Phillip Breaking News
กระทรวงพาณิชย์เผยเงินเฟ้อไทยเดือนเม.ย.68 โดย
Headline CPI หดตัว 0.22% y-y ต่ำกว่าตลาดคาดที่หดตัว 0.10% y-y และพลิกจากการขยายตัว 0.84% y-y ในเดือนมี.ค.68 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ แก๊ซโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน และค่ากระแสไฟฟ้า ประกอบกับการลดลงของราคาผักสด ในขณะที่สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มฯราคายังคงสูงขึ้น ขณะที่ Core CPI ขยายตัว 0.98% y-y สูงกว่าตลาดคาดและเดือนมี.ค.68 ที่ 0.90% y-y และ 0.86% y-y ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline) เดือนพ.ค.68 คาดว่าจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับเดือนเม.ย.68 และมีแนวโน้มลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกที่ต่ำกว่าปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ภาครัฐมีแนวโน้มดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพ (โดยเฉพาะการปรับลดค่าไฟฟ้างวดเดือนพ.ค.-ส.ค.68) ฐานราคาผักสดในปีก่อนหน้าที่อยู่ระดับสูง และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาสินค้าเกษตรบางชนิดและเครื่องประกอบอาหารที่มีแนวโน้มสูงกว่าปีก่อนหน้า (อาทิ มะพร้าว สุกร)
ที่มา : TPSCO, Bloomberg (6 พ.ค. 68)
Strategist Comment
ทางฝ่ายมีมุมมองเป็นกลางถึงเชิงบวกต่อตัวเลขข้างต้น หลัง Headline CPI ที่ปรับตัวลง โดยหลักมาจากกลุ่มอาหารและพลังงาน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดแรงกดดันต่อภาระค่าครองชีพของผู้บริโภค และหากพิจารณาจาก Core CPI ที่ขยายตัวเร่งตัวขึ้นมีแนวโน้มเป็นสัญญาณที่บ่งชี้กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ดีขึ้น นอกจากนี้ Headline CPI ที่พลิกมาหดตัวและมีแนวโน้มลดลงต่อในเดือนพ.ค.68 ยังเป็นปัจจัยที่กระตุ้นความคาดหวังของตลาดและนักลงทุนว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเดินหน้าผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายมอง SET Index มีแนวโน้มตอบรับปัจจัยข้างต้นอย่างจำกัด เนื่องจากนักลงทุนยังรอติดตามพัฒนาการของการเจรจาทางการค้าของประเทศต่างๆกับสหรัฐฯ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับจีน
Strategist Pick
1) กลุ่มปศุสัตว์ (ตามราคาสุกรที่มีแนวโน้มสูงขึ้น): BTG, CPF, GFPT, TFG
2) กลุ่ม Anti-commodity (ตามราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวลง): TASCO, TOA
3) กลุ่มการเงินและหนี้สูง (ตาม Sentiment ของตลาดที่มีความคาดหวังว่ากนง.จะลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง): BEM, BTS, KTC, MTC, TRUE
4) กลุ่มค้าปลีก (ตามภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มลดลง): BJC, CPALL, TNP