Daily Focus: ไฮไลท์สัปดาห์นี้อยู่ที่การประชุม FED
2025 SET Target: 1180
ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวบวกได้ค่อนข้างดีในช่วงเช้า ก่อนที่จะทยอยซึ่มตัวลงในช่วงบ่ายและปิดบวกเล็กน้อย 1.72 จุด ที่ระดับ 1,198.98 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 4.6 หมื่นลบ. ยังคงได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของ DELTA สถาบันในประเทศซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 1.4 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาขายสุทธิในปริมาณใกล้เคียงกัน (และพลิกมา Short Index Futures สุทธิ 1.15 หมื่นสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่งตัว Sideways to Sideways Up โดยอยู่ระหว่างทดสอบกรอบแนวต้านโซน 1,200-1,210 จุด โดยคาดได้แรงหนุนชดเชยช่วงปิดทำการ หลังตัวเลขการจ้างงานนอกภาตเกษตรเดือน เม.ย. สหรัฐฯออกมาสูงกว่าคาด เพิ่มขึ้น 1.77 แสนตำแหน่ง (ตลาดคาด 1.3 แสนตำแหน่ง และชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.85 แสนตำแหน่งเพียงเล็กน้อย) อย่างไรก็ตามเราประเมิน Upside ระยะสั้นจะจำกัดมากขึ้นและชะลอความ ร้อนแรงลงหลังจากฟื้นตัวขึ้นแข็งแกร่งในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่โฟกัสหลักที่ตลาดรอ จับตาสัปดาห์นี้อยู่ที่การประชุม FED ซึ่งตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ยที่ 4.25-4.50% ค่อนข้างแน่แต่ต้องติดตามว่าจะมีการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในอนาคตหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มปรับความคาดหวังการลดดอกเบี้ยจากเดิมที่คาดเดือน มิ.ย. ออกไปเป็นเดือน ก.ค. หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯระยะหลังยังอยู่แข็งแรงกว่าคาด ด้านปัจจัยในประเทศสัปดาห์นี้ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย. รวมถึงการประกาศกำไร 1Q25 บจ.ที่จะทยอยหนาแน่นขึ้น ว่าจะต่ำกว่าคาด และนำไปสู่การปรับลดประมาณการ EPS ของตลาดลงเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่ทยอยอ่อนตัวลงอยู่ราว 90.6 บาท มากน้อยเพียงใด ยังคงเน้นเลือกลงทุนในหุ้นที่คาดกำไร 1Q25 แข็งแกร่งและมีแนวโน้มดีต่อใน 2Q25-2H25
กลยุทธ์ : ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 1Q25-2025 แข็งแกร่งและกระทบจำกัดจากภาษีการค้าสหรัฐฯและเศรษฐกิจชะลอตัว
หุ้นเด่นเดือน พ.ค. : CPALL, MTC, NSL, OSP, PR9
FSSIA Portfolio: BA, BTG, CPALL, KBANK, MTC, NSL, PR9, STECON
หุ้นเด่น Finansia 6 พ.ค. 25 : CPN
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 83 บาท
- ประกาศกำไร 1Q25 ที่ 4.2 พันลบ. ใกล้เคียงคาด ทรงถึงเติบโตได้เล็กน้อยทั้ง q-q และ y-y แม้มีแรงกดดันจากธุรกิจอสังหาฯที่อยู่อาศัยที่มีรายได้ลดลง 50% y-y เนื่องจากไม่มีโครงการโอนใหม่ แต่ธุรกิจห้างสรรพสินค้าให้เช่ายังแข็งแกร่งและควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดี
- เราคาดโมเมนตัมกำไรจะทยอยดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี จากการโอนโครงการคอนโดใหม่ที่นครสวรรค์ เราคาดกำไรปี 2025 ที่ 1.8 หมื่นลบ. +6% y-y ราคาหุ้นเทรด PER ต่ำเพียง 12 เท่าและให้ปันผลราว 4.5-4.8% ต่อปี
- แนวรับ 49//47 บาท แนวต้าน 51-52 บาท
Fund Flow : ช่วงวันศุกร์และจันทร์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคสุทธิหนาแน่น US$1,942 ล้าน โดยกระจุกตัวที่ไต้หวัน US$2,024 ล้าน แต่ไหลออกจากเกาหลีใต้ US$65 ล้าน ขณะที่ฝั่งอาเซียนเม็ดเงินผสมผสาน ไหลเข้าอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ประเทศละ US$10-13 ล้าน แต่ไหลออกจากไทย US$41 ล้าน ภาพรวมตลาดได้ปัจจัยหนุนจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯที่สูงกว่าคาด แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่าจะทรงตัวโดยรอติดตามการประชุม FED สัปดาห์นี้
ประเด็นสำคัญวันนี้
(+) SISB คาดกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 236 ลบ. -4% q-q แต่ +12% y-y เนื่องจากจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น 332 คนจากสิ้นไตรมาส 1Q24 และอัตราค่าเทอมต่ำกว่าปัจจุบัน อัตรากำไรขั้นตันและค่าใช้จ่ายในการบริหาร คาดจะใกล้เคียง 4Q24 เนื่องจากต้นทุนบุคคลากรได้เพิ่มขึ้นไปแล้วก่อนหน้านี้ คงจำนวนนักเรียนสิ้นปีนี้ 5,000 คน และคาดกำไรปี 2025 +12.4% y-y ราคาเป้าหมาย 39 บาท ราคาหุ้นปัจจุบันเท่ากับสมัยเมื่อมีโรงเรียน 4 แห่ง Valuations ถูกเกินไป คงคำแนะนำ “ซื้อ”
