KS Daily View 14.03.2023 >>> SET ยังมี Sentiment ลบ Bond yields US ลดลงทั้ง Curve SET คาดแกว่งในกรอบ 1,555 – 1,585 หุ้นแนะนำวันนี้ BEM
สรุปตลาดหุ้นเมื่อวาน
ในประเทศ SET Index เมื่อวานผันผวน ครึ่งเช้าแกว่งขึ้น และถูก Take Profit แรงในช่วงบ่ายปิด 1573.1 จุด (-1.66%) หุ้นที่ปรับลงแรงและกดดัชนีคือ BTS -8.6%, TRUE -4.9%, ADVANC -3.3%, SCB -2.7%, PTT -1.63%, ฯลฯ ส่วนหุ้นที่ปรับขึ้นเด่นคือ กลุ่มค้าปลีก OISHI+23.6%, BJC +3.3%, HMPRO +1.43%, CPN +1.15%ฯลฯ
ต่างประเทศ : ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มแกว่งตัว อิง ดัชนี Dow Jones -0.28%, S&P500 -0.15%, ดัชนี Nasdaq 0.45% โดย Sector ในดัชนี S&P500 กลุ่มที่ Underperform หรือปรับลงมากสุด คือ Financials -3.78%, Energy -1.96%, Materials -1.1% ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ Outperform คือ Real Estate 1.6%, Utilities 1.54% ฯลฯ
ทิศทางตลาดหุ้นในประเทศวันนี้
เราประเมิน SET มีโอกาสถูกดดันต่อ โดย Key สำคัญที่กดดันตลาดหุ้นไทยและหุ้นทั่วโลกยังคงเป็นปัจจัยต่างประเทศ คือ “ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB)” ธนาคารขนาดใหญ่ลำดับ 16 ของสหรัฐที่เกิดภาวะ Bank run ขึ้น โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาทางการสหรัฐได้ประกาศให้ SVB ปิดกิจการ และล่าสุดบริษัทอื่นๆ อาทิ Signature ถูกสั่งปิดเช่นกัน
แม้เฟดจะเข้ามาแก้ปัญหา Bank run ในสหรัฐฯ โดยการตั้งกองทุน Bank Term Funding Program (BTFP) แต่ราคาหุ้นธนาคารขนาดกลางและเล็กของสหรัฐฯ ยังคงร่วงลงต่อได้แก่ First Republic (-62%), Western Alliance (-47%), และ PacWest Bancorp (-21%) เนื่องจากตลาดยังกังวลปัญหา Duration mismatch ของธนาคารเหล่านี้ ทำให้สถานการณ์ไหลออกของเงินฝากคาดว่ายังมีต่อเนื่อง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปีของสหรัฐฯ ปรับตัวลง 57bps. เป็น 4.03% (ลดลงแรงสุดนับแต่ปี 1982) ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีของสหรัฐฯปรับตัวลง 15bps เป็น 3.55%
การที่พันธบัตรระยะสั้นปรับตัวลงแรงสะท้อนความกังวลต่อการลามของปัญหาในระบบการเงินสหรัฐฯยังมีต่อเนื่อง ล่าสุดตลาด Fed funds futures คาดการณ์ดอกเบี้ยเฟดจะทำจุดสูงสุดที่ระดับ 5% +/- ใน 2Q23 และคาดว่าเฟดอาจต้องลดดอกเบี้ย 100bps ใน 2H23 ทั้งนี้ตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 25bps. ในการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค.
