KS Daily View 26.05.2025 >>> Bond yield ต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น สหรัฐฯ ขู่ขึ้นภาษี ยุโรป 50% มองกรอบ SET วันนี้ 1,150-1,180 จุด แนะนำ CK, GPSC, CPN, TIDLOR, และ PR9

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้: ในสัปดาห์นี้เรามองว่าตลาดหุ้นไทยจะเผชิญความผันผวน ประเมินกรอบของ SET Index ไว้ที่  1,150-1,180 จุดจากปัจจัยในประเทศเรื่องการโหวต พรบ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2569 จำนวนไม่เกิน 3.780 ล้านล้านบาท ตามที่สำนักงบประมาณเสนอซึ่งจะประกาศใช้ในเดือน ต.ค. โดยจะโหวตวันที่ 28-30 พ.ค. รวมไปถึงตัวเลขส่งออกที่จะรายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ เดือน เม.ย. ตลาดคาดว่าจะเติบโตได้ดีในระดับเลขสองหลัก ในขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ได้รายงานยอดส่งออกช่วง 20 วันแรกของเดือนพ.ค. ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลง 2.4% YoY จากอุปสงค์จากสหรัฐฯที่ลดลงจากการมาตรการภาษี มองว่าหากตัวเลขการส่งออกไทยออกมาต่ำกว่าตลาดคาดการณ์จะส่งบรรยากาศเชิงลบต่อตลาดหุ้นไทย นอกจากนี้ปัจจัยที่ต้องติดตามต่อคือ ค่าเงินบาทที่แข็งมาอยู่ที่ระดับ 32.3-32.5 และภาวะ risk-off ในหลายตลาดเช่น US และ Japan ส่งผลให้ Government Bond yield ระยะยาวดีดตัวขึ้นสูงต่อเนื่องประกอบกับ การเจรจาการค้าสำหรับ reciprocal tariffs ยังคงมีความผันผวนจนกระทั่ง effective date ด้วยภาพตลาดที่เราคาดว่าจะผันผวนจึงแนะนำการลงทุนในหุ้น Defensive และหุ้นมีแนวโน้มผลประกอบการเติบโตต่อเนื่องใน 2Q25 ได้แก่ CK, GPSC, CPN, TIDLOR, และ PR9

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศวันนี้: ตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,176.36 จุด ปรับตัวลดลง 1.62% จากสัปดาห์ที่ผ่านมากดดันโดยการปรับลดลงของกลุ่มโรงพยาบาล ค้าปลีกและอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่วันนี้เราประเมินว่าตลาดมีแนวโน้มแกว่งตัว sideway down อยู่ในกรอบ 1,160–1,190, จุด จากภาพของ Bond yield ในต่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับท่าที่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ มีการขู่จะขึ้นภาษี สหภาพยุโรปในอัตรา 50% ที่ส่งผลลบกับสภาพแวดล้อมการลงทุน

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

  1. ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เปิดเผยว่าเตรียมเสนอการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหภาพยุโรปในอัตรา 50% เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนนี้ หลังจากการเจรจาการค้าระหว่างกันหยุดชะงัก โดยระบุในแพลตฟอร์ม Truth Social ว่าสหภาพยุโรป “คุยด้วยยากมาก” และ “การหารือไม่คืบหน้าเลย” มองเป็น sentiment เชิงลบเล็กน้อยกับกลุ่ม Electronics อย่าง HANA DELTA KCE SVI
  2. กัมพูชาเปิดเผยว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเยือนกัมพูชาช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 มีมากกว่า 380,000 คน เพิ่มขึ้น 49% YoY และพร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ กัมพูชามีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 2.4 ล้านคนในช่วง 4 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 14% YoY มองเป็นบวกกับ SAV
  3. นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยแสดงความเห็นเชิงบวกต่อการที่รัฐบาลโยกงบประมาณ 1.57 แสนล้านบาทจากโครงการเงินดิจิทัล มาลงทุนในโครงการก่อสร้างด้านน้ำและคมนาคม โดยมองว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ไขปัญหาโครงการรัฐที่ออกมาน้อยและมีราคากลางต่ำกว่าต้นทุน ทั้งนี้ การโหวตร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 วงเงินไม่เกิน 3.78 ล้านล้านบาท จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28–30 พฤษภาคม และคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เช่น STECON และ CK.
  4. ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์เปิดเผยว่า ธนาคารกลางอาจพิจารณาลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ภายหลัง Moody’s Ratings ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ จาก Aaa เหลือ Aa1 เนื่องจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูง โดยที่ธนาคารกลางมีพันธบัตรสหรัฐฯในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ รวม 1.05 แสนล้านดอลลาร์ หรือกว่า80% อยู่ในรูปของสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
  5. ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันชุดใหม่ของ บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า (CPAXT) วงเงินไม่เกิน 1.8 หมื่นล้านบาท ที่ระดับ “AA-” แนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยบริษัทจะใช้เงินจากการออกหุ้นกู้เพื่อชำระหนี้เดิม

