บล.พาย: 

SCB: กฎเกณฑ์ใหม่สร้างความท้าทายมากขึ้น

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 149 บาท คำแนะนำซื้อสะท้อนกำไรที่เติบโตมั่นคง คุณภาพสินเชื่อที่ดี และมูลค่าหุ้นที่น่าดึงดูด มูลค่าพื้นฐานข้างต้นอิงวิธีคำนวณแบบ Gordon Growth Model (ROE 9.5%, อัตรา การเติบโต 2%) อิง 1.1x PBV’22E หรือคิดเป็นค่าเฉลี่ย 5 ปีของธนาคาร

  • คาดกำไรสุทธิโตขึ้น 2% YoY (+30% QoQ) ใน 1Q22 จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่สูงขึ้นจากปริมาณสินเชื่อที่โตขึ้น และอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่ปรับดีขึ้น
  • คาดว่าการปรับลดอันดับของ S&P Global Rating ส่งผลกระทบจำกัดต่อพื้นฐานของธนาคาร
  • แม้ประเมินว่าธนาคารมีระดับเงินกองทุนเพียงพอต่อการเข้าซื้อ Bitkub แต่มีความกังวลว่ากฎเกณฑ์ใหม่ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่จะควบคุมการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น อาจกระทบศักยภาพการเติบโตของ ธนาคารได้
  • คาดกำไรสุทธิโต 18% YoY ในปี 2022 และโตต่อเนื่อง 11% ในปี 2023 หนุนจากการตั้งสำรองหนี้ฯ ลดลง และรายได้จากการดำเนินงานที่สูงขึ้น
  • ราคาหุ้นปัจจุบันถือว่าไม่แพง ด้วยการซื้อขายที่เพียง 0.8x PBV’22E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ยในอดีต

คาดกำไรสุทธิ 1Q22 โต YoY และ QoQ

  • คาดกำไรสุทธิ 1Q22 ที่ 1.03 หมื่นล้านบาท โตขึ้น 2%YoY (+30% QoQ) การเติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อย YoY คาดเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่โตขึ้น ขณะที่การตั้งสำรองลดลง แม้จะมีค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้น  ส่วนการเติบโต 30% QoQ คาดได้แรงหนุนจากการตั้งสำรองและค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง
  • การเติบโตของสินเชื่อสุทธิช่วงเดือน ม.ค. และ ก.พ. โต เล็กน้อย 0.2% จากเดือน ธ.ค. 2021 (เทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ +0.2%) คาดสินเชื่อรวมใน 1Q22 โต 0.5% QoQ  ส่วนในอนาคตแม้อาจได้รับผลกระทบจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ แต่ยังประเมินว่าธนาคารจะพิชิตเป้าการเติบโตด้านสินเชื่อของเราที่ 4% YoY ในปี 2022 ได้
  • คาดอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) ลดลง QoQ เป็น 3.1% คาดอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จะลดลงเหลือ 45% ใน 1Q22 (4Q21: 44%) จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง
  • ประเมินอัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ที่สูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 3.9% ใน 1Q22 ด้วยอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ยังอยู่ระดับสูง 143% จากการตั้งสํารองส่วนเพิ่ม เพื่อความพร้อมในการรับมือกับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น

ผลกระทบเล็กน้อยจากการปรับลดอันดับโดย S&P

S&P Global Ratings ปรับลดอันดับของธนาคารจาก “BBB” เป็น “BBB-” เนื่องจากกลุ่มธนาคารไทยมีปัจจัยเสี่ยงเชิงระบบมากขึ้น ซึ่งปัญหาเชิงโครงสร้างในหมู่ผู้ปล่อยสินเชื่อของประเทศเป็นปัญหาที่ไม่ได้แก้กันได้ทันที มิหนำซ้ำยังถูกเติมด้วยสถานการณ์โควิด-19 เข้าไปอีก ยิ่งกว่านั้น ด้วยการที่เศรษฐกิจไทยพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูง  ยิ่งทำให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นและมีความเปราะบางสูง

เพื่อสะท้อนการปรับลดอันดับลงโดย S&P จึงคาดว่าต้นทุนดอกเบี้ยของธนาคารจะปรับเพิ่มขึ้น 200-300 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 0.5% ต่อประมาณการกำไรสำหรับปี 2022-24

