บล.พาย:
KCE: บมจ. เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ “ภาพรวม 2H22 ดีกว่า 1H22”
คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลง -19% เป็น 69.00 บาท อิง 29.7xPE’23E หรือที่ค่าเฉลี่ย 5 ปี ผลประกอบการ 2Q22 ออกมาต่ำกว่าคาด สืบเนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่ต่ำ แม้คาดว่ากำไรจะโต HoH ใน 2H22 จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง แต่ได้ปรับลดมูลค่าพื้นฐานลง เพราะภาพรวมการเติบโตของกำไรปี 2022-23 ที่น้อยกว่าปี 2020-21 แต่เชื่อว่าราคาหุ้นที่ลดลง 35% เป็นโอกาสในการทยอยสะสม ปัจจุบันหุ้นซื้อขายเพียง 29.7xPE, ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยคู่แข่งในไทยที่ 33.4xPE’23E อยู่ราว 11%
กำไร 2Q22 ต่ำกว่าคาด
- กำไรสุทธิอยู่ที่ 572 ล้านบาท (-7% YoY, -3% QoQ) ที่ลดลงเชิง YoY เพราะผลกระทบจาก GPM และรายได้อื่นที่ลดลง ส่วนการปรับลดลง QoQ เป็นผลจากรายได้อื่นที่ลดลงและภาษีจ่ายที่สูงขึ้น
- รายได้อยู่ที่ 4.7 พันล้านบาท (+32% YoY, +3% QoQ) การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจเส้นใยอิ่มตัวและลามิเนต และแผ่นพิมพ์ลายวงจร (PCB) บวกกับกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง หากไม่รวมกำไรอัตราแลกเปลี่ยน ยอดขายรวมจะอยู่ที่ US$136 ล้าน (+20%YoY, ทรงตัว QoQ) ชี้เป็นนัยว่าในเชิง QoQ ได้แรงหนุนมาจากการอ่อนค่าของเงินบาท
- GPM อยู่ที่ 22.8% (-6.2ppts YoY, ทรงตัว QoQ) ที่ลดลง YoY เป็นเพราะต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นที่ 1.00 บาท ขึ้น XD วันที่ 22 ส.ค.
- ประกาศจ่ายเงินปันผลต่อหุ้น (DPS)
คาดกำไรใน 2H22 ปรับดีขึ้น HoH
- การประชุมนักวิเคราะห์ให้น้ำหนักเป็นบวกต่อภาพรวม 2H22 เพราะคาดว่า GPM จะโตขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง และการเติบโตของรายได้ในตลาดเอเชีย
- เชื่อว่ายอดขายจะปรับดีขึ้นใน 2H22 จากสถานการณ์ด้านห่วงโซ่อุปทานที่ปรับดีขึ้น และจำนวนวันหยุดเทศกาลที่น้อยลง คาด GPM จะพลิกฟื้นสู่ระดับใน 4Q21 จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงใน 3Q22
- กำไร 1H22 คิดเป็น 46.5% ของประมาณการกำไรทั้งปี
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐานที่ 69.00 บาท
แนะนำ “ซื้อ” อิงกับเป้าหมาย 29.7xPE’23E หรือที่ค่าเฉลี่ย 5 ปี การปรับลดมูลค่าลง นอกจากจะเป็นเพราะภาพรวมการเติบโตในปี 2022-23 ที่ต่ำกว่าปี 2021-22 ยังมีสาเหตุมาจาก GPM ที่คาดเดาได้ยากของบริษัท เพราะขึ้นอยู่กับต้นทุนวัตถุดิบที่ยังอยู่ในระดับต่ำจากราคาขายเฉลี่ยคงที่ซึ่งจะมีการปรับเป็นรายปี
สรุปผลประกอบการ 2Q22
- กำไรสุทธิอยู่ที่ 572 ล้านบาท (-7% YoY, -3% QoQ) ที่ลดลงเชิง YoY เพราะผลกระทบจาก GPM และรายได้อื่นที่ลดลง ส่วนการปรับลดลง QoQ เป็นผลจากรายได้อื่นที่ลดลงและภาษีจ่ายที่สูงขึ้น
- รายได้อยู่ที่ 4.7 พันล้านบาท (+32% YoY, +3% QoQ) การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากการเติบโตของกลุ่มธุรกิจเส้นใยอิ่มตัวและลามิเนต และ PCB บวกกับกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่วนในเชิง QoQ โตเล็กน้อยจากกำไรอัตราแลกเปลี่ยน หากไม่รวมกำไรอัตราแลกเปลี่ยน รายได้รวมจะอยู่ที่ US$136 ล้าน (+20%YoY, ทรงตัว QoQ)
- GPM อยู่ที่ 22.8% (-6.2ppts YoY, ทรงตัว QoQ) ที่ลดลง YoY เป็นเพราะต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (เทปฟอยล์ทองแดงและเม็ดทองแดง ลามิเนต และไฟเบอร์กลาส) โดยใน 2Q21 บริษัทสามารถต่อรองราคาขายเฉลี่ยและได้รับวัตถุดิบในราคาที่ถูกลงก่อนที่ราคาจะปรับสูงขึ้นในเดือน มี.ค. 2021 นับเป็สาเหตุที่ทำให้ GPM ใน 2Q21 อยู่ที่ 29.0% และหดตัวลงหลังจากนั้น ส่วนใน 2Q22 บริษัทได้รับวัตถุดิบในเดือน พ.ค. 2022 ซึ่งเป็นช่วงราคาแตะยอดสูงสุดของ 2Q22 แต่บริษัทมีข้อตกลงด้านราคาขายเฉลี่ยกับลูกค้าแล้วตั้งแต่ต้นปี 2022 (เจรจาเป็นรายปี) จึงคาดว่า GPM จะโตขึ้นใน 3Q22 หลังจากที่บริษัทซื้อวัตถุดิบอีกชุดด้วยราคาที่ต่ำลง (ค่าเฉลี่ยการหมุนเวียนของวัตถุดิบบริษัทอยู่ที่ราว 45 วัน)
