บล.พาย:

บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) “1Q22 บาทอ่อนหนุนรายได้พุ่ง”

1Q22 กำไรสุทธิ 1,746 ลบ. (-3% YoY, -10%QoQ)

TU มีกำไรสุทธิงวด 1Q22 ที่ 1,746 ลบ. (-3%YoY, -10%QoQ) แต่ถ้าไม่รวมค่าใช้จ่ายทางบัญชีจากทาง Red Lobster ประมาณ 74 ลบ. รายได้เงินชดเชยคดีฟ้องร้องที่อังกฤษ 77 ลบ. และผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 47 ลบ. จะมีกำไรปกติ 1,815 ลบ. (-1%YoY, -14%QoQ) ดีกว่าที่เราคาดไว้ที่ระดับ 1,400 ลบ. ซึ่งเกิดจากภาษีที่รับรู้เป็นรายได้เข้ามากว่า 188 ลบ. (เราคาดว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย) โดยปัจจัยบวกคือราคาขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้หลังมีการเจรจากับลูกค้าได้บางส่วน และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง (สกุลสหรัฐฯ อ่อนลง 9%YoY ยูโรอ่อนลง 2%YoY และปอนด์อังกฤษอ่อนลง 6%YoY) ขณะที่ปัจจัยลบหลัก คือ ต้นทุนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และค่าขนส่งที่ยังอยู่ในระดับสูง รายได้อยู่ที่ 36,272 ลบ. (+17%YoY, -6%QoQ) การเติบโตจากปีก่อนเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกธุรกิจ โดยธุรกิจอาหารสัตว์และสินค้ามูลค่าเพิ่มปรับตัวเพิ่มถึง 27%YoY ส่วนอาหารแปรรูปและอาหารแช่แข็งเพิ่มขึ้น 14%YoY ส่วนการลดลงจาก 4Q21 เป็นการลดลงในกลุ่มอาหารแช่แข็งเป็นผลตามฤดูกาล กำไรขั้นต้นที่ 17.5% ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ลดลงจาก 18.2% ใน 4Q21 ซึ่งผลกระทบหลักมาจากต้นทุนและค่าขนส่งที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารอยู่ที่ 4,688 ลบ. (+29%YoY, -7%QoQ) ยังคงเป็นอีกไตรมาสที่ค่าระวางเรือที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลต่อค่าขนส่งรวม โดยในไตรมาสนี้มีค่าขนส่งเพิ่มอีกกว่า 710 ลบ. (1Q21 มี ประมาณ 200 ลบ. ส่วน 4Q21 มี 680 ลบ.) ส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมอยู่ที่ 177 ลบ. เพิ่มขึ้นจาก 32 ลบ. ใน 1Q21 และ 161 ลบ. ใน 4Q21 เนื่องจากผลประกอบการของ Red Lobster ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของสายพันธ์โอไมครอน ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามเงินเฟ้อและปัญหาแรงงานขาดแคลน โดยมีส่วนแบ่งขาดทุนเข้ามากว่า 243 ลบ. (เทียบกับกำไร 81 ลบ. ใน 1Q21 และขาดทุน 147 ลบ. ใน 4Q21 ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวไม่รวมผลจากการปรับมาตรฐานบัญชีที่มีอีกไตรมาสละประมาณ 100 ลบ.) ทั้งนี้ในงวด 1Q22 TU มีการบันทึกรายได้ภาษีเข้ามากว่า 188 ลบ. ส่วนใหญ่เป็นการบันทึกกลับจากผลประกอบการที่ขาดทุนของ Red Lobster

ต้นทุนปลาทูน่าเดือน เม.ย. เริ่มลดลง

หลังจากราคาปลาทูน่าปรับตัวเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 1,900 เหรียญฯ/ตัน ในเดือนมี.ค. แต่เดือน เม.ย. ราคาเริ่มปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1,800 เหรียญฯ/ตัน แล้ว ขณะที่การปรับราคาในช่วง 2Q22 ทำได้ในตลาดฝรั่งเศสเพิ่ม ช่วยลดแรงกดดันเรื่องต้นทุนวัตถุดิบลงได้ แต่ยังไม่มากนักเนื่องจากต้นทุนด้านอื่น อย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ยังคงได้รับผลกระทบอยู่ โดย TU เองหันไปใช้หุ่นยนต์ในการผลิตเพิ่ม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตมาชดเชยปัญหาต้นทุน ดังกล่าวลง สำหรับแผนธุรกิจในอนาคต TU ยังคงมองหาการออกสินค้าใหม่ โดยเฉพสินค้าที่มีการเพิ่มมูลค่า (Value-added) อย่างต่อเนื่อง ทั้งในกลุ่มอาหารแปรรูป (เช่น การออกสินค้าที่มีคุณค่าทางอาหารเพิ่ม) อาหารแช่แข็ง (เช่น สินค้าในกลุ่มพร้อมทาน หรือกุ้งชุบแป้งพร้อมทอด) และอาหารสัตว์ที่มีความพยายามเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้ากลุ่ม ODM (Original Design Manufacturer) เพิ่มอีกทาง นอกเหนือจาก OEM ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

ราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐานมาก คงคําแนะนํา ชื้อ

แม้ว่าผลประกอบการงวด 1Q22 จะออกมาดี แต่ด้วยฐานกำไรที่สูงในปี 21 ทำให้ประมาณการกำไรทั้งปีเรายังคงคาดไว้เท่าเดิมที่ 6,878 ลบ. (-14%YoY) ส่วนรายได้คาดไว้ที่ 148,417 ลบ. (+5%YoY แต่อาจจะปรับขึ้นในอนาคต เพราะต่ำกว่าที่บริษัทประเมินไว้ว่าจะเติบโต 7-8%YoY)

สำหรับคำแนะนำการลงทุน เรามองว่าด้วยผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าคาด อีกทั้งราคาปัจจุบันยังมีส่วนต่างกับมูลค่าพื้นฐานที่เราคาดไว้ที่ 22.1 บาท (16XPER’22E) อีกถึง 33% รวมถึง TU เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง เราจึงยังคำแนะนำ “ซื้อ” เช่นเดิม

- Advertisement -