(-) RBF คาดกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 111 ลบ. -15% q-q, -36% y-y ต่ำกว่าที่เคยคาดก่อนหน้านี้ จากผลกระทบของ trade war ส่งให้ลูกค้าทั้งไทยและเวียนนามกังวล เมื่อมีการสั่งซื้อวัตถุดิบโดยเราคาดรายได้รวมลดลง 4.6% q-q และ 9% y-y และคาดอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง แต่อัตราภาษีจะปรับเพิ่มขึ้น แนวโน้มรายได้ที่ยังไม่แน่นอนจากภาษีตอบโต้สหรัฐ เราจึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 ลง 12.5% เป็น 534 ลบ. +4% y-y ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 4.80 บาท และปรับลดคำแนะนำเป็น “ถือ”
(0) JPARK คาดกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 24 พันลบ. +8% q-q, -2% y-y ไม่ตื่นเต้น แต่ยังมั่นคงคาดรายได้รวมเพิ่มขึ้นจากปริมาณการจอดรถโครงการพระนั่งเกล้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นคาดอยู่ที่ 28.7% ลดลงจาก 29.2% ใน 4Q24 แต่เพิ่มขึ้นจาก 27.7% ใน 1Q24 หากกำไร 1Q25 ตามคาด จะคิดเป็น 26% ของประมาณการกำไรปกติทั้งปี 2025 +8% y-y หลักๆมาจากโครงการที่จอดรถพระนั่งเกล้า คงราคาเป้าหมาย 6.80 บาท ยังแนะนำ “ถือ”
(0) SC คาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ 115 ลบ. -52% q-q, -37% y-y ต่ำสุดในรอบ 8 ไตรมาส แม้ทิศทางอัตรากำไรขั้นต้นฟื้นตัวสู่ระดับปกติ 31% จากการปรับกลยุทธ์โดยลดทำโปรโมชั่น แต่ชดเชยกับยอดโอน -57% q-q, -37% y-y เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2025 ลง 16%เป็น 1.4 พันลบ. +11% y-y สะท้อนยอดโอนที่ต่ำกว่าคาด แนวโน้มกำไร 2025 ทยอยฟื้น q-q แต่หดตัว y-y ปรับลดราคาเป้าหมายเป็น 2.40 บาท คงคำแนะนำ “ถือ”
(0) ASW คาดกำไรปกติ 1Q25 ที่ 105 ลบ. -33% q-q, -59% y-y จากยอดโอนที่อ่อนแอ – 31% q-q, -15% y-y บวกกับอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงจากการแข่งขันสูงและโอนแนวราบเพิ่ม เราปรับลดประมาณการกำไรปกติปี 2025 ลง 22% เป็น 840 ลบ. -40% y-y สะท้อนอัตรากำไรขั้นตันที่ลดลง แนวโน้มกำไร 2025 ทยอยฟื้น q-q แต่หดตัว y-y ปรับลดราคาเป้าหมายเป็น 6.6 บาท ยังแนะนำเพียง “ถือ”
(-) ตลาดดาวโจนส์ ลดลง 98.60 จุด หรือ -0.24%, ปิดที่ 41,218.83 จุด ในวันจันทร์ (5 พ.ค.) ขณะที่นักลงทุนประเมินมาตรการภาษีศุลกากรครั้งล่าสุดของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ รวมทั้งจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้
(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกในวันจันทร์ (5 พ.ค.) ขณะที่นักลงทุนมุ่งความสนใจไปที่สถานการณ์ด้านสงครามการค้าและการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้
(0) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวกสลับลบ รอความคืบหน้าด้านมาตรการภาษีระหว่างประเทศแถบเอเชียและสหรัฐฯ
(+) ค่าเงินบาท แข็งค่าอยู่ที่บริเวณ 32.89 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือ -0.60%
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 1.16 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 57.13 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดลบในวันจันทร์ (5 พ.ค.) หลังจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออก น้ำมันและชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ประกาศเพิ่มการผลิตน้ำมัน ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อุปสงค์น้ำมันอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอน ในขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.19 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ 0.11%
(+) ราคาทองคำ COMEX เพิ่มขึ้น 79 ดอลลาร์ หรือ 2.44% ปิดที่ 3,322.30 ดอลลาร์/ออนซ์ ปิดพุ่งขึ้นในวันจันทร์ (5 พ.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ขณะที่นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในสัปดาห์นี้ ในขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 3,342.40 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 0.61%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 939.39/ -0.64%
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
7 พ.ค. | สหรัฐ: ประชุม Fed ไทย: เงินเฟ้อ (เม.ย.) |
8 พ.ค. | อังกฤษ: ประชุม BoE |
9 พ.ค. | จีน: ส่งออก (เม.ย.), ยอดขายรถยนต์ (เม.ย.), New Yuan Loans (เม.ย.) สหรัฐ: Fed Speech |
10 พ.ค. | จีน: เงินเฟ้อ (เม.ย.) |