บล.พาย:

PTTGC: บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล “กำไรปกติ 2Q22 โตจากธุรกิจโรงกลั่น”

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 53.00 บาท กำไรสุทธิ 2Q22 ลดลง 95% YoY และ 67% QoQ มาอยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท แตะจุดต่ำรอบ 7 ไตรมาส มีปัจจัยฉุดจากขาดทุนป้องกันความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่กำไรปกติโตเป็น 1.37 หมื่นล้านบาท (+31% YoY, +120% QoQ) หลังจากธุรกิจโรงกลั่นมีผลงานดี หนุนจากค่า การกลั่นที่พุ่งขึ้น ช่วยชดเชยส่วนแบ่งที่ลดลงของธุรกิจโอเลฟินส์และปิโตรเคมีได้ คาดว่ากำไรสุทธิฟื้นตัวใน 3Q22 จาก 1) ขาดทุนป้องกันความเสี่ยงที่ลดลง และ 2) ส่วนแบ่งธุรกิจโอเลฟินส์และปิโตรเคมีที่ดีขึ้น จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ เพราะการกลับมาเปิดประเทศของจีน

ขาดทุนป้องกันความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยนกระทบกำไร 2Q22

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท (-95% YoY, -67% QoQ) แตะจุดต่ำรอบ 7 ไตรมาส มีปัจจัยฉุดจากขาดทุนป้องกันความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยน ผลประกอบการนี้ต่ำกว่าที่ตลาดคาด และน้อยกว่าที่เราประเมิน 8%
  • หากไม่รวมกำไรสต็อกน้ำมัน 3.1 พันล้านบาท ขาดทุนป้องกันความเสี่ยง 1.27 หมื่นล้านบาท และกำไรอัตราแลกเปลี่ยน 4.4 พันล้านบาท และรายการพิเศษอื่นๆ กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.37 หมื่นล้านบาท (+31% YoY, +120% QoQ) การเติบโต YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากธุรกิจโรงกลั่นที่มีผลงานดี ช่วยชดเชยธุรกิจโอเลฟินส์และปิโตรเคมีที่มีส่วนแบ่งลดลง
  • EBITDA ธุรกิจโรงกลั่นเพิ่มขึ้น +2 เท่า QoQ เป็น 1.03 หมื่นล้านบาท หลังจากค่าการกลั่นพุ่งขึ้นแตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ US$21.1/bbl (+9 เท่า YoY, +2 เท่า QoQ) สืบเนื่องจากส่วนต่างราคาที่พุ่งขึ้นจาก สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ขณะที่ส่วนแบ่ง EBITDA จากธุรกิจโอเลฟินส์ และปิโตรเคมีลดลงจากส่วนต่างราคาที่อ่อนแอ เพราะอุปสงค์ที่ลดลง และต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น

ภาพรวมดีขึ้นใน 3Q22

คาดกำไร 3Q22 ฟื้นตัวขึ้นจาก 1) ขาดทุนป้องกันความเสี่ยงที่ลดลง และ 2) ส่วนแบ่งธุรกิจโอเลฟินส์และปิโตรเคมีที่ดีขึ้น แม้บริษัทจะมีสถานะป้องกันความเสี่ยงใน 3Q22 เท่ากับช่วงก่อน แต่ส่วนต่างราคาดีเซลที่ลดลงสู่ระดับต่ำกว่า US$30bbl (ลดเหลือ US$29/bbl ในเดือน ส.ค.) น่าจะส่งผลให้มีกำไรสุทธิจากป้องกันความเสี่ยงได้ ขณะเดียวกันก็ไม่มีแผนการปิดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ใน 3Q22 อีกด้วย

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 53.0 บาท

มูลค่าพื้นฐานที่ 53.00 บาท อิง 0.7xPBV’23E คิดเป็นค่าเฉลี่ย 5 ปี ทั้งนี้ เชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนผลประกอบการที่อ่อนแอใน 2Q22 ไปแล้ว จึงนับเป็นโอกาสในการเข้าสะสม หากอิงคาดการณ์ว่าภาพรวม 2H22 จะ ปรับดีขึ้น

