บล.กรุงศรีฯ:

KSS Strategist Comment : China Strategy : China’s Structural Awakening: The Next Wave of Investable Megatrends

2Q25: จังหวะการเร่งนโยบายเชิงรับ – “Recalibrated Policy Push”

รัฐบาลจีนเร่งการออกพันธบัตรเพื่อระดมเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ พร้อมดำเนินมาตรการสนับสนุนการบริโภคในวงกว้าง เช่น การเพิ่มเงินอุดหนุนสินค้าอุปโภคบริโภคและการคืนเงินประกันสังคมให้ผู้ส่งออก โดยธนาคารกลางจีน (PBoC) ส่งสัญญาณการผ่อนคลายเชิงเทคนิคผ่านการลด RRR, ดอกเบี้ยนโยบาย และดอกเบี้ยเครื่องมือโครงสร้างเฉพาะจุด

การผ่อนคลายเหล่านี้มีเป้าหมาย “ซื้อเวลา” และลดแรงเสียดทานทางการเงิน เพื่อรองรับความเปราะบางในภาคอสังหาริมทรัพย์ การบริโภค และความเสี่ยงเชิงโครงสร้างอื่น ๆ รวมถึงการเปิดตัวเงินอุดหนุนเพื่อกระตุ้นอัตราการเกิด ซึ่งถือเป็นการลงทุนในเสถียรภาพประชากรระยะยาว

2H25: เตรียมเปิด “แพ็กเกจการคลังเสริม” มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านหยวน

แพ็กเกจนี้เน้นการเพิ่มโควตาเงินอุดหนุนเพื่อเร่งการบริโภคภาคบริการ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะในกลุ่มที่สามารถขับเคลื่อน Productivity และนวัตกรรมในระดับชาติ ขณะเดียวกันรัฐบาลอาจเริ่มมาตรการเด็ดขาด เช่น การเข้าซื้อสต็อกที่อยู่อาศัย เพื่อสร้างฐานราคาและดูดซับอุปทานส่วนเกิน

ความเสี่ยง : ความไม่แน่นอนด้านภาษีนำเข้า: ความเสี่ยงด้านนโยบายภายนอก ความไม่แน่นอนจากภาษีศุลกากรสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับสูงผิดปกติ ยังคงสร้างความเสี่ยงต่อการส่งออก โดยเฉพาะในกรณีที่ภาษีถูกใช้เป็นเครื่องมือกีดกันจีนเชิงยุทธศาสตร์ อย่างไรก็ตาม จีนเริ่มปรับตัวผ่านการกระจายตลาดส่งออกและการลงทุนในอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ยืดหยุ่นต่อแรงกดดันภายนอก

AI: จีนกำลังเดินเกมในแนวทางที่ต่างจากโลกตะวันตก

จีนไม่จำเป็นต้องสร้าง AI ที่แรงที่สุดในเชิงฮาร์ดแวร์ แต่กำลังนิยามใหม่ว่า “AI ที่ได้ผลทางเศรษฐกิจ” ต้องมีลักษณะอย่างไร ด้วยโมเดลแบบ DeepSeek R1 และโอเพนซอร์สที่เกิดใหม่ จีนเน้น AI ประสิทธิภาพสูง-ต้นทุนต่ำ (Efficiency-driven AI) ที่สามารถนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ได้เร็ว โดยไม่ต้องพึ่งชิปนำเข้าราคาแพงจากสหรัฐฯ

แม้จะถูกจำกัดการเข้าถึงฮาร์ดแวร์ขั้นสูงจากมาตรการควบคุมของสหรัฐฯ แต่จีนกลับเร่งพัฒนานวัตกรรมแบบภายใน ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลท้องถิ่น ทักษะบุคลากร และกรอบกำกับดูแลที่สนับสนุนการใช้งานจริง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “แนวทางใหม่ในการวัดมูลค่าของ AI” – ไม่ใช่แค่พลังประมวลผล แต่คือ ความสามารถในการแปลง AI เป็นรายได้หรือการลดต้นทุน

DeepSeek R1: จุดเร่งการแข่งขันใน AI Application Layer

การเปิดตัวของ DeepSeek เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของ “AI Price War” ที่อาจบีบให้ ByteDance, Tencent, Alibaba และคู่แข่งอื่น ๆ ต้องลดราคาโมเดลของตน และหันมาผนวก AI เข้ากับกระบวนการธุรกิจอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีฐานข้อมูลในมือ (proprietary data) ซึ่งจะได้เปรียบอย่างมีนัย

การเคลื่อนย้ายมูลค่าไปสู่ “AI Application Layer”

ในช่วงที่การลงทุนด้านฮาร์ดแวร์เริ่มผ่านจุดพีค โอกาสใหม่กำลังก่อรูปในกลุ่ม AI ที่ “สามารถสร้างรายได้จริง” ไม่ว่าจะจากบริการต่อผู้บริโภค, การเพิ่ม productivity, หรือ AI-as-a-service บริษัทที่มีความได้เปรียบด้านข้อมูลและสามารถสร้างบริการแบบ real-time tokens per second จะเป็นผู้นำในยุคใหม่ 

การเลือกดัชนีเพื่อลงทุน เชิงกลยุทธ์เพื่อชี้เป้าหุ้นที่กำลังเป็นผู้นำใน adoption, innovation, investment และ market presence ในจักรวาล AI ของจีน

กลยุทธ์การลงทุน: จีนกำลังใช้ “นโยบายแบบเฉพาะทาง” เพื่อหนุนเศรษฐกิจระยะสั้น พร้อมวางรากฐานเศรษฐกิจใหม่ระยะยาวผ่านเทคโนโลยี แม้ความเสี่ยงเชิงนโยบายภายนอกยังคงอยู่ แต่การเร่งใช้นโยบายใน 2H25 น่าจะทำให้เศรษฐกิจจีน “bottom out” อย่างมั่นคง ขณะที่ กลุ่ม AI ของจีนกำลังเป็น “disrupter แบบค่อยเป็นค่อยไป” เน้นการใช้งานได้จริง แทรกซึมธุรกิจ เน้นสร้างมูลค่าระยะยาว 

ทีมกลยุทธ์ คงมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีนระยะยาว ล่าสุด Shanghai Composite Index ผ่าน 3400จุดได้   มองกรอบถัดไป 3500-3650จุด และเน้นกองที่มีหุ้นกลุ่ม AI มากขึ้น

  • A share : KF-ACHINA-A, KFCSI300-A
  • H share : KF-HSHARE-INDX
  • TCHTECH-A , SCBCTECHA (เป็นกอง Tech จีน ที่ลงทุนใน ETF ชื่อ CQQQ)
  • KFCMEGA-A : ETF ของจีน มีเทคจีนประมาณ 50%
  • MEGA10AICHINA-A(ลงทุน AI จีน 10 บริษัท)

ส่วนการเลือกลงทุนในหุ้นจีน ควรเน้นที่มี exposure ต่อมาตรการกระตุ้นในประเทศ และ AI application layer มากกว่าฮาร์ดแวร์ รวมถึงผู้ได้รับประโยชน์จากการบริโภคในประเทศและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับแรงหนุนจากนโยบายการคลังและ PBoC โดยตรง

  • หุ้นจีนโดยตรงแนะนำ TENCENT, XIAOMI
  • หรือลงทุนผ่านตลาดไทยผ่าน DR หุ้นจีน TENCENT80, XIAOMI80

หุ้นไทยอิง China Play : SCC, IVL, PTTGC

- Advertisement -