Dally Focus: ผันผวนตามมาตรการภาษีทรัมป์

2025 SET Target: 1390

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways โดยมีจังหวะบวกได้เล็กน้อยระหว่างวัน ก่อนที่ช่วงบ่ายจะมีแรงขายอย่างหนาแน่น กดดันหุ้นขนาดใหญ่ ทำให้ดัชนีปิดลบ 10.77 จุด ที่ระดับ 1,177.64 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.2 หมื่นลบ. หลุดแนวรับ Low ในเดือน ต.ค. 2020 กลุ่มที่ถ่วงตลาด ได้แก่ ขนส่ง อิเล็กทรอนิกส์ สื่อสาร พลังงาน เป็นต้น สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นอีก 655 ลบ.และ 884 ลบ. ตามลำดับ (แต่ต่างชาติยัง Long Index Futures สุทธิต่อเนื่อง และเร่งตัวขึ้นอีก 9.9 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัวผันผวน โดยระยะสั้นมีโอกาสฟื้นตัว หลังปรับตัวลงแรง 2 วันก่อนหน้า โดยมีแนวต้านบริเวณ 1,187+- จุด หนุนจากบรรยากาศการลงทุนต่างประเทศที่ผ่อนคลายลงบ้าง หลังรมว.พาณิชย์สหรัฐฯ ระบุว่าทรัมป์อาจประนีประนอมการเก็บภาษีสินค้านำเข้าต่อแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งมีผลไปแล้วตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนในคืนนี้ ส่วนภาพรวมตลาดยังคงกังวลกับทิศทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ จากผลของมาตรการภาษี โดย Bond Yield สหรัฐฯ พลิกกลับมาปรับขึ้น ขณะที่ Dollar Index ปรับตัวร่วงแรงหนุนค่าเงินบาทแข็งค่ากลับมาสู่ระดับ 33.68 บาท/ดอลลาร์ หลังอ่อนค่าสูงสุดที่ 34.31 บาท/ดอลลาร์ในช่วงต้นสัปดาห์ ขณะที่ทองคำยังไต่ระดับและน้ำมันดิบยังย่อตัว เรามองว่าความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศจะยังกดดันและสร้างความผันผวนต่อหุ้นในกลุ่ม Global-Related Play ขณะที่กลุ่ม Domestic และ Tourism-Related Play จะยังปรับตัวได้แข็งแรงกว่าตลาด เช่นโรงแรม สายการบิน การแพทย์ ค้าปลีก อาหาร ไฟแนนซ์ เป็นต้น ส่วนภาพระยะกลาง-ยาว เรา ยังมองการปรับฐานแรงของ SET Index ยังเป็นโอกาสในการการทยอยเข้าลงทุน จาก Valuation ที่ไม่แพง โดยปัจจุบันเทรด PER ราว 12.5 เท่า และ Earnings Yield Gap 5.8% สูงสุดนับตั้งแต่ช่วงโควิด

กลยุทธ์ : ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีแนวโน้ม 2025 แข็งแกร่ง และ Valuation ต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดอย่างมีนัยยะ

หุ้นเด่นเดือน มี.ค. : BA, BTG, CPALL, MTC, PR9

FSSIA Portfolio: BA, BBL, BTG, CPALL, MTC, NSL, PR9, SEAFCO, SHR

หุ้นเด่น Finansia 5 มี.ค. 25 : ICHI

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 16 บาท
  • เบื้องต้นเราคาดผลการดำเนินงาน 1Q25 มีโอกาสเร่งตัวขึ้นตามการผลิตเพื่อเตรียมสำหรับขายในไตรมาส 2 (ช่วงฤดูร้อน) รวมถึงคาดลูกค้าเดิมกลับมา และอาจได้ลูกค้าใหม่เพิ่ม 1 รายช่วยหนุนอัตราการใช้กำลังการผลิต
  • แม้ภาพรวมการเติบโตในปี 2025 จะไม่สูงมาก เราคาดกำไร +3 y-y แต่ด้วยราคาหุ้นปรับตัวยลงแรง 23% ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันเทรด PE ไม่แพงเพียง 12 เท่า ขณะที่ปันผลงวด 2H24 อยู่ที่ 0.5 บาทคิดเป็น Yield 4% และปี 2025 คาด Yield 8-9%
  • แนวรับ 12 บาท แนวต้าน 13//14 บาท 

