Daily Focus: จับตา GDP 1Q25 และประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจ

2025 SET Target : 1180

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index แกว่งตัว Sideways ตามคาด แม้ระหว่างวันจะมีจังหวะฟื้นตัวได้ดีพอสมควร แต่ช่วงบ่ายยังมีแรงขายกดดันให้ดัชนีย้อนลงมาปิดบวกเพียงเล็กน้อย 1.28 จุด ที่ระดับ 1,195.77 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่บางลงเหลือ 3.6 หมื่นลบ. โดยรวมตลาดยังขาดปัจจัยใหม่ที่หนุน สถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นอีก 58 ลบ. และ 1.1 พันลบ. ตามลำดับ (ต่างชาติยัง Long Index Futures สุทธิอีกบางๆ 1.4 พันสัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index จะแกว่ง Sideways ในกรอบ 1,188-1,205 จุด โดยมีประเด็นกดดันอ่อนๆ คือ Moody’s ปรับหั่นอันดับความน่าเชื่อถือสหรัฐฯ ลง 1 ขั้นสู่ระดับ AA1 จากความเสี่ยงด้านการขาดดุลงบประมาณและระดับหนี้สาธารณะที่สูง ส่งผลให้เม็ดเงินระยะสั้นไหลออกจากหุ้นและพันธบัตร หนุน Bond Yield สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น ขณะที่ทองคำพลิกกลับมาบวกหลังพักตัวในสัปดาห์ก่อน

ด้านปัจจัยในประเทศ วันนี้ติดตามการประกาศตัวเลข GDP 1Q25 ของสภาพัฒน์ ตลาดคาด +0.5% Q-Q, +2.9% Y-Y รวมถึงประมาณการชุดใหม่ที่รวมผลกระทบของ Reciprocal Tariffs ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังต้องติดตามการประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจวันนี้ ว่าจะมีการเคาะมาตรการใหม่แทนการแจกเงินหมื่นเพื่อให้ตรงจุดและรองรับความเสี่ยงจากภาษีการค้าหรือไม่

ส่วนด้าน บจ. ซึ่งประกาศกำไร 1Q25 ครบแล้ว ยังคงต้องติดตามโทนการประชุมนักวิเคราะห์ถึงมุมมองของแต่ละบริษัทถึงแนวโน้มการเติบโตในระยะถัดไป ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง ทำให้เรายังเชื่อว่าประมาณการ EPS ของ SET ปัจจุบันที่ 90 บาท ยังมีความเสี่ยงจะถูกปรับลงอยู่ เราจึงยังคงประเมินว่า Upside ของ SET Index ที่ระดับราว 1,200 จุดในระยะสั้นยังคงจำกัด จึงยังเน้นเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มกำไรแข็งแกร่งและมั่นคง โดยเฉพาะสินค้าบริการจำเป็นที่ราคายัง Laggard มีแนวโน้มที่จะปรับตัวได้ดีกว่าตลาด

กลยุทธ์ : ยังเน้น Selective Buy หุ้นที่มีแนวโน้มกำไร 1Q25-2025 แข็งแกร่ง โดยเน้นกลุ่มสินค้าและบริการจำเป็นท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ

หุ้นเด่นเดือน พ.ค. : CPALL, MTC, NSL, OSP, PR9

FSSIA Portfolio: BA, BTG, CPALL, KBANK, MTC, NSL, PR9, STECON

หุ้นเด่น Finansia 19 พ.ค. 25 : ADVANC

– แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายเฉลี่ยจาก IAA Consensus ที่ 314.43 บาท

– แนวโน้มกำไร 2Q25-2H25 คาดยังแข็งแรงต่อเนื่องหนุนจากทั้งฝั่งรายได้ที่คาดว่ายังเติบโตแข็งแรง ขณะที่ต้นทุนไม่มีแรงกดดันเพิ่มเติมหลังไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่เหมือนช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รวมถึงภาพการแข่งขันที่เบาลง