Daily pick

CK : ราคาพื้นฐาน 21.50 บาท

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ CK มากขึ้นจากผลการประชุมที่ผ่านมาโดยบริษัทมีการปรับเป้าหมายรายได้ในปี 2025 จาก 4 หมื่นล้านขึ้นเป็น 4-5 หมื่นลบ. โดยหลักมาจากงาน M&E ของรถไฟฟ้าสายสีส้ม และแนวโน้มของ GPM ที่คงไว้ราว 7-8% ซึ่งเราคาดกำไรจากการดำเนินงานจะสามารถเติบโตได้ในระดับ 2 หลัก จากการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่ง GPM ที่อยู่ในระดับสูง และการควบคุม cost ได้อย่างดีประกอบกับดอกเบี้ยจ่ายที่เป็นไปตามคาดการณ์ นอกจากนี้เราคาด CK เป็น tactical call สำหรับกลุ่มก่อสร้างในช่วงที่เราคาดการณ์การโหวต พ.ร.บ. งบประมาณปี 2569 ผ่านไปได้ด้วยดีจะเป็น sentiment เชิงบวกให้กับกลุ่มได้ และปัจจุบัน CK มี valuation ในระดับไม่แพงซื้อขายต่ำ 1 เท่า PBV

CPN : ราคาพื้นฐาน 65.00 บาท

เรามีมุมมองเชิงบวกต่อ CPN จาก รายได้ที่ค่อนข้างไม่ผันผวนเนื่องจากเป็นการเก็บค่าเช่า retail space คิดเป็นประมาณ 90% ของรายได้รวมทั้งหมด 4% เป็นรายได้โรงแรมและ 5% เป็นรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของรายได้จากค่าเช่า retail space ยังโตได้อย่างแข็งแกร่ง ใน 1Q25 โตมา 9% YoY จาก Target 2025 ที่ตั้งไว้ 5% มาจากการขึ้นราคาประมาณ 2-3% และการรับรู้รายได้จากศูนย์ นครสวรรค์กับนครปฐมที่เปิดในปีก่อนหน้า นอกจากนี้รายได้ CAM ทำได้ดีเช่น ส่งผลทำให้ GPM ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 60% อีกทั้งในช่วง สิงหาคม 2025 นี้ โครงการใหญ่อย่าง Dusit central park จะเปิดตัวที่มีการขายไป 80-90%  ส่วน office ขายไป 60-70% แล้ว หนุนให้โครงการที่เปิดมามีแนวโน้มจะไม่ขาดทุน ประกอบกับ valuation ในระดับ PER 2025 ที่ 11-12 และมี Dividend yield ประมาณ 4.7%

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

วันวันจันทร์ ติดตามรายงานตัวเลขส่งออกจากกระทรวงพาณิชย์ (TH MOC Export) เดือน เม.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ 12.2% YoY ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 17.8%YoY และตัวเลขนำเข้า (TH MOC Import) ตลาดคาดการณ์ที่ 7.3% YoY ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 10.2%YoY ต่อด้วยแถลงการณ์ของประธานธนาคารกลางยุโรป Christine Lagarde ถึงบทบาทของยุโรปในโลกที่แตกแยกที่โรงเรียนเฮอร์ตี้ในเบอร์ลิน”

วันอังคาร ติดตาม คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ (Durable goods orders) เดือน เม.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ -7.8% MoM ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +9.2%MoM และดัชนีธุรกิจภาคการผลิตของธนาคารกลางรัฐดัลลาส (Dallas Fed Manufacturing Index) เดือน พ.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ -26.1 จุดเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -35.8 จุด

วันพุธ ติดตามผลการประชุม ครม. เรื่องการโหวต พรบ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2569 จำนวนไม่เกิน 3.780 ล้านล้านบาท ต่อด้วยรายงานดัชนีภาคการผลิตของรัฐริชมอนด์ (Richmond Manufacturing Index) เดือน พ.ค. ตลาดคาดการณ์ที่ -10 จุดเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -13 จุด และรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารสหรัฐ (FOMC minute)

วันพฤหัสบดี ติดตามการรายงานครั้งที่สองของ GDP 1Q25 สหรัฐอเมริกา ตลาดคาดที่ -0.3% QoQ ทรงตัวจากครั้งก่อนหน้า ปิดท้ายด้วยจำนวนคนที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดคาดการณ์ที่ 2.30 แสนตำแหน่งเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.27 แสนตำแหน่ง

วันศุกร์ ติดตามดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทย (TH Industrial Production) เดือน เม.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ -3.45% YoY เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -0.66% YoY ต่อด้วย ตัวเลขส่งออก (TH Exports) ของ ธปท. เดือน เม.ย. เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 17.7% YoY และตัวเลขนำเข้า (TH Imports) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 9.4% YoY ปิดท้ายด้วยรายงานดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคลของสหรัฐ (US Core PCE Price Index)เดือน เม.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ 2.5% YoY ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.6% YoY

- Advertisement -