หุ้นกลุ่มธนาคารของไทยปรับตัวลงรุนแรงจาก Sentiment ลบดังกล่าว แต่หากมองในปัจจัยพื้นฐาน เรามองว่ากรณี SVB เกิด Bank run ที่ US ตีความมาที่กลุ่มธนาคารไทย ถือว่ามีโอกาสเกิดน้อยมาก เนื่องจาก
1) ธนาคารไทยมีสภาพคล่องค่อนข้างสูง
2) สินเชื่อส่วนใหญ่อยู่ที่ลูกค้ารายใหญ่ที่ทำธุรกิจแบบดั้งเดิม
3) พฤติกรรมการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ไม่ Sensitive กับอัตราดอกเบี้ยเท่าไรนัก
4) สัดส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่ไม่ได้ Mark to market และเงินลงทุนในหุ้นและหุ้นกู้ต่างประเทศค่อนข้างน้อย เทียบกับ ขนาดสินทรัพย์
สัดส่วนทางการเงินที่สำคัญของ ธนาคารพาณิชย์ ที่เราดูคือ Liquidity Coverage Ratio ที่บอกสภาพคล่องของธนาคารเทียบกับคาดการณ์กระแสเงินไหลออกในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยมีเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 100% ณ ไตรมาส 2/2565 ธนาคารไทยมี LCR เฉลี่ยค่อนข้างสูง 180% โดยแต่ละธนาคารที่มี LCR ต่ำสุดคือ BAY (130%) และ KKP (139%) ส่วนธนาคารใหญ่อื่นๆมี LCR ค่อนข้างสูง BBL (292%) SCB (210%) TTB (195%) และ KTB (188%)
ธนาคารที่มี LCR ต่ำอย่าง KKP และ BAY ถ้าจำเป็นจริงๆต้องนำเงินลงทุนออกมาขายก็ถือว่ามีสัดส่วน เงินลงทุนที่บันทึกบัญชีแบบ Amortized cost ไม่เยอะมาก 0-1% ของสินทรัพย์รวมเท่านั้น
นอกจากนี้ สัดส่วนเงินลงทุนที่บันทึกเป็น Amortized cost ของธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ในระดับที่ไม่มากนักเทียบกับสินทรัพย์รวม 0 – 6% เป็นส่วนใหญ่
ในขณะที่เงินลงทุนอื่นมีการ Mark to market ทุกไตรมาส และสะท้อนในฐานเงินกองทุนของธนาคารที่อยู่ระดับสูงไปแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะเกิด Loss จากการขายสินทรัพย์ทางการเงินเหล่านี้แล้วกระทบเงินกองทุนของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญจึงน้อย
ส่วนผลกระทบทางอ้อม เรามองว่าอาจจะมีเล็กน้อยในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไทยจะต้อง Mark to market loss จากเงินลงทุนในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนเงินลงทุนในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ไทยถือว่าค่อนข้างน้อยเช่นกัน 0-5% ของสินทรัพย์รวมเท่านั้น
สุดท้าย เรามองว่าพฤติกรรมการฝากเงินออมทรัพย์ของไทย ไม่ได้ Sensitive กับอัตราดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนมากนัก สังเกตได้จาก BBL ที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์เป็น 0.5% อยู่เพียงรายเดียวในปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้มียอดเงินฝากที่เติบโตขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมลูกค้าเงินฝากออมทรัพย์จะใช้เพื่อการใช้จ่าย มากกว่าการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดการ Switching ไปจากบัญชีออมทรัพย์ เพื่อลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลน่าจะมีน้อย
โดยรวม เรามองว่ากลุ่มธนาคารไทยยังมีฐานะแข็งแกร่ง และความเสี่ยงต่ำต่อกรณี Bank Run แบบใน US แต่ผลกระทบต่อราคาหุ้นน่าจะมีในเชิงจิตวิทยาการลงทุนที่ไม่ดีมากกว่า หุ้น Top pick ในกลุ่มคือ KTB TTB
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1,555 – 1,585 จุด หุ้นแนะนำ BEM
Top pick : BEM (ราคาพื้นฐาน 11.0 บาท)
1.) เรามองเป็นหุ้น Defensive ในช่วงที่ตลาดผันผวน
2.) คาดกำไรปกติปี 2023 จะเติบโต 22% YoY จาก
2.1) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
2.2) จำนวน นทท. ขาเข้าที่เพิ่มขึ้น
2.3) feeder จากรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลือง
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันอังคาร ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาดเพิ่มขึ้น +0.4% MoM และ +6.0% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.4% MoM และ +5.5% YoY และรายงานภาวะตลาดน้ำมันประจำเดือน มี.ค. ของ OPEC
- วันพุธ ติดตาม ตัวเลข Industrial production ของจีนใน 2M23 คาด +2.6% YoY ตัวเลข Retail sales ของจีนใน 2M23 คาด +3.4% YoY ตัวเลข Fixed asset investment ของจีนใน 2M23 คาด +4% YoY ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด -0.3% MoM ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.3% MoM ดัชนี NY Empire Manufacturing Index ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -7.8 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -5.8 จุด) ดัชนี NAHB Housing Market index ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด flat MoM ที่ 42 จุด และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด +7.1% YoY ดุลการค้าของญี่ปุ่น เดือน ก.พ. คาด -Y1,069bn (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -Y3,496bn) ตัวเลข Housing Price Index ของจีนเดือน ก.พ. คาด -0.4% YoY ตัวเลข Building Permit ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.2% MoM เป็น 1.33M ตัวเลข Housing starts ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.5% MoM เป็น 1.31M ตัวเลข Philadelphia Fed Manufacturing Index เดือน มี.ค. คาด -14.5 จุด (ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -24.3 จุด) ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์ คาด 205K (เทียบสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 211K) การประชุมธนาคารกลางยุโรปคาดปรับขึ้นดอกเบี้ย Deposit Facility Rate ขึ้น 50bps. เป็น 3% ประมาณการเศรษฐกิจยุโรปของ ECB และถ้อยแถลงของ ECB Lagarde
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลข Industrial Production ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.4% MoM ตัวเลข Michigan Consumer Sentiment ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด flat MoM ที่ 67 จุด และ Michigan 5Y Inflation expectation ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 2.9% (ทรงตัว MoM)