บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) เชิญ CIO (Chief Investment Office, DBS Bank) มาให้ข้อมูล DBS 2H25 CIO Market Outlook – จุดเปลี่ยนของโลก โดยมองนโยบายของทรัมป์ จุดชนวนสงครามภาษีในระดับโลก รวมทั้งความไม่ชัดเจนด้านนโยบายได้สร้างความเสี่ยงในสินทรัพย์การเงินทั่วโลก พร้อมแนะลดน้ำหนักตลาดพันธบัตรรัฐบาลประเทศพัฒนาแล้ว เพิ่มน้ำหนักทองคำ และสินทรัพย์ทางเลือกนอกตลาด รวมทั้งเพิ่มน้ำหนักหุ้นยุโรป มองธุรกิจหุ่นยนต์มนุษย์ ระบบอัตโนมัติภาคอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และอวกาศเป็นเทรนด์ระเบียบโลกใหม่
นายเอ็ดวิน ตัน (Mr. Edwin Tan) Market Head DBS, Thailand & Philippines, DBS Bank กล่าวในงาน DBS 3Q25 CIO Market Outlook ว่า ก้าวเข้าสู่ครึ่งปีหลังของปี 2025 เรากำลังยืนอยู่บนจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดโลก และนั่นคือเหตุผลที่เราตั้งธีมของวันนี้ว่า “The Global Pivot” เพราะตลาดหุ้นทั่วโลกสามารถฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 2 ทั้งหมดนี้เกิดขึ้น ท่ามกลางสภาวะที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นความไม่แน่นอนของนโยบายภาษี, สัญญาณเศรษฐกิจที่สับสนจากการดำรงตำแหน่งสมัยที่สองของประธานาธิบดีทรัมป์, และความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาทางการคลังของสหรัฐฯ
เมื่อมองย้อนกลับไป DBS ภูมิใจที่กลยุทธ์การลงทุน ได้สร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง Barbell Strategy ยังคงติดหนึ่งใน 5% แรกของกองทุนผสมทั่วโลกนับตั้งแต่จัดตั้ง ขณะเดียวกัน การที่เรา “Overweight” ทองคำตั้งแต่เนิ่น ๆ รวมถึงกลยุทธ์ Liquid+ ที่เน้นตราสารหนี้เกรดลงทุนระยะสั้น ก็กลายเป็นเสาหลักในช่วงเวลาที่ตลาดมีความไม่แน่นอน
นายเอ็ดวิน ตัน กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปีนี้ DBS มีกำไรก่อนหักภาษีรวมทั้งสิ้น 3.44 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่รายได้รวมแตะระดับสูงสุดใหม่ที่ 5.91 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปีก่อน ROE อยู่ที่ 17.3% แม้จะรวมผลกระทบจากภาษีขั้นต่ำระดับโลกเข้ามาคำนวณแล้วก็ตาม
ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่เติบโตโดดเด่น รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกิจ Wealth Management เพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 724 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการลงทุนของลูกค้าที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในด้านผลิตภัณฑ์การลงทุนและแบงก์แอสชัวรันส์
ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของเราในครั้งนี้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่ทุกท่านมีให้กับเราอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมารวมถึงความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งที่เราสร้างร่วมกันในฐานะพันธมิตรทางการเงินที่คุณ ไว้วางใจสำหรับการบริหารความมั่งคั่งการดำเนินธุรกิจและการส่งต่อมรดกสู่รุ่นถัดไป ทั้งหมดนี้ตอกย้ำด้วยรากฐาน ทางการเงินที่มั่นคงของเรา ความเป็นผู้นำด้านดิจิทัลและประวัติการดำเนินงานที่น่าภาคภูมิใจในฐานะ “ธนาคารที่ ปลอดภัยที่สุดในเอเชีย” ต่อเนื่องกันถึง 16 ปี
ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เราพูดถึง “การนำทางในความไม่แน่นอน” ในขณะที่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ หลายจุด กำลังก่อตัวขึ้นเงียบๆ พร้อมกันในหลายภูมิภาค แต่วันนี้ อย่างน้อยหนึ่งในความเสี่ยงเหล่านั้น เริ่มปรากฏ ชัดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ ได้นำกลับมาซึ่งรูปแบบนโยบายที่ผันผวน และในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ประเด็นนี้ได้กลายเป็นหัวข้อหลักที่นักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เรากำลังก้าวเข้าสู่ ยุคใหม่ ยุคที่พันธมิตร ระหว่างประเทศกำลังเปลี่ยนรูปยุคที่หลายประเทศหันกลับมาเน้นความพึ่งพาตนเอง ยุคที่โครงสร้างการค้าโลกกำลัง ถูกปรับสมดุลใหม่ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบนฉากหลังของความกังวลต่อเสถียรภาพทางการคลังของสหรัฐฯ ที่กำลังทวีความ รุนแรงขณะเดียวกัน เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI ก็ยังคงเปลี่ยนวิถีชีวิต การทำงาน และวิธีการลงทุน ของเรา อย่างรวดเร็ว
ด้านนายเวย์ ฟุก โหว (Mr. Wey Fook Hou) Chief Investment Office, DBS Bank กล่าวว่า นโยบายในช่วง 100 วันแรกของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วโลก ตั้งแต่การลดงบประมาณของกระทรวงพลังงาน (DOGE) อย่างรุนแรง ไปจนถึงการจุดชนวนสงครามภาษีในระดับโลก แม้แนวทางดังกล่าวจะช่วยวางตำแหน่งใหม่ให้กับสหรัฐฯ ในเวทีระหว่างประเทศ แต่ความไม่ชัดเจนด้านนโยบายยังคงเป็นปัจจัยหลักที่กดดัน risk premium ของสินทรัพย์การเงินสหรัฐฯ ให้เพิ่มสูงขึ้นการผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่ล่าสุด ยิ่งทำให้เกิดข้อกังวลเรื่องความยั่งยืนทางการคลังอย่างมีนัยสำคัญ
โดยข้อมูลจากสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ (CBO) คาดการณ์ว่าขาดดุลงบประมาณจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ และหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 118% ของ GDP ภายในปี 2035 การที่ Moody’s ปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐฯ ลงสู่ระดับ Aa1 จึงถือเป็นสัญญาณเชิงสัญลักษณ์ว่าสหรัฐฯ กำลังสูญเสียสถานะ “ปลอดความเสี่ยง” ของพันธบัตรรัฐบาล ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปีที่ทะลุ 5% สะท้อนความกังวลของนักลงทุนต่อเสถียรภาพทางการคลังที่กำลังลดลง
นายเวย์ ฟุก โหว มองว่า “Beautiful Tariff War” ของทรัมป์มีเป้าหมายสองประการ ได้แก่ การควบคุมอิทธิพลของจีนในเชิงยุทธศาสตร์ และการจัดเก็บรายได้เพิ่มเติมเพื่อลดปัญหาความเสี่ยงล้มละลายของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเรียกเก็บภาษีนำเข้าแบบเหมารวมในอัตรา 20% รายได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นหลังปรับผลกระทบทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่เพียง 185.2 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งยังไม่เพียงพอแม้แต่จะครอบคลุมดอกเบี้ยจากหนี้ภาครัฐ ข้อจำกัดทางการคลังเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้ DBS ปรับกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญ ดังนี้
คงน้ำหนัก “Neutral” ในตลาดหุ้น โดยคาดว่าผลตอบแทนจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค และกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ขณะที่กลุ่มบริการมีแนวโน้มเติบโตดีกว่ากลุ่มที่เน้นสินค้า
ปรับลดน้ำหนักพันธบัตรรัฐบาลในตลาดพัฒนาแล้ว (DM) สู่ระดับ “Neutral” จากความกังวลด้านการคลังและเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์ “บาร์เบล” สำหรับตราสารหนี้