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนต่างชาติไหลออกจากภูมิภาคสุทธิหนาแน่นต่อเนื่องอีก US$1,442 ล้าน โดยยังกระจุกที่ไต้หวัน US$1,336 ล้าน รองลงมาคือเกาหลีใต้ US$99 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินผสมผสาน ไหลออกสูงสุดที่ไทย US$26 ล้าน แต่ไหลเข้าอินโดนีเซีย US$36 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่ายังผสมผสาน และอาจพลิกมาไหลเข้าได้บ้าง โดยมีประเด็นผ่อนคลายลงบ้างหลังรมว.พาณิชย์สหรัฐ ฯระบุว่าทรัมป์อาจประนีประนอมต่อการเก็บภาษีแคนาดา เม็กซิโกคืนนี้

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) TFG ตังเป้ารายได้รวมปี 2025 +10-15% มาจากธุรกิจ retail shop +50% ธุรกิจหมูปริมาณ +25%, ธุรกิจไก่ ปริมาณ +5% ขณะที่ฝั่งราคาเนื้อสัตว์ยังสดใส เราอาจปรับเพิ่มสมมติฐานราคาเนื้อสัตว์ เบื้องต้นเราเห็น upside ต่อประมาณการกำไรปีนี้ จากแนวโน้มราคาเนื้อสัตว์ที่แข็งแกร่ง และต้นทุนที่ถูกลง เราค่อนข้างชอบ story และการเติบโตในปีนี้ของ TFG ราคาเป้าหมายปัจจุบันที่ 4.1 บาท บน target PE 8.5 เท่า ผบห.อยู่ระหว่างพิจารณาลดสัดส่วนการนำหุ้นเป็นหลักประกันบัญชีมาร์จิ้น เราอาจพิจารณาปรับ target PE เพิ่มขึ้นต่อไป แนะนำ “ซื้อ”

(+) NEO ตั้งเป้ารายได้รวมปี 2025 +10% ตลาดเวียดนามฟื้นตัวแรง ล่าสุด 2MTD รายได้เวียดนามสามารถฟื้นกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนที่มีปัญหา distributor แล้ว ปัจจุบันเราคาดกำไร ปี 2025-3.8% y-y แม้ 1Q25 เผชิญต้นทุนวัตถุดิบและค่าเสื่อมราคาสูงขึ้น แต่ราคาหุ้นได้สะท้อนไปแล้ว และมอง 1Q อาจเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้ คงราคาเป้าหมาย 49.50 บาท ยังแนะนำ

(+) MOSHI ผู้บริหารยังคงเป้าการเติบโตของรายได้ปี 2025 ที่ 15-20% y-y หนุนจากการเปิดสาขาเพิ่ม 40 สาขา รวมเป็น 208 สาขา และคาด SSSG +3.5% y-y รวมถึงการออกสินค้าใหม่แนวโน้ม SSSG ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2024 เป็นบวก 7-8% y-Y ถือว่าอยู่ในระดับที่สูง และดีกว่าที่เราคาดเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 3.5% คาดกำไรสุทธิ 1Q24 น่าจะเติบโต y-y แต่ q-q ลดลงตามฤดูกาล คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 +12% Y-Y ราคาเป้าหมาย 50 บาท ยังแน่ะนำ “ซื้อ”

(0) CKP แนวโน้มกำไรปี 2025 จะผันผวนตาม FX จากหนี้สกุลเงินต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และจะได้ผลบวกจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ปรับลงจะทำให้ทั้งปีมีกำไรเพิ่มขึ้น ขณะที่ปีนี้ยังไม่มีกำลังผลิตใหม่เพิ่ม คงคาดกำไรสุทธิปี 2025 +12% y-y ราคาเป้าหมาย 3.40 บาท เชื่อราคาหุ้นที่ปรับลงในช่วงเดือนที่ผ่านมาได้สะท้อนการเข้าสู่ช่วง Low season ใน 1H25 มากแล้ว แต่เทรนด์ค่า Ft ที่มีแนวโน้มปรับลงอาจยังกดดันราคาหุ้นระยะสั้นอยู่ ราคาหุ้นยังต่ำกว่า NAV ยังแนะนำ “ซื้อ”

