Daily Focus: Sentiment จากสหรัฐฯหนุน แต่ในประเทศไร้ปัจจัย
2025 SET Target: 1180
ตลาดหุ้นวานนี้: SET Index ปรับตัวลงผิดจากที่คาดว่าจะแกว่งตัวออกข้าง ดัชนีปิดลบถึง 15.01 จุด ที่ระดับ 1,163.42 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่สูงขึ้นเป็น 3.5 หมื่นลบ. ถ่วงโดยแรงขายหุ้นขนาดใหญ่อย่างกระจายตัว โดยเฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ขนส่ง วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น สถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นบางๆ อีก 86 ลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเร่งขึ้นเป็น 2.2 พันลบ. (และ Short Index Futures 6.7 พันสัญญา)
แนวโน้มตลาดวันนี้: เราคาด SET Index ฟื้นตัวระยะสั้นเข้าสู่กรอบ 1,165–1,180 จุด หลังวานนี้ยังไม่หลุดแนวรับ 1,160 จุด โดยได้ Sentiment บวกจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นแกร่งจากความคาดหวังเชิงบวกต่อดีลการค้าระหว่างสหรัฐฯ–ยุโรป ขณะที่ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. ปรับตัวขึ้นสูงกว่าคาด อย่างไรก็ตามคาดว่าการฟื้นตัวจะไม่รุนแรงเท่ากับต่างประเทศ โดยปัจจัยภายในยังไร้ประเด็นบวกใหม่ โดยวันนี้จะมีการเริ่มพิจารณางบประมาณปี 69 ในวาระแรก และยังคงเฝ้ารอพัฒนาการข่าวเจรจาการค้าระหว่างไทย–สหรัฐฯ ว่าจะได้คิวเข้าเจรจาเมื่อไร รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วง Low Season ของการท่องเที่ยว ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญยังอยู่ในช่วงท้ายสัปดาห์ ได้แก่ ตัวเลข GDP 1Q25 สหรัฐฯ (2nd Est) และเงินเฟ้อ PCE เดือน เม.ย. เรายังคงประเมินว่าการฟื้นตัวของ SET Index ในระยะสั้นยังคงจำกัด โดยมีแนวต้านหลักระยะสั้นบริเวณ 1,190 จุด ความกังวลหลักยังคงอยู่ที่แนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวใน 2Q25–2H25 จากทั้งฤดูฝนที่มาเร็วและผลกระทบจากภาษีการค้าสหรัฐฯ ซึ่งยังมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการทยอยปรับลดประมาณการ EPS ลงจากปัจจุบันที่ราว 90 บาทได้อยู่ จึงยังเน้นกลยุทธ์เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรแข็งแกร่งและมีประเด็นบวกเฉพาะตัว
กลยุทธ์: ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 2Q25–2025 แข็งแกร่ง โดยเน้นกลุ่มสินค้าและบริการจำเป็นท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและไม่แน่นอน
หุ้นเด่นเดือน พ.ค.: CPALL, MTC, NSL, OSP, PR9
FSSIA Portfolio: BA, CPALL, KBANK, MTC, NSL, OSP, PR9, STECON
หุ้นเด่น Finansia 28 พ.ค. 25 : MTC
- แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 56 บาท
- โมเมนตัมกำไร 2Q25 คาดว่ายังคงแข็งแรงที่สุดในกลุ่ม จากทั้งสินเชื่อที่คาดว่ายังเติบโตได้ โดยตั้งเป้าทั้งปี 2025 โต 10-15% ขณะที่ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังแข็งแรงและจัดการได้ดี ทำให้ Credit cost โดยรวมคาดว่าจะลดลงจากปี 2024 ส่วนความเสี่ยงอยู่ที่ความไม่แน่นอนและชะลอตัวของเศรษฐกิจ
- เรายังคาดกำไรสุทธิปี 2025 ที่ 7.1 พันลบ. +21% y-y ระยะสั้น Bond Yield ทั่วโลกที่ขยับลง รวมถึงไทยที่แนวโน้มดอกเบี้ยคาดยังมีโอกาสปรับลงต่อเนื่องยังคงเป็นปัจจัยหนุนทั้งต้นทุนการเงินและ Sentiment
- แนวรับ 41-40.50 บาท แนวต้าน 43//44.50-45 บาท
Fund Flow: วานนี้กระแสเงินทุนต่างชาติไหลพลิกมาไหลออกจากภูมิภาคสุทธิ US$503 ล้าน นำโดยไต้หวัน US$322 ล้าน และออกจากเกาหลีใต้บางๆ US$57 ล้าน ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินไหลออกทุกประเทศ สูงสุดที่ไทย US$67 ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนคาดว่ามีโอกาสพลิกมาไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตามปริมาณคาดว่าจะไม่สูง โดยมีโอกาสไหลเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ ระยะสั้นมากกว่าหลังจากเทขายก่อนหน้า ขณะที่ Dollar Index แข็งค่าขึ้น
ประเด็นสำคัญวันนี้
(-) ตัวเลขนักท่องเที่ยวสัปดาห์ที่ 21 (19–25 พ.ค. 2025) อยู่ที่ 463,401 คน เฉลี่ย 6.62 หมื่นคน/วัน -0.2% w-w, -22% y-y ลดลง w-w เป็นสัปดาห์ที่ 2 และลดลง y-y เป็นสัปดาห์ที่ 16 หลักๆ ยังคงมาจากนักท่องเที่ยวจีนที่ -50% y-y และ -2% w-w เหลือเฉลี่ย 8.78 พันคน/วัน ส่วนกลุ่ม Non-Chinese ทรงตัว w-w, -15% y-y ยอดนักท่องเที่ยวสะสม YTD คิดเป็น 37.5% ของเป้าทั้งปีของสภาพัฒน์ฯ ที่ 37 ล้านคน กองเศรษฐกิจและกีฬาคาดสัปดาห์หน้านักท่องเที่ยวน่าจะเพิ่มขึ้น หนุนจากวันหยุดต่อเนื่องของมาเลเซีย รวมถึงการกระตุ้นและส่งเสริมภาคท่องเที่ยวของรัฐบาลไทย
