บล.ฟินันเซีย ไซรัส:

KASIKORNBANK (KBANK TB)

2Q25 results at first glance

กำไรสูงกว่าคาด 7% จากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย พร้อมคุณภาพสินทรัพย์ทรงตัวและ Credit cost ที่ 165bp

KBANK รายงานกำไรสุทธิ 2Q25 อยู่ที่ 12.5 พัน ลบ. (-3% y-y, -9% q-q) ดีกว่าที่เราคาด 7% แต่ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาด เราเห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขดีกว่าคาดสำคัญอยู่ที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสุทธิที่อยู่ในระดับสูงจากกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์เป็นราคาตลาดและรายได้เงินปันผล รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งทำให้ได้สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้ที่เพียง 42.8% ใน 2Q25 (เราคาด 44.0%)

คุณภาพสินทรัพย์รวมอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และดีกว่าคาดเล็กน้อย จากสัดส่วนหนี้ด้อยคุณภาพที่ 3.74% (ค่อนข้างทรงตัว q-q ในขณะที่เราคาด 3.8%) ต้นทุนความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ (Credit cost) อยู่ที่ 165bp สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารฯ ที่ 140bp ถึง 160bp อยู่เล็กน้อย และคาดการณ์ของเราที่ 161bp อัตราการก่อตัวของหนี้ด้อยคุณภาพที่เราคำนวณได้สูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 110bp จาก 67bp ในไตรมาสก่อนหน้า เราเชื่อว่าระดับดังกล่าวยังเอื้ออำนวยต่อ KBANK ดังนั้นเราจึงมองว่า Credit cost ที่สูงขึ้นส่วนมากเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มสำรองผลขาดทุนจากสินเชื่อ

กำไรสุทธิ 6M25 คิดเป็น 52% ของประมาณการกำไรทั้งปีของเรา

เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” และเลือก KBANK เป็นหุ้นเด่นที่ราคาเป้าหมาย 186 บาท เนื่องจากเราเชื่อว่า Credit cost มีโอกาสลด y-y เป็น 162bp ในปี 2025 เทียบกับ 189bp ในปี 2024

Highlights

  • (0) การเติบโตของสินเชื่ออยู่ที่ -2.2% y-y, ทรงตัว q-q และ -2.0% YTD จากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจตามแนวโน้มเศรษฐกิจรวมที่ชะลอตัว
  • (-) ส่วนต่างดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.38% ลดลง 10bp q-q ต่ำกว่าที่เราคาด 3.41% ส่วนมากจากผลตอบแทนสินเชื่อที่ลดลง (-13bp q-q) ในขณะที่ต้นทุนเงินฝากลดลง 4bp q-q เป็น 1.25%
  • (+) สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้อยู่ที่ 42.8% ต่ำกว่าที่เราคาดที่ 44.0% อยู่มาก
  • (0) อัตราการก่อตัวของหนี้ด้อยคุณภาพที่เราคำนวณได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 110bp จาก 67bp ในไตรมาสก่อนหน้า เราเชื่อว่าระดับดังกล่าวยังเอื้ออำนวยต่อ KBANK ดังนั้นเราจึงมองว่า Credit cost ที่สูงขึ้นใน 2Q25 ส่วนมากเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มสำรองผลขาดทุนจากสินเชื่อ
  • (+) สัดส่วนสำรองต่อหนี้ด้อยคุณภาพอยู่ที่ 153% ใน 2Q25 สูงที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เราเชื่อว่าตัวเลขที่สูงดังกล่าวอาจเป็นกันชนที่ดีสำหรับความไม่แน่นอนและหนี้ด้อยคุณภาพที่อาจสูงขึ้นในอนาคต
  • ในที่ประชุมนักวิเคราะห์ KBANK คาดว่า Credit cost ในปี 2025 อาจอยู่ที่ 165bp สูงกว่าเป้าหมายของธนาคารฯ ที่ 140-160bp ทั้งนี้ Credit cost ที่สูงขึ้นส่วนมากเป็น Management overlay เพื่อเป็นสำรองสำหรับความไม่แน่นอนในด้านคุณภาพสินทรัพย์