กำไรปกติ 2Q22 โต 31% YoY และ 120% QoQ

  • กำไรสุทธิ 2Q22 อยู่ที่ 1.4 พันล้านบาท (-95% YoY, -67% QoQ) แตะจุดต่ำรอบ 7 ไตรมาส มีปัจจัยฉุดจากขาดทุนป้องกันความเสี่ยงและอัตราแลกเปลี่ยน ผลประกอบการนี้ต่ำกว่าที่ตลาดคาด และน้อยกว่าที่เราประเมิน 8%
  • หากไม่รวมกำไรสต็อกน้ำมัน 3.1 พันล้านบาท ขาดทุนป้องกันความเสี่ยง 1.27 หมื่นล้านบาท และกำไรอัตราแลกเปลี่ยน 4.4 พันล้านบาท และรายการพิเศษอื่นๆ กำไรปกติจะอยู่ที่ 1.37 หมื่นล้านบาท (+31% YoY, +120% QoQ)
  • การเติบโต YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากธุรกิจโรงกลั่นที่มีผลงานดี (ค่าการกลั่นพุ่งสูงขึ้น) ช่วยชดเชยธุรกิจโอเลฟินส์และปิโตรเคมีที่มีส่วนแบ่งลดลง
  • EBITDA ธุรกิจโรงกลั่นโตขึ้น +2 เท่า QoQ เป็น 1.03 หมื่นล้านบาท หลังจากค่าการกลั่นพุ่งขึ้นแตะจุดสูงเป็นประวัติการณ์ที่ US$21.1/bbl (+9 เท่า YoY, +2 เท่า QoQ) สืบเนื่องจากส่วนต่างราคาที่พุ่งขึ้นจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน
  • EBITDA จากธุรกิจโอเลฟินส์และปิโตรเคมีลดลงเหลือ 4.4 พันล้านบาท (-47%YoY, -8% QoQ) จากส่วนต่างราคา PE และ PP ที่อ่อนแอ เพราะต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และอุปสงค์ที่ลดลงจากการล็อกดาวน์ในจีน ทั้งนี้ อัตราการกลั่นลดลงเหลือ 74% จาก 85% ใน 1Q22 สืบเนื่องจากการปิดซ่อมบำรุง
  • EBITDA ธุรกิจปิโตรเคมีลดลงเหลือ 4.6 พันล้านบาท (-9%YoY, -27%QoQ) จากส่วนต่างราคาฟีนอลและ BPA ที่อ่อนแอ เป็นผลจากอุปสงค์ที่ลดลงจากการที่จีนล็อกดาวน์
  • EBITDA ธุรกิจอะโรเมติกส์อยู่ที่ 673 ล้านบาท ฟื้นตัวจากขาดทุน QoQ หลังจากส่วนต่างราคา PX และ BZ ปรับเพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากสภาวะอุปทานตึงตัว

Revenue breakdown

โอเลฟินส์คิดเป็น 48% ของ EBITDA ทั้งหมดของบริษัท โดยบริษัทมีโรงงานโอเลฟินส์ทั้งหมด 4 แห่ง (2.9 MTA) และมีกำลังการผลิตโพลีเมอร์อยู่ที่ 3.3 MTA

โรงกลั่น (คิดเป็น 3% ของ EBITDA ทั้งหมด) ธุรกิจนี้เกี่ยวข้องกับการกลั่นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและการจำหน่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โรงกลั่นของบริษัทมีกำลังการผลิต 145KBD (ไม่รวมเครื่องแยกคอนเดนเสท 135KBD)

บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจส่วนนี้คิดเป็น 12% ของ EBITDA ทั้งหมด

กลุ่มเคมีภัณฑ์สมรรถนะสูงเป็นส่วนประกอบหลักในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมพลาสติกวิศวกรรม ส่วนนี้คิดเป็น 32% ของ EBITDA ทั้งหมด

ส่วนสุดท้าย เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม (คิดเป็น 3% ของ EBITDA ทั้งหมด) เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี

- Advertisement -