บล.พาย:
KKP: Kiatnakin Phatra PCL
เงินปันผลสูง แม้ท้าทายมากขึ้นใน 2H25
เราคงคำแนะนำ “ถือ’ เพื่อรับเงินปันผลที่คาดว่าสูงราว 7.2% ในปี 2025 และปรับมูลค่าพื้นฐานเป็น 55 บาท (จาก 51 บาท) ประเมินด้วยวิธี GGM (ROE 7.4%, Terminal growth 2%) อิงจาก 0.7x PBV’25E ด้านกำไรสุทธิใน 2Q25 ออกมาแข็งแกร่งที่ 1.4 พันล้านบาท (+83% YoY, +33% QoQ) และ NPL ratio ลดลงเหลือ 4.3% และสำรองหนี้ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) เพิ่มเป็น 132.7% หลังการเข้าประชุมนักวิเคราะห์ เราปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น เพราะรายได้ค่าธรรมเนียมสูงกว่าคาด และขาดทุนรถยึดต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ดี แม้เราปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น เราคาดว่ากำไรสุทธิจะปรับลดลง 5.6% ในปี 2025 ก่อนจะกลับมาขยายตัว 3.8% ในปี 2026 สำหรับแนวโน้มใน 2H25 คาดว่ากำไรจะอ่อนตัวลงทั้ง YoY และ HoH
การประชุมนักวิเคราะห์
- KKP ปรับเป้าหมายการเงินปี 2025 1) สินเชื่อหดตัว 5-8% (เดิม Flat) 2) Loan spread ที่ 4.5% (เดิม 4.8-4.9%) 3) NPL ratio ที่ 4.3-4.5% (เดิม 4.1-4.3%) และ 4) Credit cost ที่ 1.8-2.0% (เดิม 2.2-2.4%) ขณะที่ยังคงเป้าหมาย ROAE (Comprehensive Income) ที่ 9-10%
- ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยมีเสถีรยภาพดีขึ้น (1) คุณภาพสินเชื่อที่ปล่อยกู้ใหม่ในปี 2023-24 แข็งแกร่งขึ้น (2) จำนวนรถยึดคงค้างลดลง (3) การขาดทุนรถยึดใน 2H25 ใกล้เคียงใน 1H25 ที่ราวขาดทุน 1.2 พันลบ. อย่างไรก็ดี ธุรกิจสินเชื่อโครงการอสังหาริมทรัพย์ยังน่ากังวลอยู่ ผลกระทบจากยอดขายที่อยู่อาศัยยังชะลอตัว
- โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” มีสินเชื่อเข้าร่วมโครงการราว 10 พ้นลบ. (4% ของสินเชื่อรายย่อย) ช่วยให้คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น และความเสี่ยงด้านเครดิตลดลง
- ความร่วมมือกับ Goldman Sachs วาณิชธนกิจชั้นน้ำของโลก จะช่วยหนุนธุรกิจที่ปรึกษาการเงินและการลงทุนแข็งแกร่งขึ้น เสริมธุรกิจด้านสถาบัน เพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมทำให้เกิดการกระจายรายได้ และลดความความผันผวนจากเศรษฐกิจและตลาดทุนไทย
คาดกำไรในปี 2025 ลดลง ก่อนจะฟื้นตัวในปี 2026
- เราปรับเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมสูงขึ้น และปรับลด Credit cost ลดลงจากแนวโน้มการขาดทุนรถยึดต่ำกว่าคาด อย่างไรก็ดี ปรับลดการขยายสินเชื่อรวมหดตัว -6.4%/-1.1% (เดิม -2.6%/-0.2%)
ในปี 2025-26 ดังนั้น เราปรับเพิ่มกำไรขึ้นเล็กน้อย 2%/1% ในปี 2025-26 โดยคาดการณ์กำไรสุทธิจะลดลง 5.6% ในปี 2025 และกลับมาขยายตัว 3.8% ในปี 2026 เนื่องจาก NIM เพิ่มขึ้น รายได้ค่าธรรมเนียมสูงขึ้น และการขาดทุนรถยึดลดลง - เรามองว่า KKP สามารถจ่าย Dividend payout ratio ระดับสูงที่ 68% ในปี 2025 (เทียบ 67.9% ในปี 2024) และคาด Dividend yield ที่ 7.2% ในปี 2025
สรุปผลการดำเนินงานใน 2Q25
- กำไรสุทธิออกมาแข็งแกร่งที่ 1.4 พันล้านบาท (+83.3% YoY, +32.7% QoQ) สูงกว่าคาด 29% เนื่องจากสำรองหนี้ฯ ต่ำคาด และรายได้ค่าธรรมเนียมดีกว่าคาด กำไรที่ปรับเพิ่มขึ้น YoY และ QoQ เนื่องจาก (1) สำรองหนี้ฯ การขาดทุนรถยึดลดลง และ (2) รายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นในส่วนของรายได้ที่เกิดจากธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง รายได้จากธุรกิจจัดการกองทุน รวมถึงรายได้จากธุรกิจวานิชธนกิจ
- NIM ลดลงที่ 4.3% (-18 bps YoY, -13 bps QoQ) จากอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยงลดลงผลจากการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้
- สินเชื่อลดลงต่อเนื่อง 1.3% QoQ จากสินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่ชะลอตัว ทำให้สินเชื่อใน 1H25 ลดลง 2.5%YTD
- คุณภาพสินเชื่อดีขึ้น ทำให้ NPL ratio ลดลงที่ 4.3% และสำรองหนี้ต่อหนี้เสีย (Coverage ratio) เพิ่มเป็น 132.7% และ Stage 2 Ratio ลดลงเหลือ 7.7%