ให้น้ำหนัก “Overweight” ต่อสินทรัพย์ทางเลือก โดยเฉพาะทองคำ (คาดการณ์เป้าหมายที่ USD3,765 ต่อออนซ์ ภายในไตรมาส 4 ปี 2025) และสินทรัพย์นอกตลาดที่สามารถสร้างรายได้ประจำ
โดยมองว่า 3 ธีมหลักที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางในไตรมาส 3 ปี 2025 ที่ครอบคลุมแนวโน้มการลงทุน ได้แก่ (1) การคลี่คลายความตึงเครียดทางภาษีอย่างเป็นรูปธรรม (2) ผลตอบแทนของตลาดหุ้นที่เริ่มแตกต่างกันชัดเจนระหว่างภูมิภาค และกลุ่มอุตสาหกรรม และ (3) ความเสี่ยงทางการคลังที่กดดันพันธบัตรรัฐบาลและค่าเงินดอลลาร์ แต่กลับเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำการที่สหรัฐฯ และจีนเร่งลดระดับความตึงเครียดทางการค้าอย่างกะทันหันสร้างความประหลาดใจให้กับตลาด โดยมีแรงผลักดันจากเหตุผลเชิงปฏิบัติ เนื่องจากภาษีนำเข้าในอัตราสูงถึง 145% เปรียบ เสมือนมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าที่ส่งผลเสียต่อทั้งสองฝ่าย ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภาระการรีไฟแนนซ์ หนี้ภาครัฐกว่า 7.8 ล้านล้านดอลลาร์ในปีนี้ ประกอบกับกระแสนิยมของประธานาธิบดีทรัมป์ที่เริ่มลดลงในประเทศ ส่งผลให้ทรัมป์หันมารับนโยบายก้าวหน้าในบางด้าน เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ให้พรรครีพับลิกันในฐานะพรรคของชนชั้นแรงงาน ก่อนการเลือกตั้งกลางเทอมในปี 2026
“โดยสรุปแล้ว ความไม่ชัดเจนด้านนโยบาย และการใช้จ่ายภาครัฐอย่างไร้ขีดจำกัดของสหรัฐฯ กำลังเพิ่มระดับความเสี่ยงในสินทรัพย์การเงินทั่วโลก แม้การคลี่คลายความตึงเครียดทางภาษี จะมีแนวโน้มขับเคลื่อนด้วยเหตุผลเชิงปฏิบัติ แต่นักลงทุนควรเตรียมรับมือกับผลตอบแทนที่แตกต่างกันมากขึ้น ระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรม โดยกลุ่มเทคโนโลยี และบริการมีแนวโน้มเติบโตดีกว่ากลุ่มอื่นๆ กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงของเรา ยังคงให้น้ำหนัก “Overweight” ต่อสินทรัพย์ทางเลือก โดยเฉพาะทองคำและสินทรัพย์นอกตลาดที่สามารถสร้างรายได้ประจำ เพื่อเสริมความแข็งแรงของพอร์ตในยุคที่โลกเริ่มเปลี่ยนผ่าน จากการพึ่งพาสินทรัพย์การเงินของสหรัฐฯ นายเวย์ ฟุก โหว กล่าว”
หัวข้อเด่นของกลยุทธ์การลงทุนเชิงแท็คติกในไตรมาสนี้ของเรา ได้แก่
Cross-Assets – ตราสารหนี้ยังคงน่าสนใจ เรายังคงให้น้ำหนักตราสารหนี้มากกว่าตราสารทุน ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง ทั้งด้านเงินเฟ้อ และการชะลอตัวของการเติบโต (stagflation)
โดยโมเมนตัมของภาคการผลิตในสหรัฐฯ เริ่มชะลอลงตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ดัชนีเศรษฐกิจ โดยรวมออกมา ต่ำกว่าคาด สะท้อนความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ และทำให้ ภาคเอกชนชะลอการลงทุน ในทางกลับกัน ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อกลับเพิ่มขึ้น จากปัจจัยด้าน อุปทานไม่ว่า จะเป็นปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน ภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน และการเร่งตัวของปริมาณเงิน โดยหลายบริษัท เริ่มรายงานต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน การคาดการณ์ผลประกอบการ ของบริษัทในสหรัฐฯ ถูกปรับลดลงเล็กน้อย
ซึ่งสะท้อนสมมติฐานของนักวิเคราะห์ที่คาดว่า ความตึงเครียดทางการค้าจะค่อยๆ คลี่คลาย ขณะที่ยุโรป และญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม ตลาดเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) สวนทางกับภูมิภาคอื่น โดยคาดว่ากำไรของ บริษัทในปี 2025 จะเติบโตถึง 12.4% เมื่อเทียบกับเพียง 6.6% ในตลาดพัฒนาแล้ว (DMs)