– ส่วนการประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่เราคาดว่าจะไม่แพงเท่าในอดีต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวลดลงและเป็นบวกต่อกำไรสุทธิ ประมาณการกำไรปี 2025 ของ Consensus ล่าสุดถูกปรับขึ้นเป็น 3-5% สู่ระดับ 4-4.1 หมื่นลบ. +16% y-y

– แนวรับ 285//276 บาท แนวต้าน 295//300 บาท

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนต่างชาติยังคงไหลเข้าภูมิภาคสุทธิ US$528 ล้าน แต่กระจุกตัวที่ไต้หวัน US$543 ล้าน แต่ไหลออกจากเกาหลีใต้บางๆ ส่วนฝั่งอาเซียนเม็ดเงินไหลเข้าอินโดนีเซีย แต่ไหลออกจากไทยประเทศละ US$32-34 ล้าน แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่าจะชะลอการไหลเข้า หลังไร้ปัจจัยบวกใหม่ ขณะที่ปัจจัยกดดันอ่อนๆ คือการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสหรัฐฯ จาก Moody’s ลง 1 ขั้นสู่ระดับ AA1 จากความกังวลการขาดดุลงบประมาณและระดับหนี้สาธารณะที่สูง

ประเด็นสำคัญวันนี้

(0) ผลประกอบการ 1Q25 ดีกว่าคาด แต่แนวโน้มถัดไปไม่แน่นอน ภาพรวมกำไรของบริษัทจดทะเบียนใน 1Q25 สูงกว่าที่เราและตลาดคาด 7% และ 3% ตามลำดับ หนุนจากหุ้นขนาดใหญ่เป็นหลัก อย่างไรก็ดีแนวโน้ม 2Q25-2H25 ยังอ่อนแอจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ คงกลยุทธ์ Selective จาก SET มี Upside จำกัด หุ้นเด่นของเรายังคงเป็น BA, BTG, CPALL, KBANK, MTC, NSL, PR9 และ STECON

(0) กลุ่มโรงพยาบาล กำไรปกติ 1Q25 ใน coverage ของเราส่วนใหญ่เป็นไปตามคาด กำไรรวมอยู่ที่ 6.9 พันลบ. +1% Q-Q, +0.6% Y-Y โดย PR9 ดีกว่าคาด 5%, BH ต่ำกว่าคาด 5% PR9 ที่ดีกว่าคาด มาจากรายได้ที่ดีกว่าคาด โดยเฉพาะกลุ่มต่างชาติจากตะวันออกกลางและ CLMV BCH กำไรตามคาด รายได้ผู้ป่วยต่างชาติลดลงหลังผู้ป่วยคูเวตหายไปและมีเทศกาลรอมฎอน แต่ชดเชยได้จากผู้ป่วยไทย BDMS กำไรตามคาด ผู้ป่วยไทยโตดีกว่าต่างชาติ CHG กำไรหดตัว 15% Y-Y ตามคาด ตามการลดลงของผู้ป่วยต่างชาติ และกลุ่มประกันสังคมจากการผ่าตัดกระเพาะที่ลดลงชัดเจน BH กำไรอ่อนแอกว่าคาด จากรายได้ผู้ป่วยต่างชาติที่ลดลงมาก แนวโน้มกำไรน่าจะอ่อนแอต่อใน 2Q25

(0) HANA ภาพรวม demand ยังไม่สดใส ส่วนหนึ่งจากความไม่ชัดเจนของ US Tariff และลูกค้าเริ่มเจรจาขอย้ายฐานการผลิตจากโรงงานของ HANA ในจีน ไปยังโรงงานที่ลำพูนและกัมพูชา แม้กัมพูชาจะเจอ Tariff ที่ 49% สูงกว่าไทย แต่รัฐบาลกำลังเจรจากับ US ระยะสั้น คาดรายได้ใน 2025 ค่อนข้างทรงตัว Y-Y แม้ที่ลำพูนจะอ่อนลง แต่โรงงาน IC ที่อยุธยาเริ่มฟื้น สรุปโดยรวมเรามองว่าน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เพียงแต่การฟื้นตัวยังค่อยเป็นค่อยไป เพราะ demand โดยรวมยังไม่ชัด ยังมี Tariff กดดัน ขณะที่ HANA พยายามลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 เพิ่มขึ้น 22% เป็น 1.32 พันลบ. พลิกจากขาดทุนปีก่อน หลักๆ มาจากรายได้จาก Technology Transfer แต่ยังคงคาดกำไรปกติที่ 1.1 พันลบ. +19% ได้ราคาเป้าหมายใหม่ 22 บาท ยังแนะนำ “ถือ”

