บล.กรุงศรีฯ:
KSS Global Macro Strategist Comment: KSS Global Macro Strategist Comment: Key Ideas จาก Webinar: BlackRock: Investment Directions – Implementation ideas for today’s market และ ประเมินผลกระทบต่อตลาดไทย ระยะสั้นคาด SET รอ New Catalyst ที่อาจหนุน SET ผ่าน 1254 จุด สู่กรอบ 1300-1350 จุดได้
Key Takeaways :
- Mega Forces: BlackRock มองว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วง “การเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้าง” (Structural Transition) ที่ไม่สามารถใช้โมเดลการลงทุนแบบเดิมได้อีกต่อไป โดยตลาดมีความผันผวนเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ ปธน Trump เข้ารับตำแหน่งและได้ดำเนินนโยบายภาษีการค้ากับประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะจีน อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม BlackRock มองว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจและธุรกิจ ณ ปัจจุบัน มี 5 Mega Forces (แรงขับเคลื่อนขนาดใหญ่) เป็นตัวกำหนด ได้แก่:
1. การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Low-carbon transition) มีแรงผลักดันด้านนโยบายและเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อภาคพลังงานและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
2. การกระจายตัวทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical fragmentation) โดยเฉพาะความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ–จีน รวมถึงคู่ขัดแย้งอื่น ๆ อาทิ รัสเซีย-ยูเครน, อินเดีย-ปากีสถาน, อิสราเอล-ฮามาส เป็นต้น
3. การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล (Digital Disruption) – การรุกของเทคโนโลยี โดยเฉพาะ AI ส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ และเป็นธีมการลงทุนสำคัญ
4. โครงสร้างประชาการ (Demographic Divergence) – ความแตกต่างด้านโครงสร้างประชากร เช่น สังคมสูงวัยในบางประเทศ เทียบกับการเติบโตของประชากรวัยทำงานใน EM
5. การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระบบการเงิน (Structural Shifts in Finance) – การเปลี่ยนผ่านทางการเงิน เช่น เงินเฟ้อที่ฝังตัวสูง หนี้สาธารณะสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น และการใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว
- Policy as a shock: BlackRock มองว่าการใช้นโยบายเศรษฐกิจทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงิน โดยเฉพาะนโยบายด้านการค้า เป็นเป็นสิ่งสร้างความผันผวนให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่การใช้นโยบายดังกล่าวเป็นไปเพื่อสร้างเสถียรภาพและสร้างสมดุลให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมองว่านโยบายเศรษฐกิจส่ผลต่อทิศทางการเคลื่อนย้ายของเงินทุนมากขึ้น
- Strategic Positioning: เน้นกระจายการลงทุนตามภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรม (Sectoral and Geographic Diversification) โดยลงทุนตาม Mega Forces Trend ที่เห็นได้เด่นชัด ได้แก่ Artificial Intelligence, โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Infra Tech),นวัตกรรมการแพทย์ (Health Innovation) นอกจากนี้ ในสภาวะที่ตลาดผันผวน เน้นเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ป้องกันเงินเฟ้อ เช่น TIPS, ทองคำ
- Tactical Positioning for 2Q2025: ลดน้ำหนักพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว เพราะยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะที่สูง โดยย้ายไปเพิ่มน้ำหนักตราสารหนี้ภาคเอกชนยุโรป (European Credit) เพราะมี Spread อยู่ในระดับที่น่าลงทุนและพื้นฐานบริษัทที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้สำหรับตลาดหุ้นมองตลาดหุ้นญี่ปุ่นเป็นบวกจากแรงหนุนของทิศทางของนโยบายการเงินและการคลังที่จะส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าและการปฏิรูปโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้มองอินเดียเป็นบวกจากการที่เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าจำกัดและดัชนีมีความสัมพันธ์กับตลาดโลกค่อนข้างน้อยในภาวะที่ตลาดโลกผันผวน