GPM ในปี 2022 จะเผชิญกับผลกระทบเชิงลบ ส่วนการเติบโตของรายได้ส่งสัญญาณชะลอลงในปี 2023
- ปรับลดประมาณการปี 2022 เพื่อสะท้อน GPM ที่ลดลง ปรับลดสมมติฐาน GPM ลง 1.9% จากประมาณการชุดเดิมที่คาดถึงค่าเฉลี่ยที่ 22.8% ในช่วง 1H22 แต่เชื่อว่า GPM ทั้งปี 2022 จะโตต่อเนื่องจาก 2Q22 นอกจากนี้ยังมีการปรับเพิ่มสมมติฐานยอดขายขึ้นเล็กน้อย เพื่อสะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่ดีกว่าคาด
- ปรับประมาณการปี 2023 เพื่อสะท้อนถึง GPM และยอดขายที่ลดลง ประมาณการยอดขายเดิมมีมุมมองเชิงบวกมากเกินไปจึงปรับลดลง 7% โดยอิงจากผลงานใน 2Q22 ที่การเติบโตในเชิง QoQ เริ่มชะลอลง แม้เชื่อว่าการเติบโตที่ชะลอลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากประเด็นห่วงโซ่อุปทาน แต่ขณะเดียวกันก็กังวลถึงประเด็นกำลังการผลิตที่จำกัดด้วย หากพิจารณาจากอัตราการดำเนินงานเกือบ 90% ในปี 2021 ทั้งนี้ ควรบันทึกว่าประมาณการยอดขายปี 2023 ยังไม่รวมกำลังการผลิตส่วนเพิ่มจากโรงงานใหม่ในโรจนะ ขณะที่บริษัทได้ประกาศว่าจะเลื่อน กำหนดการเดินเครื่องออกไป 3-6 เดือน ทำให้คาดว่าจะเปลี่ยนไปเริ่มดำเนินงานในช่วง 1Q23-2Q23 นอกจากนี้ยังมีการปรับลดสมมติฐาน GPM ปี 2022 ลงด้วยสาเหตุเดียวกัน โดยผู้บริหารเปิดเผยว่าราคาขายเฉลี่ยที่เจรจากันต้นปีของแต่ละปีนั้นอิงจากคาดการณ์ต้นทุนวัตถุดิบ ดังนั้น ถ้าหากคาดว่าราคาวัตถุดิบจะปรับสูงขึ้น บริษัทอาจสามารถต่อรองราคาขายที่สูงขึ้นได้ แต่ก็อาจเกิดกรณีในทางตรงกันข้ามที่อาจมีการเสนอราคาขายที่ลดลง หากคาดว่าราคาวัตถุดิบจะลดลง หมายความว่าบริษัทจะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อราคาวัตถุดิบลดลงและอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปี ทั้งนี้ GPM เฉลี่ย 5 ปีของบริษัทอยู่ที่ราว 25% และด้วยทิศทางราคาวัตถุดิบที่คาดเดาได้ยากในช่วงขาดแคลนอุปทาน จึงประเมิน GPM ปี 2023 ที่ 25% และละกรณีราคาวัตถุดิบปรับลดลงในช่วงปีเป็น upside risk ที่อาจเกิดขึ้น
Revenue breakdown
บริษัทมีรายได้จาก 3 แหล่งหลักดังนี้
- แผ่นพิมพ์ลายวงจร (PCBs) คิดเป็นสัดส่วน 80% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท PCB เป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลากหลายประเภท อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันคือส่วนที่ขับเคลื่อนกลุ่มอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (IoT) เทคโนโลยี 5G โลก metaverse และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับการทำงานจากบ้าน โดยมีการใช้ PCBs ในกลุ่มที่กำลังเติบโตอย่างรถยนต์ไฟฟ้า (EV) อีกด้วย
- Prepreg และ Laminates คิดเป็นสัดส่วน 17% ของรายได้ทั้งหมด โดย Prepregs (pre-impregnated) เป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักที่ใช้ในแผ่นวงจรพิมพ์แบบหลายชั้น ใช้ในการประกอบแผ่นวงจรให้ยึดติดกัน โดยใช้ไฟเบอร์กลาสชุบเรซิน (วัสดุที่ทำจากอีพ็อกซี่) จากนั้นกดทับแผ่นวงจรขนาดเข้าด้วยกันที่อุณหภูมิสูงเพื่อสร้างแผ่นวงจรที่มีหลายชั้น
- เคมีภัณฑ์มีสัดส่วนที่ 3% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท โดยส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตหมึกพิมพ์ PCB และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า