หุ้น – คงมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ ให้น้ำหนัก “Overweight” ต่อหุ้นยุโรป ท่ามกลาง ความไม่แน่นอนด้านนโยบายภาษี การจัดสรรการลงทุนตามประเทศ ยังคงขึ้นอยู่กับผลของการ เจรจา ข้อตกลงการค้า ช่วงเดือนกรกฎาคม ซึ่งอาจมีผลลัพธ์สองทางอย่างชัดเจน เราคงสมมติฐานฐานว่า สหรัฐฯ จะเลือกแนวทางที่เป็น กลางและลดความตึงเครียดกับทั้งจีน และยุโรป ภายในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เรายังคงน้ำหนัก “Underweight” เล็กน้อยในหุ้นสหรัฐฯ
เนื่องจากการคาดการณ์กำไรของตลาด ยังคงสูงเกินจริงที่ระดับ 11% เทียบกับ 7% สำหรับ ตลาดพัฒนาแล้ว และทิศทางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่ากดดันให้นักลงทุนต้องกระจายการลงทุน มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การให้แนวโน้ม ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของ Nvidia ยังคงตอกย้ำธีมการเติบโตของ AI ว่ายังมีความแข็งแรง
ขณะที่โมเมนตัมในกลุ่มเทคโนโลยีคาดว่าจะช่วยชดเชยจุดอ่อน ในกลุ่มที่ไม่ใช่เทคโนโลยีของ สหรัฐฯ ได้ บางส่วน เรายังคงให้น้ำหนัก “Overweight” ต่อหุ้นยุโรป จากความกังวลด้านความยั่งยืน ทางการคลังของสหรัฐฯ ซึ่งกำลังกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางการจัดสรรการลงทุน รวมถึงแรงหนุน จากการเพิ่มขึ้น ของงบประมาณด้าน กลาโหมในฝั่งเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) หุ้นยังคงมีมูลค่าที่น่าดึงดูด โดยมีส่วนลดอยู่ที่ 33% เมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว และคาดว่ากำไรในปี 2025 จะเติบโตถึง 12.4%
ตราสารหนี้ – ใช้กลยุทธ์ “Duration Barbell” ท่ามกลางความกังวลด้านการคลัง และเงินเฟ้อ ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดเริ่มหันมาให้ความสนใจกับประเด็นความยั่งยืนทางการคลังหลังอัตราผลตอบแทน พันธบัตร ระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นจากภาวะไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์ และอุปทาน โดยอัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และญี่ปุ่น (JGBs) อายุยาวที่ปรับตัวพุ่งขึ้น
สะท้อนแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งมีแนวโน้มจะยืดเยื้อจากความไม่แน่นอน ของนโยบายภาษี ภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน และการเร่งตัวของปริมาณเงินในระบบ ทั้งในระยะ 3 เดือน และ 12 เดือนข้างหน้า เราจึงปรับลดน้ำหนักพันธบัตรรัฐบาลในประเทศพัฒนาแล้ว (DM) ลงสู่ระดับ “Neutral”
เนื่องจากคาดว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว จะยังคงอยู่ในระดับสูง และส่วนต่างอัตราผล ตอบแทนระยะสั้น -ยาว มีแนวโน้มชันขึ้น (steepening yield curve) สำหรับตราสารหนี้ภาคเอกชน เรายังคงเน้นลงทุนในกลุ่ม คุณภาพระดับ A/BBB และใช้กลยุทธ์ “Duration Barbell”
โดยเน้นลงทุนในตราสารระดับ Investment Grade ที่มีอายุตั้งแต่ 2-3 ปี และ 7-10 ปี กลยุทธ์ Liquid+ อายุ 2-3 ปี ของเรายังคงมีความเหมาะสมในภาวะเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง ทั้งด้าน การชะลอตัว และเงินเฟ้อ (stagflation) ขณะที่ตราสารหนี้ High Yield (HY) เรายังคงมีมุมมองระมัดระวัง เนื่องจากความเสี่ยงด้านการขยายตัวของส่วนต่าง อัตราผลตอบแทน (credit spread widening)
สินทรัพย์ทางเลือก – ให้น้ำหนัก “Overweight” ทองคำ พร้อมเป้าหมายที่ USD 3,765 ต่อออนซ์ ภายในไตรมาส 4 ปี 2025 มองหาโอกาสในสินทรัพย์นอกตลาดที่สร้าง รายได้ประจำ