- Investment in Asia: มองตลาดหุ้นในเอเซียน่าลงทุนเนื่องจาก 1) เงินเฟ้อของประเทศในเอเซียมีเสถียรภาพสูงกว่าฝั่งตะวันตก โดยมีความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อต่ำกว่า ส่งผลให้คาดว่าจะเห็นการใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า หนุนการเติบโต และ 2) เศรษฐกิจของประเทศในเอเซียยังมีศักยภาพในการเติบโตที่ดี แม้จะอยู่ในภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูงในปัจจุบัน
- China Equity: มองหุ้น Onshore A-Shares ได้แรงหนุนจากรัฐบาลและนักลงทุนในประเทศจีนเป็นบวกมากกว่าหุ้น Offshore ที่มีโอกาสถูกนักลงทุนต่างชาติลดน้ำหนักการลงทุนเพราะความไม่แน่นอนจาก Trade War
KSS Global Macro Strategy Views : เรามีมุมมอง สอดคล้องกับ BlackRock ว่าเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูงขึ้นจากสงครามการค้า กลยุทธ์แนะนำ
1. เน้นการลงทุนโดยเน้นสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ, ได้ประโยชน์จาก Mega Force, เน้น Value มากกว่า Growth เป็นกลยุทธ์ที่ดีในการกระจายสินทรัพย์ สะท้อนภาพตลาดหุ้น EM & EM Asia เริ่ม Outperform ตลาดโลก(MSCI World) จากลักษณะของตลาดที่มีความเป็น Value & Laggard มากกว่าตลาด Premium ที่เป็น Growth แบบ DMs
2. Fund Flows เข้า EM Asia มากขึ้นโดยเฉพาะ BOND(เก็ง EM Asia ลดดอกเบี้ยเร่งตัวลดผล Tariffs) จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มแผ่วลง และ Dollar Index อ่อนค่าต่ำ 100จุดต่อเนื่อง สนับสนุนเงินสลับเข้าหุ้น EM Asia บ้าง
3. คงมุมมองเชิงบวกต่อ จีน (A-Share) ที่รัฐบาลหนุน Onshore แนะนำกองทุนที่ลงทุนหุ้น A-Shares ได้แก่ KFACHINA-A (Active A-Shares)
4. โดยสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น เราแนะนำกองทุน KF JPINDX-A (Index NIKKEI225) และ KF-HJAPAND และหากต้องการเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นอินเดียแนะนำ KT-INDIA-A
KSS : คงมุมมองตลาดหุ้นไทย ยังเป็นโอกาสการลงทุนระยะยาวที่ดีมากๆ ที่ซ่อนภาพ Value Market ไว้ รอการ Unlock Value จาก New Catalyst เท่านั้น
- คาดระยะสั้น 1 เดือนเศษ ตลาดหุ้นไทยจะมีโอกาสไปต่อ หลังขึ้นมาในกรอบ 1220จุด-1254จุด ที่ประเมินในสัปดาห์ก่อนได้แล้ว ถ้าผ่าน 1254จุดได้ น่าจะไปสู่กรอบ 1300-1350จุด เน้น GULF, GPSC, BJC, CPALL SCC, KBANK, KTB, AOT, MINT
- จากแรงหนุน Thai ESGX ที่จะเข้ามาราว 8.9พันล้านบาท-1.5หมื่นล้านบาท
- จากแรงจูงใจต่อ Thai ESGX ที่มากกว่า SSFX ปี 2020 (มีระยะเวลาถือครองสั้นกว่า 5ปี vs 10ปี, ลดหย่อน 3แสนบาท > 2แสนบาท, ระดับความเป็น Value Market ใกล้กันที่ ERP +5% และ Thai ESGX ยังมีเงินเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องอีก 5ปี จาก Thai ESG vs SSFX ที่เป็นเงินลดหย่อนภาษีหนุนตลาดหุ้นไทยก้อนสุดท้ายหลังหมด LTF) และพัฒนาการด้าน Trade Deals ของ US-CH และ US – TH
Mid-Long Term Theme :
1. Mega Forces ของ BlackRock สะท้อน Structural Transition ของเศรษฐกิจไทยเช่นกัน
1.1 Theme Low-carbon Transition
- ผลบวก: ไทยเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่, EV Parts, Solar และ Wind Infrastructure ที่เริ่มมีบทบาทในห่วงโซ่โลก เช่น GULF, GPSC, GUNKUL
- ผลลบ: ภาคพลังงานดั้งเดิม (เช่น ถ่านหิน, ปิโตรเคมี) เผชิญแรงกดดันจากนโยบาย ESG และ Cost ของการปรับตัว
1.2 Theme Geopolitical Fragmentation