EIC ปรับลด GDP ไทยปี 2022 เป็น 2.7%

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจของ SCB (EIC) ทำการปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2022 เป็น 2.7% YoY จาก 3.2% เพื่อสะท้อนถึงราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อไทยจะปรับเพิ่มเป็น 4.9% ในปี 2022 หรือสูงสุดในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่เราคาดว่าธนาคารจะสามารถพิชิตเป้าหมายการเติบโตด้านสินเชื่อของเราสำหรับปี 2022 ที่ 4% YoY ได้ นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยอ่อนไหวของระดับการเติบโตด้านสินเชื่อของธนาคารที่มีต่อประมาณการกำไรของเรา โดยได้ข้อสรุปว่าสินเชื่อที่ลดลงทุก 1% จะฉุดประมาณการกำไรสุทธิของเราสำหรับปี 2022 ลง 1%

คงประมาณการกำไรตามเดิม

เนื่องจากการปรับลดอันดับของ S&P จะส่งผลกระทบไม่มากนัก จึงคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-24 ตามเดิม โดยคาดว่ากำไรสุทธิของธนาคารในปี 2022 จะโตขึ้น 18% YoY และโตต่อเนื่อง 11% YoY ในปี 2023 อิงจากการตั้งสำรองที่ลดลง และรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น ขณะที่คาดว่าอัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ในช่วงปี 2022-24 จะโตขึ้น 9.3%/9.7%/10.3% ตามลำดับ

มูลค่าหุ้นไม่แพง

ราคาหุ้นปรับลดลงไป 11% YTD จากเดือน ธ.ค. 2021 (เทียบกับค่าเฉลี่ยของ SETBANK ที่ +1%) ส่วนหนึ่งเป็นการสะท้อนถึงความกังวลเกี่ยวกับสภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่สูงขึ้น โดยเชื่อว่ามูลค่าหุ้นในปัจจุบันเป็นระดับที่ไม่แพง ด้วยการซื้อขายกันที่ 0.8x PBV’22E หรือ -1SD ต่อค่าเฉลี่ยในอดีต

ประกาศกฎเกณฑ์ใหม่สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

ล่าสุด ธปท. ได้ออกกฎเกณฑ์ควบคุมกิจกรรมการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัทย่อยของธนาคารพาณิชย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงใหม่ๆ ที่อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นในกลุ่มธนาคารลง ธปท. จึงกำหนดให้บริษัทย่อยของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ จำกัดวงเงินการลงทุนไม่เกิน 3% ของฐานเงินทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ปัจจุบัน ธปท. ยังไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรง ขณะเดียวกัน ธปท. ได้ยกเลิกข้อจำกัดการลงทุนด้านเทคโนโลยีทางการเงิน (fintech) ของธนาคารพาณิชย์ที่ 3% ของฐานเงินทุน โดยอนุญาตให้ลงทุนในด้าน fintech มากขึ้น

คาดดีล Bitkub จะแล้วเสร็จใน 2Q22

ธนาคารเข้าลงทุนในบริษัทซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของไทยอย่างบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ด้วยจุดประสงค์ในการสนับสนุนการเติบในระยะยาว และเป็นการวางรากฐานสำหรับธุรกิจการเงินในอนาคต ด้วยการซื้อหุ้น 51% ของหุ้นทั้งหมดของ Bitkub จากบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ด้วยมูลค่าที่ 1.785 หมื่นล้านบาทในเดือน พ.ย. 2021 โดยคาดว่าดีล Bitkub จะแล้วเสร็จใน 2Q22 หลังจากมีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของดีลแล้ว โดยธุรกรรมครั้งนี้จะต้องเป็นไปตามกฎข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธปท. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหน่วยงานตามขั้นตอนการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ และการบรรลุตามกฎเกณฑ์เงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายอย่างครบถ้วน กฎเกณฑ์ต่างๆ อาจกระทบการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

