KS Daily View 06.06.2023 >>> เงินเฟ้อลดลง เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ย คาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,520-1,535/1,555 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BCP, BE8

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้

ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA -0.59%, S&P 500 -0.20%, and NASDAQ -0.09%. โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Consumer services (+0.58%), Utilities (+0.45%), Healthcare (+0.38%) ส่วน Sector ที่ underperform ได้แก่ Industrials (-0.71%), Energy (-0.58%), IT (-0.56%).

ในประเทศ: SET Index 9.8 จุด หรือ +0.64% อยู่ที่ 1,531.20 หุ้นใน SET100 ที่หนุนตลาดคือ PSL (+6.78%), IRPC (+3.64%), GSPC (+3.57%), OSP (+3.45%), BCP (+3.10%) ขณะที่ตัวที่ปรับตัวแย่กว่าตลาดได้แก่ DOHOME (-5.59%), KEX (-3.85%), JMT (-3.53%), JAS (-2.44%), GLOBAL (-2.17%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,520-1,535/1,555 จุด บน sentiment เชิงบวกจากโอกาสที่เศรษฐกิจโลกชะลอแบบ Soft Landing มากกว่า Hard Landing การชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในเดือน มิ.ย. ตามเงินเฟ้อที่ชะลอตัว และการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของจีน ขณะที่ปัจจัยในประเทศจะมีการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพ.ค. คาดว่าจะชะลอตัวลงเป็น 1.55% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงของไทยกลายเป็นบวก เพิ่มโอกาสที่ กนง. จะคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนสิงหาคม มองหุ้นกลุ่ม Global play และ Finance จะ outperform ในสัปดาห์นี้

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 339,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 190,000 ตำแหน่ง ตลาดขานรับตัวเลขการจ้างงานดังกล่าว เนื่องจากบ่งชี้ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 29 ส่วน FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 77.6% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 22.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50%

2.) สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 50.3 ในเดือนพ.ค. จากระดับ 51.9 ในเดือนเม.ย. ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 51.5

3.) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นมาตรวัดสภาพเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 52.8 ในเดือนพ.ค. แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ลดลงจากระดับ 54.1 ในเดือนเม.ย. ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของอังกฤษแตะระดับ 55.2 ในเดือนพ.ค. ลดลงจากตัวเลข 55.9 ในเดือนเม.ย. ส่วนของเยอรมนีแตะระดับ 57.2 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบมากกว่า 1 ปี เพิ่มขึ้นจาก 56.0 ในเดือนเม.ย.

4.) กระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากประมาณ 10 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนพ.ค. ลดลงเหลือ 9 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนก.ค.เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบหลายปี ทั้งนี้ โอเปกพลัสเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของโลก และได้ดำเนินการปรับลดกำลังการผลิตไปแล้ว 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 3.6% ของดีมานด์ทั่วโลก

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

1.) เลือกหุ้นกลุ่ม Global play ที่ก่อนหน้านี้ปรับตัวลงมาเยอะจน valuation เริ่มน่าสนใจคาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของอุปสงค์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ ที่ยังดีอยู่ ผสานกับกลุ่ม Finance และ Quality growth ได้ sentiment บวกจากการชะลอขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และ ธปท.

1.1) PTTGC (ราคาพื้นฐาน 46.70 บาท)
1.2) TOP (ราคาพื้นฐาน 56.20 บาท)
1.3) TIDLOR (ราคาพื้นฐาน 30 บาท)
1.4) SAK (ราคาพื้นฐาน 7.70 บาท)
1.5) BE8 (ราคาพื้นฐาน 69.68 บาท)