(0) TVO บริษัทตั้งเป้าปริมาณขายปี 2025 ไม่น้อยกว่าปี 2024 และคาดราคาถั่วเหลืองทรงตัว ถึงปรับลง y-y และมีแผนเ่ริม Operate สายการผลิตใหม่ใน 3Q25 ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 27% ประเด็นที่ต้องติดตามคือ US Tariff หากจีนมีการปรับขินภาษีนำเข้าถัวเหลืองจาก US อาจส่งผลให้ราคาถั่วหลือง CBOT ปรับลดลง และหากจีนหันไปซื่อถั่วเหลืองจากบราซิลแทนมากขึ้นจะทำให้ premium ของบราซิลสูงขึ้น กระทบต่อต้นทุน TVO เพราะปกตินำเข้าจากบราซิลราว 95% ของถั่วที่ใช้ทั้งหมด

(0) GLOBAL ตั้งเป้าในการขยายสาขาในไทยที่ 9 สาขา จบปี 2025 บริษัทคาดว่าจะจบที่ 99 สาขา เราคาด 97 สาขา และ CAPEX ที่ 2.5 พันลบ. โดยคาดว่ายอดขายรวมโต 3-5%, GPM ที่ระดับ 26% และ SG&A ใกล้เคียงกับปี 2024 ที่ 19% แนวโน้ม SSSG QTD ยังติดลบระดับ 7-8% เรายังแนะนำ ถือ จากแนวโน้ม SSSG ที่ฟื้นช้า โดยคาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิจะกลับมาฟื้นในช่วง 2H25

(-) SJWD เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2025-26 ลง 18% และ 22% เป็น 923 ลบ. ในปี 2025 และ 1.1 พันลบ. ในปี 2026 จากโดยเราปรับคาดการณ์รายได้และอัตรากำไรขั้นตันลงจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด และปรับลดราคาเป้าหมายเป็น 14 บาท อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่า น่าจะเห็นการฟื้นตัวของธุรกิจหลักบริษัมาตั้งแต่ 2H24 ต่อเนื่องไปในปี 2025 โดยบริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 2025 เติบโต 10-15% Y-Y เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ”

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 670.25 จุด หรือ -1.55%, ปิดที่ 42,520.99 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงสู่เขตปรับฐาน (Correction Territory) ในระหว่างวัน เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน เม็กซิโก และแคนาดา

(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 670.25 จุด หรือ -1.55%, ปิดที่ 42,520.99 จุด ขณะที่ดัชนี Nasdaq ดิ่งลงสู่เขตปรับฐาน (Correction Territory) ในระหว่างวันเนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน เม็กซิโก และแคนาดา

(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดปรับตัวลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับผลกระทบจากการเทขายหุ้นทั่วโลก หลังจากสหรัฐฯ บังคับใช้ภาษีนำเข้าสินค้าจากแคนาดา เม็กซิโก และจีน ทำให้นักลงทุนกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และความเป็นไปได้ที่ยุโรปจะถูกเก็บภาษีนำเข้าด้วยเช่นกัน

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวกเป็นส่วนใหญ่ สวนทางทิศทางตลาดสหรัฐฯ รอผลการประชุมสองสภาของประเทศจีน

(+) ค่าเงินบาท แข็งค่าอยู่ที่บริเวณ 33.68 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือ -0.92%

(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 11 เซนต์ หรือ 0.16% ปิดที่ 68.26 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯประกาศเดินหน้าเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน เม็กซิโก และแคนาดา ซึ่งล่าสุดจีนและแคนาดาออกมาตรการตอบโต้แล้ว นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากการที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ประกาศเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันในเดือนเม.ย.ตามกำหนดเดิมในขณะที่เช้านี้ลดลงอยู่ที่ระดับ 67.83 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.63%

(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 19.50 ดอลลาร์ หรือ 0.67% ปิดที่ 2,920.60 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนยังคงเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางสงครามการค้าที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ ในขณะที่เช้านี้ลดลงอยู่ที่ระดับ 2,918.10 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ -0.09%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 901.80/ 0.10%

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

5 มี.ค.ไทย: เงินเฟ้อ (ก.พ.)

สหรัฐ: ISM Services PMI (ก.พ.)

จีน: National People’s Congress

6 มี.ค.ยุโรป: ECB Interest rate Decision
7 มี.ค.จีน: ส่งออก

สหรัฐ: Non-Farm Payrolls (ก.พ.)

9 มี.ค.จีน: เงินเฟ้อ (ก.พ.), National People’s Congress
12 มี.ค.สหรัฐ: เงินเฟ้อ (ก.พ.)

 

 

 

- Advertisement -