Key takeaways from KBANK’s 2Q25 analyst meeting

  • แม้ว่าผลประกอบการจะดีทั้งใน 1Q25 และ 2Q25 KBANK ไม่ได้มองว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นดัชนีชี้นำที่ดีในการคาดการณ์ผลประกอบการของทั้งปี 2025 เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนในประเด็นต่าง ๆ เช่น สงครามการค้าของทรัมป์ ผลของการเจรจาการค้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ผลประกอบการของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ฯลฯ
  • Kasikorn Research คาดว่าเศรษฐกิจไทยอาจเผชิญสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคใน 4Q25 และตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2025 ที่เพียง 1.4% พร้อมอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ภายในสิ้นเดือน ธ.ค. 25 ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อทิศทางส่วนต่างดอกเบี้ย Credit cost และการเติบโตของสินเชื่อ
  • ดังนั้นเราจึงมองว่าข้อมูลที่ได้จากการประชุมของ KBANK เป็นไปในเชิงระมัดระวังมากยิ่งขึ้น (แต่ไม่มากเท่า TTB)
  • ในที่ประชุม KBANK คงเป้าปี 2025 ทั้งหมดของธนาคารฯ แต่คาดว่าเป้าหมายส่วนมากจะอยู่ในช่วงต่ำ เช่น เป้าส่วนต่างดอกเบี้ยที่ 3.3-3.5% การเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิในอัตราหนึ่งหลักกลางถึงสูง ในภาพรวมตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าประมาณการปี 2025 ของเราอยู่เล็กน้อย
  • จากปัจจัยกดดันทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นและประมาณการเชิงลบจากศูนย์วิจัยของธนาคารฯ ปัจจุบันประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ KBANK คาดว่า Credit cost อาจเพิ่มขึ้นเป็น 165bp (+/-) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายขั้นต้นที่อยู่ในช่วง 140-160bp และประมาณการของเราที่ 162bp ในปี 2025 ทั้งนี้ประมาณการ Credit cost ที่สูงขึ้นส่วนมากเกิดจาก Management overlay เพื่อเป็นสำรองสำหรับความไม่แน่นอนในด้านคุณภาพสินทรัพย์
  • ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด KBANK คาดว่า Credit cost น่าจะอยู่ที่ 170bp ในปี 2025 อย่างไรก็ดี เป้าหมายใหม่ดังกล่าวยังต่ำกว่าตัวเลขในปี 2024 ที่ 190bp
  • ในด้านสัดส่วนการปรับโครงสร้างหนี้ (DR) ที่สูงขึ้น q-q เป็น 8.3% ของสินเชื่อรวม (+13 พัน ลบ. q-q) ใน 2Q25 KBANK ระบุว่า 60% ของตัวเลขที่สูงขึ้น q-q มาจากโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” (YFWH) และส่วนที่เหลือเป็นการปรับโครงสร้างภายใน สำหรับ YFWH ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของสินเชื่อรวม ส่วนมากเป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งคิดเป็นผลกระทบต่อผลตอบแทนสินเชื่ออยู่ที่ 3bp ใน 2Q25
  • KBANK ยังคงเป้าผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 10%+ ในปี 2026 อย่างไรก็ดีจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน บริษัทฯ มองว่าการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยเพิ่มกำไรสุทธิจะเป็นเรื่องท้าทาย ในขณะที่มีทางเลือกอื่นประกอบด้วย 1) การเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผลในกรณีที่กำไรต่อหุ้นลดลง 2) การจ่ายเงินปันผลพิเศษเหมือนในปี 2024 และ 3) การซื้อหุ้นคืนถ้ากฎระเบียบของ กลต. เป็นใจมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันเราคาดว่าผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นอยู่ที่ไม่เกิน 9% ในปี 2026 พร้อมประเด็นความท้าทายต่าง ๆ

 

- Advertisement -