตครั้งสุดท้ายเดือน มิ.ย. และดัชนีภาคการผลิตเดือน มิ.ย.

  • 4 ก.ค. อียูรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน พ.ค.
  • 5 ก.ค. จีนรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือน มิ.ย.จากไฉซิน

สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค.

- Advertisement -