บล.กสิกรไทย:
Banking Sector : ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อ จบแบบนิ่ม หรือเจ็บแบบเงียบ?
เราจัดงาน KS Expert Series โดยเชิญคุณศรัณย์ ทองธรรมชาติ นายกสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย (THPA) มาพูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อในครึ่งหลังของปี 2568 ร่วมกับผู้จัดการกองทุนกว่า 30 ราย โดยมีประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
- ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน คุณศรัณย์คาดว่าสถานการณ์ตลาดสินเชื่อเช่าซื้อ (HP) จะยังคงทรงตัวในครึ่งปีของหลัง 2568 เนื่องจากผู้ให้สินเชื่อคงมาตรฐานการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวด เนื่องจากความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้ายังอ่อนแอ ขณะที่ยอดขายรถยนต์ยังคงซบเซา เนื่องจากจำนวนผู้เข้าโชว์รูมรถยนต์ยังคงลดลง 20% YoY อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ HP ลดลงเล็กน้อยในเชิง YTD เหลือ 18% สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 10-15% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และ 20-30% สำหรับรถกระบะ ในขณะที่ยังคงสูงกว่าระดับปกติที่ 10% สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และ 15-20% สำหรับรถกระบะ หากมองในแง่ดี THPA คาดว่าราคารถยนต์มือสองจะทรงตัวในครึ่งปีของหลัง 2568 ตามอุปทานรถถูกยึดที่ลดลง เนื่องจากผู้ให้สินเชื่อ HP ส่วนใหญ่เน้นให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่หนี้ที่มีปัญหาและชะลอการยึดรถออกไป
- การกำกับดูแลสินเชื่อ HP ของ ธปท.อาจสร้างแรงกดดันให้กับผู้ประกอบการ HP รายย่อย คุณศรัณย์คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะให้แนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินการในตลาดแก่ผู้ประกอบการสินเชื่อ HP รายย่อย ส่งผลให้ในอนาคตจะมีต้นทุนการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สูงขึ้น คุณศรัณย์คาดว่าผู้ประกอบการรายใหญ่จะสามารถปฏิบัติตามการกำกับดูแลของ ธปท.ได้ดี เนื่องจากได้กำหนดมาตรฐานการดำเนินการในตลาดที่สูงต่อลูกค้าไว้แล้ว ในขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อยบางรายอาจประสบปัญหาในการปฏิบัติตามการกำกับดูแลของ ธปท. ดังนั้น เราคาดว่าสินเชื่อ HP ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท.จะช่วยกระตุ้นการรวมตลาดจากผู้ประกอบการสินเชื่อ HP รายใหญ่ๆ
- คุณภาพสินเชื่อ HP หรับ EV ยังคงแข็งแกร่ง สำหรับความกังวลเรื่องราคา EV คุณศรัณย์มองว่าคุณภาพสินเชื่อ EV ยังดีกว่าสินเชื่อ HP สำหรับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน เนื่องจากผู้ใช้ EV ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง การปรับลดราคา EV ไม่ส่งผลกระทบต่อผู้กู้ในกลุ่มนี้ และจะไม่คืนรถยนต์
- ความเสี่ยงจาก TDR ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า THPA คาดว่าผู้ประกอบการสินเชื่อ HP จะยังคงเน้นการเสนอโปรแกรมปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าที่มีปัญหาแทนการยึดรถคืนในครึ่งปีหลังของปี 2568 ซึ่งจะส่งผลให้อุปทานรถถูกยึดลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าลูกค้าการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (TDR) เพียง 20% เท่านั้นที่จะชำระหนี้ได้ตามปกติตลอดอายุสัญญา ส่วนที่เหลือจะกลับมาเป็นหนี้ที่มีปัญหาอีกครั้ง ดังนั้น การก่อหนี้เสีย (NPL) ใหม่และอุปทานรถถูกยึดอาจเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2569-70 หลังจากโปรแกรม TDR สิ้นสุดลง
มุมมองของเรา
- เราคงมุมมองที่ “เป็นกลาง” ต่อกลุ่มธนาคาร เรามองว่าอุตสาหกรรมสินเชื่อ HP กำลังเผชิญกับความท้าทายเชิงโครงสร้างในระยะยาว ขณะที่ในระยะสั้น สินเชื่อ HP จะปรับตัวดีขึ้นจากโครงการบรรเทาหนี้ต่างๆ ที่เสนอให้กับลูกค้า เราคาดว่าการปรับปรุงคุณภาพสินทรัพย์ของสินเชื่อ HP จะส่งผลดีต่อ TTB KKP และ TISCO เป็นหลัก ซึ่งมีสัดส่วนสินเชื่อ HP สูง