- ผลกระทบ: Trade War สหรัฐฯ-จีน และความขัดแย้งในภูมิภาคส่งผลให้ “ASEAN” เป็นทางเลือกใหม่ของ Global Supply Chain โดยไทยมีโอกาสเป็น “ศูนย์กลางการผลิต” หากสามารถแข่งขันได้ในเชิงแรงงานและนโยบาย
- ธีมที่น่าลงทุน: Logistic Infrastructure (WHA, AMATA), Re-industrialization (ROJNA, HANA, DELTA), Defense/ICT(ADVANC, TRUE) ที่สอดรับการเสริมแกร่งโครงสร้างพื้นฐาน
1.3 Digital Disruption & AI
- ไทยต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะภาคบริการและอุตสาหกรรมที่ยังใช้แรงงานในสัดส่วนสูง
- ผลบวกต่อกลุ่มเทคโนโลยีไทย: กลุ่มที่เชื่อมโยงกับ Digital Infra (GULF, ADVANC, TRUE) และ Automation, Software, Cybersecurity, Digital Tech Consults
1.4 Demographic Divergence
- ไทยเข้าสู่ “สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบ” เร็วกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ภาระงบประมาณรัฐเพิ่มขึ้น
- ผลเชิงกลยุทธ์: ต้องเร่งสร้าง “ผลิตภาพ” ผ่านเทคโนโลยี – ส่งผลให้ธุรกิจ Health Tech, Medical Tourism, และ Robotics Automation มีโอกาสในระยะยาว บวกต่อ BDMS, BH, BCH, SPA
1.5 Structural Shifts in Finance
- การใช้นโยบายการคลัง/การเงินเชิงรุกในโลก ก่อให้เกิด “ความเปราะบางเชิงโครงสร้าง” โดยเฉพาะในประเทศที่หนี้สูงแต่โตต่ำ โดยไทยต้องระวังกับดักนี้
- กลยุทธ์การลงทุน: พิจารณา Long Thai Equity ในกลุ่มที่มี Cash Flow แข็งแรง หนี้ต่ำ / ROE สูง เน้น ADVANC, BDMS, CPALL, GULF, SCC
2. Policy as a Shock : นโยบายคือ Volatility ไม่ใช่เครื่องมือสร้างเสถียรภาพอีกต่อไป
- ผลต่อตลาดไทย: เศรษฐกิจเปิดอย่างไทยเสี่ยงต่อ External Shocks โดยเฉพาะจาก Trade/Monetary/Fiscal Policy ของสหรัฐฯ จีน และอินเดีย
- นักลงทุนต้องวางกลยุทธ์แบบ “Tactical + Hedged” หลีกเลี่ยง overexposure กับประเทศใดประเทศหนึ่ง และเพิ่ม exposure กับกลุ่ม Domestic Play ที่นโยบายไทยควบคุมได้มากกว่า : ADVANC, KBANK, KTB, GULF, CPALL
3. Strategic Positioning : ใช้ Diversification เป็นอาวุธ และตาม Mega Trends
- ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Health Innovation, Digital Infra, และ AI Leveraged Plays ที่มี Core Competency ของไทย : BDMS, BH
- สร้างพอร์ตผสม: “Growth from Global + Defensive from Domestic” เช่น หุ้นกลุ่มท่องเที่ยว สุขภาพ สาธารณูปโภค : CPALL, BDMS, BH, GULF, GPSC
- ป้องกันเงินเฟ้อ: พิจารณาสินทรัพย์เช่น ทองคำ, REITs, โครงสร้างพื้นฐาน (GULF, GPSC, DIF)
4. Tactical Positioning Q2/2025 : โอกาสในหุ้นเอเชียและตราสารหนี้ยุโรป
- มุมมองต่อไทย: ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสได้ประโยชน์จาก Fund Flow ที่โยกออกจาก Developed Market มายัง Emerging Asia
- แนวโน้ม Fund Flow: หากสหรัฐฯ ยังคงดอกเบี้ยสูงและมีความเสี่ยงการคลัง ไทยมีโอกาสได้แรงหนุนจาก Flow ที่ “หาเสถียรภาพ” และ “Carry Yield” ที่สูงกว่า
5. Investment in Asia ไทยเป็น 1 ใน Core Beneficiary
- อินเดีย ญี่ปุ่น และ ASEAN จะถูกยกขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่
- ไทยมีจุดแข็งในฐานะ: ศูนย์กลาง Logistics/Manufacturing, ความเสถียรทางการเงิน, เงินเฟ้อที่ต่ำ ควบคุมได้ดี และมี policy space เหลือ
- กลุ่มเด่น: ธนาคาร (KBANK, KTB, BBL), อิงบริโภค (CPALL, MINT), Finance(MTC) กลุ่มส่งออก (CPF, GFPT, HANA), นิคมฯ(AMATA, WHA)
6. China A-Share vs Offshore โอกาสของไทย จากการ Shift
- หากนักลงทุนลด exposure ใน Offshore China (เช่น Hong Kong, ADRs) แล้วเพิ่มใน Onshore A-shares หรือกระจายมายัง ASEAN และ SET มีโอกาสได้ประโยชน์ทางอ้อม
- ธีมเด่น: Re-shoring, ASEAN Supply Chain, ความร่วมมือผ่าน RCEP, Belt & Road ที่เน้นลงทุนในไทย-ลาว-เวียดนาม