ปัจจุบันยังคงรอข้อมูลเกี่ยวกับดีล Bitkub และการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ใหม่ของ ธปท. ต่อการลงทุนในสินทรัพย์ดิจทัล แต่เมื่อดูจากฐานเงินทุนของธนาคารที่ 4.24 แสนล้านบาทในเดือน ธ.ค. 2021 จึงประเมินว่าธนาคารมีเงินทุนมากพอต่อการเข้าซื้อ Bitkub โดยจะมีการหักฐานเงินทุนของธนาคารราว 3% ของเงินทุนทั้งหมดที่ราว 1.26 หมื่นล้านบาท และอีก 5.2 พันล้านบาท ทำให้เงินทุนปรับฐานใหม่หลังหักออกไป 5.2 พันล้านบาทจากดีล Bitkub จะอยู่ที่ราว 4.19 แสนล้านบาท ซึ่งสะท้อนการปรับลดลงของอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR ratio) ราว 25bp เป็น 18.55% (จาก 18.7% ก่อนเกิดดีล) ซึ่งยังสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของ ธปท. ที่ 12%

แต่ธนาคารมีแผนจ่ายเงินปันผลพิเศษครั้งเดียวจำนวน 7.0 หมื่นล้านบาทให้กับ SCBX ทั้งนี้ แม้ธนาคารจะมีฐานเงินทุนมากพอต่อการสนับสนุนดีล Bitkub แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ใหม่ที่อาจไปจำกัดโอกาสในการลงทุนด้านสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคตของธนาคารลง ซึ่งจะกระทบศักยภาพในการเติบโต และกลายเป็นปัจจัยที่ท้าทายต่อการบรรลุเป้าหมาย ROE ของธนาคารเองที่ 15-20% ในกรอบ 5 ปีข้างหน้า

SCBX tentative timeline

SCBX จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารจากผู้ถือหุ้นของธนาคาร โดยการออกและเสนอขายหุ้นสำคัญเพิ่มทุนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิของธนาคาร ในอัตราการแลกหลักทรัพย์เท่ากับ 1 หุ้นสามัญธนาคาร ต่อ 1 หุ้นสามัญของ SCBX และ 1 หุ้นบุริมสิทธิของธนาคารต่อ 1 หุ้นสามัญของ SCBX โดยจะดำเนินการ tender offer ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. – 18 เม.ย.

ทั้งนี้ ในการทำคำเสนอซื้อดังกล่าว SCBX จะยกเลิกคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ หากจำนวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายมีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของธนาคาร

ภายหลังการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารเสร็จสิ้น หลักทรัพย์ของ SCBX จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหลักทรัพย์ของธนาคารในช่วงปลายเดือน เม.ย. ซึ่งจะถูกเพิกถอนออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันเดียวกัน ซึ่งทางบริษัทจะใช้สัญลักษณ์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับธนาคารคือ SCB

แนะนำให้นักลงทุนแลกหุ้นของธนาคารกับหุ้น SCBX เพราะโครงสร้างธุรกิจใหม่จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทเข้มแข็งขึ้น สามารถให้บริการกับลูกค้าได้มากขึ้น

ปัจจุบันยังข้อรายละเอียดเพิ่มเติมหลังดีลนี้แล้วเสร็จ โดยยังคงประมาณการการเติบโตของกำไรของธนาคารที่ 18% YoY ในปี 2022 และโตต่อเนื่อง 11% YoY สำหรับปี 2023 หนุนจากการตั้งสำรองที่ลดลง และรายได้การดำเนินงานที่สูงขึ้น

Revenue breakdown

รายได้ของธนาคารในปี 2021 มาจาก 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย

(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิคิดเป็น 67% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2021 โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเป็นรายได้ส่วนที่มากที่สุด และหากสินเชื่อของธนาคารมีการเติบโต และ NIM ที่สูงขึ้น จะส่งผลให้รายได้ส่วนนี้ปรับตัวสูงขึ้น

(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการคิดเป็น 27% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2021 โดยธุรกิจส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้จากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ค่าธรรมเนียมประกันธนาคาร และค่าธรรมเนียม Wealth Management

(3) รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ คิดเป็น 10% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคารในปี 2021 รายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ ส่วนใหญ่เกิดจากกำไรการลงทุนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และเงินปันผล

- Advertisement -