ทองคำยังคงได้รับประโยชน์ไม่ว่าผลลัพธ์ทางนโยบายของ “ทรัมป์ 2.0” จะออกมาในรูปแบบใด ก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งมาตรการลดภาษี และการผ่อนคลายกฎระเบียบของทรัมป์ จะยิ่งตอกย้ำความกังวล ระยะยาว เรื่องการลดค่าเงินของสหรัฐฯ (monetary debasement) ในอีกด้านหนึ่ง
มาตรการกีดกันทางการค้า และนโยบายที่คาดเดายากจะกดดันให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรลดลง และ กระตุ้นให้เงินทุนไหลเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ
ในฝั่งของสินทรัพย์นอกตลาด เราแนะนำให้นักลงทุนมองหาโอกาสในกลุ่มการเข้าซื้อกิจการ (Buyouts) และ Private Equity ที่มุ่งเน้นบริษัทขนาดกลาง (Middle Market) ซึ่งมักมีระดับราคาซื้อขาย (valuation) ที่ไม่สูงมาก จึงมี ช่องว่างในการสร้างมูลค่าในระยะยาวได้มากกว่า อีกทั้งธุรกรรมในกลุ่มนี้มักใช้ภาระหนี้ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับดีลขนาด ใหญ่ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในสภาพแวดล้อมที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง
สรุปการลงทุนสำหรับไตรมาส 3 ปี 2025
หุ้น DBS ยังคงมุมมองเชิงบวกอย่างมากต่อหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐฯ จากแนวโน้มการเติบโตของ AI ที่ยังคงต่อเนื่อง ในระยะ 3 เดือนข้างหน้า เราแนะนําให้น้ำหนัก “Overweight” ในหุ้นยุโรปและเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จากแรงสนับสนุนของนโยบายการคลัง อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่จูงใจ และมูลค่าที่ซื้อขายด้วยส่วนลดเมื่อเทียบกับตลาดพัฒนาแล้ว
เครดิต ความเสี่ยงจากภาวะ stagflation และความผันผวนของอัตราผลตอบแทนระยะยาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เราให้น้ำหนักกับตราสารระดับ A/BBB และคงกลยุทธ์ “Duration Barbell” โดยเน้นช่วงอายุ 2-3 ปี และ 7-10 ปี นอกจากนี้ เรายังชื่นชอบพันธบัตรป้องกันเงินเฟ้อของสหรัฐฯ (TIPS), ตราสารทุนกึ่งหนี้ และตราสารหนี้คุณภาพดีที่มีอายุสั้น
อัตราดอกเบี้ย นักลงทุนที่จับตาความเสี่ยงด้านการคลัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ท่ามกลางปัญหาการคลังที่รุนแรงขึ้น ขณะที่นักลงทุนมีแนวโน้มกระจายพอร์ตออกจากสินทรัพย์ดอลลาร์มากขึ้น กระแสเงินทุนเริ่มไหลเข้าสู่พันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในเอเชีย
สกุลเงิน ทิศทางการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มต่อเนื่องจากความไม่เชื่อมั่นต่อนโยบายที่ขัดแย้งของรัฐบาลทรัมป์ โดยสกุลเงินปลอดภัยทางเลือกอื่น ๆ จะเป็นผู้รับประโยชน์หลักในช่วงนี้
สินทรัพย์ทางเลือก ทองคำยังคงมีแนวโน้มที่ดีจากแรงซื้อของธนาคารกลางทั่วโลก พร้อมทั้ง แนะนำเพิ่มน้ำหนักในกองทุนเฮดจ์ฟันด์, ตลาดรองของ Private Equity, ตราสารหนี้นอกตลาด และโครงสร้างพื้นฐานภาคเอกชน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่โดดเด่น
Thematic focus ระเบียบโลกใหม่ (New World Order) DBS มองว่าธุรกิจหุ่นยนต์มนุษย์ (humanoids), ระบบอัตโนมัติภาคอุตสาหกรรม (industrial automation) และกลุ่มอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอวกาศ (defence & aerospace) จะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์หลักในโลกยุคใหม่ที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การพึ่งพาตนเองและการปรับฐานการผลิตกลับสู่ภูมิลำเนา (reshoring)