(-) กลุ่มยานยนต์ ยอดผลิตรถเดือน เม.ย. 2025 ต่ำที่สุดในรอบ 44 เดือน จากการลดลงอย่างหนักของยอดผลิตรถสันดาปและรถกระบะ ตลาดรถยนต์อ่อนแอ งวด 4M25 ยอดขายรถในประเทศ -5% y-y โดยหลักมาจากการหดตัว 21% ของยอดขายรถกระบะ ขณะที่ยอดส่งออกรถปรับลดลง 15% y-y แนวโน้มอุตสาหกรรมยังท้าทาย ยอดขายในประเทศในปีนี้อาจทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย ขณะที่ยอดขายรถเชิงพาณิชย์คาดว่าจะค่อยๆ ฟื้นตัวในช่วงปลายปีตามการฟื้นตัวของภาคส่งออก ยังคง Underweight กลุ่มยานยนต์ ขณะที่การเติบโตของ EV ยังหนุน SJWD
(+) SEAFCO Backlog ปัจจุบันเร่งขึ้นแตะ 2.7 พันลบ. สูงสุดในรอบ 25 ไตรมาส สัดส่วนหลัก 71% เป็นงานรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเป็นงานขนาดใหญ่และรับเฉพาะค่าแรงที่มาร์จิ้นดี โดยงานหลักจะทยอยรับรู้ตั้งแต่ 2Q25 ถึงกลางปี 2026 และมีแผนการรับแรงงานเพิ่มราว 100 ราย จากปัจจุบันมี 400 ราย เพื่อเพิ่มศักยภาพการรับงานใหม่จากภาครัฐที่คาดมากขึ้นใน 2H25 ทิศทางผลประกอบการคาดพลิกเป็นกำไรตั้งแต่ 2Q25 และเร่งขึ้นต่อใน 3Q25 ผู้บริหารยังมองเป้ารายได้ปีนี้ที่ 2 พันลบ. +57% y-y เป็นไปได้ ขณะที่เราคาดอย่างระมัดระวังกว่าที่ 1.55 พันลบ. คงคาดกำไรปี 2025 ที่ 148 ลบ. เทียบกับปี 2024 ที่ 1 ลบ. คงราคาเป้าหมาย 3 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”
(+) ตลาดดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 740.58 จุด หรือ +1.78%, ปิดที่ 42,343.65 จุด ปิดพุ่งขึ้นกว่า 700 จุด ขานรับข่าวประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเลื่อนการเรียกเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา 50% จากสหภาพยุโรป (EU) นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่สูงกว่าการคาดการณ์
(+) ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก โดยหุ้นกลุ่มกลาโหมหนุนตลาด หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ขู่จะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ขณะที่นักลงทุนยังมีความหวังจากการที่สหรัฐฯ ชะลอการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหภาพยุโรป
(+) ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวก ตามทิศทางตลาดสหรัฐฯ หลังโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศเลื่อนการเรียกเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา 50% จากสหภาพยุโรป (EU)
(-) ค่าเงินบาทอ่อนค่าอยู่ที่บริเวณ 33.77 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.52%
(-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ลดลง 64 เซนต์ หรือ 1.04% ปิดที่ 60.89 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยตลาดถูกกดดันจากความกังวลที่ว่าอุปทานน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น หลังจากเจ้าหน้าที่อิหร่านและสหรัฐฯ มีความคืบหน้าในการเจรจานิวเคลียร์ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังปรับตัวลงจากการคาดการณ์ว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตในการประชุมสัปดาห์นี้ ขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 61.21 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ 0.53%
(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 65.40 ดอลลาร์ หรือ 1.94% ปิดที่ 3,328.30 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ประกาศเลื่อนการเรียกเก็บภาษีศุลกากรในอัตรา 50% จากสหภาพยุโรป (EU) นอกจากนี้ การแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ยังเป็นปัจจัยกดดันราคาทองคำ ขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 3,336.50 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ 0.25%
SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 922.46/-
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
28 พ.ค. | สหรัฐ: FOMC Minutes, ประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ฝรั่งเศส: 1Q25 GDP growth |
29 พ.ค. | ญี่ปุ่น: Consumer Confidence (พ.ค.) สหรัฐ: 2Q25 GDP growth (ประมาณการครั้งที่ 2) |
30 พ.ค. | สหรัฐ: Core PC Price Index (เม.ย.) ยุโรป: เงินเฟ้อ (พ.ค.) |
31 พ.ค. | จีน: NBS Manufacturing PMI (พ.ค) กลุ่มโอเปก: OPEC meeting |