บล.พาย:

MTC – Muangthai Capital PCL

กลับสู่เส้นทางการเติบโตในปี 2024

เราคงคำแนะนำ “ถือ” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 44.00 บาท กำไรสุทธิไตรมาส 3/23 ที่ 1.3 พันล้านบาท (+6.6% YoY, +7.1% QoQ) ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) ที่แข็งแกร่ง เราคาดว่ากำไรสุทธิไตรมาส 4/23 จะอยู่ที่ 1.35 พันล้านบาท (+19% YoY, +5% QoQ) สูงสุดของปี ด้วยแรงหนุนจาก NII ที่สูงขึ้น  ขณะที่ยังคงคาดว่ากำไรสุทธิจะกลับมาโต 21.5% ในปี 2024 เพราะสินเชื่อที่โตต่อเนื่อง และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง หลังจากคาดที่คาดว่ากำไรสุทธิปี 2023 จะหด ตัว 3.7% YoY

การประชุมนักวิเคราะห์

  • MTC มีมุมมองเชิงบวกต่อภาพรวมธุรกิจและค่อนข้างระมัดระวังภายในเวลาเดียวกัน หนุนจากสินเชื่อที่โตอย่างยึดหยุ่น สถานการณ์การก่อตัวของหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่ปรับดีขึ้น และอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (CIR) ที่ลดลง เพราะคุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้น บริษัทยังเน้นการปล่อยสินเชื่อที่มีหลักประกัน (สินเชื่อหลักประกันยานพาหนะและโฉนดที่ดิน) มากกว่าสินเชื่อไร้หลักประกัน (นาโนไฟแนนซ์และสินเชื่อส่วนบุคคล)
  • คุณภาพสินเชื่อค่อย ๆ ปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คุณภาพลูกค้าที่ดีขึ้น และการทวงถามหนี้ที่ดีขึ้น แต่การตัดบัญชี NPL จะยังอยู่ในระดับสูงที่ 1.0 พันล้านบาทในไตรมาส 4/23 (ไตรมาส 3/23: 1 พ้นล้านบาท) ทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญปรับเพิ่มขึ้น ในด้าน NPL ratio ของกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อจักรยานยนต์อยู่ที่ 10.4%
    ในไตรมาส 3/23 ซึ่งใกล้ยอดสูงเดิม ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์ด้านการ ก่อตัวของ NPL ที่ปรับดีขึ้น จึงคาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ และการตัดบัญชี NPL ของ MTC จะลดลงในปี 2024
  • คาด CIR จะทรงตัว QoQ ในไตรมาส 4/23 และอาจลดลงในปี 2024 เมื่อเทียบกับปี 2023 เพราะประสิทธิภาพด้านต้นทุนที่ดีขึ้น MTC คาดว่าสินเชื่อต่อสาขาจะปรับเพิ่มเป็น 20 ล้านบาท/สาขาในปี 2024 จาก 18.8 ล้านบาทในไตรมาส 3/23 โดยบริษัทมีแผนขยายสาขาเพิ่ม 600 แห่งต่อปี
  • แม้คาดว่าต้นทุนดอกเบี้ยจะสูงขึ้นในไตรมาส 4/23 แต่ต้นทุนดอกเบี้ยเฉลี่ยในปี 2023 จะต่ำกว่าคาด MTC คาดต้นทุนดอกเบี้ยเฉลี่ยจะค่อย ๆ ปรับเพิ่มเป็น 4.0%-4.2% ในปี 2024

กำไรกลับมาโตในปี 2024

  • เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิ หลังผลประกอบการไตรมาส 3/23 ออกมาดีกว่าคาด ถึงกระนั้นก็ยังคาดว่ากำไรสุทธิจะลดลง 3.7% ในปี 2023 (จากเดิมที่ -5.5%) เราจึงคาดว่ากำไรสุทธิไตรมาส 4/23 จะโต 19% YoY และ 5% QoQ
  • เราคาดว่ากำไรสุทธิของ MTC จะกลับมาโต 21.5% YoY ในปี 2024 หนุนจาก NII ที่สูงขึ้น และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญ ที่ลดลง

คงคำแนะนำ “ถือ” มูลค่าพื้นฐาน 44.00 บาท

เราปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานเป็น 44.00 บาท (จาก 40.00 บาท) หลังปรับปีเป็นปี 2024 คำนวณด้วยวิธี GGM อิง 2.4x PBV’24E และ 15.7x PE’24E

สรุปผลประกอบการไตรมาส 3/23 และงวด 9 เดือน

  • กำไรสุทธิไตรมาส 3/23 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท (+6.6% YoY, +7.1% QoQ) สูงกว่าคาด 6% หนุนจาก NII ที่สูงขึ้น ทั้งในแง่ YoY และ Q0Q ด้านค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญปรับเพิ่มเป็น 383bps (+50 bps YoY, +12 bps QoQ)
  • สำหรับงวด 9 เดือนพบว่าการตั้งสำรองหนี้ฯ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน ( OPEX) ที่ปรับสูงขึ้นนั้น ส่วนใหญ่ได้รับการชดเชยจาก NII ที่ยืดหยุ่นดี แต่กำไรสุทธิงวด 9 เดือนปรับลดลง 10.3%
  • อัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ลดลง QoQ เป็น 15.5% ในไตรมาส 3/23 (-58 bps YoY, -15 bps QoQ) สอดคล้องคาดการณ์ CIR ลดลง QoQ เป็น 45.2% เพราะ OPEX ที่ปรับดีขึ้น โดยในช่วงไตรมาสมีการขยายสาขา 105 แห่งเป็น 7,365 สาขา
  • สินเชื่อโต 4.4% QoQ ในไตรมาส 3/23 คิดเป็น 15% YTD สำหรับงวด 9 เดือน หนุนจากสินเชื่อทะเบียนรถที่สูงขึ้น
  • NPL โดยรวมลดลงเล็กน้อยจากการตัดบัญชี NPL เพิ่มเติม ขณะที่ NPL ratio ลดลงเป็น 3.2% (ไตรมาส 3/23: 3.4%) อัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ปรับเพิ่ม QoQ เป็น 110.3% สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับเพิ่ม 5.7% QoQ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับชั้น สินเชื่อจากชั้น 3 (NPLs) เพราะการเรียกเก็บหนี้ที่ดีขึ้น
  • อัตราส่วนหนี้สินต่อเงินทุน (D/E ratio) ยังทรงตัวที่ 3.7 เท่า

Revenue breakdown

รายได้บริษัทมาจาก 2 แหล่งดังนี้:

  • รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 95% ของรายได้การดำเนินงานรวมในปี 2022 ปัจจัยสนับสนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิคือการเติบโตของ สินเชื่อและอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM)
  • รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 5% ของรายได้รวมในปี 2022 ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมการทวงถามหนี้และประกัน
- Advertisement -