(+) MOSHI SSSG 2 เดือนแรกของ 2025 สูงถึง 17-19% Y-Y แม้ตัวเลขที่สูงอาจมาจากฐานที่ต่ำปีก่อน แต่หากหักผลกระทบจากการขาดแคลนสต๊อกสินค้าที่เกิดขึ้นปีก่อน SSSG ยังอยู่ระดับสูง 7-8% Y-Y ใกล้เคียงกับ +7.9% Y-Y ใน 1Q25 หลักมาจากผลของการออกสินค้าใหม่และการจัดกิจกรรมทางการตลาดเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลของการเปิดสาขาในช่วง 1Q25 และ 2025 เปิดสาขาใหม่ไปแล้ว 5 สาขา และเปิดอีก 6 แห่งในช่วงที่เหลือของใน 2025 รวมเป็น 11 สาขา เรามีแนวโน้มปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2025 อีก 10-15% จาก SSSG เฉลี่ย 1H25 สูงกว่าคาด จากประมาณการทั้งปี 2025 ที่ 581 ลบ. +11.5% Y-Y ราคาเป้าหมาย 50 บาท ยังแนะนำ “ซื้อ”

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 331.99 จุด หรือ +0.78%, ปิดที่ 42,654.74 จุด ปิดบวกในวันศุกร์ (16 พ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการทำข้อตกลงระงับเก็บภาษีนำเข้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเมื่อต้นสัปดาห์นี้ แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจบ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ย่ำแย่ลงก็ตาม

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกในวันศุกร์ (16 พ.ค.) และปิดบวกต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 หลังจากข้อตกลงการค้าชั่วคราวของสหรัฐฯ-จีนได้ช่วยลดความกังวลเรื่องภาษีนำเข้า นอกจากนี้ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนช่วยหนุนตลาดด้วย

(-) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดลบ หลัง Moody’s downgrade เครดิตเรตติ้งของสหรัฐฯ

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่าอยู่ที่บริเวณ 33.35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หรือ -0.34%

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 87 เซนต์ หรือ 1.41% ปิดที่ 62.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ (16 พ.ค.) และทำสถิติบวกติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สอง หลังความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเริ่มผ่อนคลาย แม้ว่าราคาถูกกดดันจากการคาดการณ์ว่าอุปทานจะเพิ่มขึ้นจากอิหร่านและกลุ่มโอเปกพลัสก็ตาม ขณะที่เช้านี้ลดลงอยู่ที่ระดับ 62.47 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ -0.03%

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 39.40 ดอลลาร์ หรือ 1.22% ปิดที่ 3,187.20 ดอลลาร์/ออนซ์ ในวันศุกร์ (16 พ.ค.) และปรับตัวลงรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2567 เนื่องจากตลาดคลายความวิตก หลังการทำข้อตกลงสงบศึกสงครามการค้าชั่วคราวระหว่างสหรัฐฯ-จีน ขณะที่เช้านี้เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 3,247.90 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ +1.90%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 918.73 / -0.96%

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

19 พ.ค.ไทย: 1Q25 GDP growth

จีน: Retail Sales (เม.ย.), อัตราการว่างงาน (เม.ย.)

20 พ.ค.จีน: Loan Prime Rate 1Y

แคนนาคา: เงินเฟ้อ (เม.ย.)

21 พ.ค.อังกฤษ: เงินเฟ้อ (เม.ย.)

ญี่ปุ่น: ส่งออก (เม.ย.)

22 พ.ค.สหรัฐ: Existing Home Sales (เม.ย.)

G7: Meeting of Finance Ministers and Central Bank Governors

- Advertisement -