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

  • BCP (ราคาพื้นฐาน 39.2 บาท) ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นส่งผลต่อแนวโน้มครึ่งปีหลังจะดีขึ้น HoH จาก GRM ที่สูงขึ้นและได้ประโยชน์จากการซื้อหุ้น ESSO โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ในสหรัฐฯ การกลับมาผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และการซื้อแหล่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติม คำแนะนำซื้อที่ราคา 39.2 คำนวณจาก PBV ที่ -0.5SD เนื่องจาก 1) แนวโน้มอุตสาหกรรมโรงกลั่นที่ดีในระยะยาว 2) กำไรที่ค่อนข้างแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับคู่แข่งในประเทศ 3) โอกาสการปรับเพิ่มตัวคูณมูลค่าหุ้นจาก ROE ที่สูงขึ้นภายหลังการเข้าซื้อกิจการ ESSO (11-12% ซึ่งสูงกว่า WACC) และ 4) upside ที่อาจเกิดขึ้นจากการผนึกกำลังกับ ESSO
  • BE8 (ราคาพื้นฐาน 69.68 บาท) กำไรสุทธิไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 62 ลบ. เพิ่มขึ้น 24% QoQ และ 159% YoY สอดคล้องกับประมาณการของเรา คาดอัตราภาษีที่แท้จริงจะลดลงในครึ่งหลังของปี 2566 เนื่องจากเราคาดว่า Baycom และ X-10 จะได้รับการยกเว้นภาษี BOI ใน 2Q23 และ 3Q23 ตามลำดับ เราคำนวณราคาเป้าหมายที่ 69.68 บาท อิงด้วย PER ล่วงหน้า 12 เดือนที่ 39.9 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) ในปี 2567 จากการคาดการณ์ของเรา หุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ PER ปี 2566 ที่ 34.4 เท่า และปี 2567 ที่ 24.6 เท่า เทียบกับประมาณการการเติบโตของ EPS ในปี 2566-67 ของเราที่ 117% และ 40% ตามลำดับ

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ช่วงเช้าติดตามติดตาม ตัวเลข China Caixin Service PMI เดือน พ.ค. ตลาดคาดที่ 55 จุด (ลดลงเทียบเดือนก่อนหน้าที่ 56.4 จุด) ต่อด้วยตัวเลขการค้า Germany balance of trade ของเดือน เม.ย. ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน โดยตลาดคาดเกินดุลที่ 1.51 หมื่นล้านยูโร (เทียบเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 1.67 หมื่นล้านยูโร) ขณะที่ในช่วงข้ามคืนมีตัว US ISM Service PMI เดือนพ.ค. ที่จะประกาศ โดยตลาดประเมินจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 52.1 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 51.9 จุด)
  • วันอังคารติดตามประชุมธนาคารกลาง RBA ของ Australia ตลาดมองคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.85% ต่อด้วยติดตาม ตัวเลข EU Retail Sales เดือน เม.ย คาด +0.2% MoM (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -1.2% MoM) ในส่วนของประเทศไทยมีกำหนดแถลงตัวเลขเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. โดยคาด Headline CPI ปรับตัวลดลงเหลือ +1.55% YoY จาก +2.67% YoY ในเดือน เม.ย. และ Core CPI คาด +1.57% YoY ลดลงจาก +1.66% YoY ในเดือน เม.ย.
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลข China Balance of trade เดือนพ.ค. คาดเกินดุลที่ 91 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (เทียบเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 90.21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตัวเลข China Export เดือน พ.ค คาด +7%YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +8.5% YoY) ตัวเลข China Import เดือนพ.ค คาด -5%YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -7.9% YoY) และปิดท้ายด้วย ตัวเลข US Balance of trade เดือนเม.ย. คาด ขาดดุล 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -6.42 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขผู้รับสวัสดิการสหรัฐฯ ตลาดมองเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 239k (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 232k)
  • วันศุกร์ ติดตาม China CPI คาด +0.2% YoY (เทียบจาก +0.1% YoY ในเดือนก่อนหน้า) และติดตาม ตัวเลข Consumer Confidence Index ของไทย ที่ตลาดมองทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้วที่ 55 จุด
- Advertisement -