KS Daily View 23.05.2022 >> หุ้นโลกคาดแกว่งตัวรอ Fed Minutes หุ้นไทยสัปดาห์นี้แนวต้าน 1650/1666 จุด SET วันนี้คาดแกว่งตัวในกรอบ 1620-1635 จุด หุ้นแนะนำ BEM

ต่างประเทศ : สัปดาห์นี้ KS ประเมินตลาดหุ้นโลกคาดจบรอบแกว่งตัวลง (Sideway Down) และกลับมาแกว่งตัว (Sideway) แต่อาจจะเห็นการ Rebound ในบางช่วงได้เนื่องจากประเด็นเรื่อง Fed ตลาดได้สะท้อน (price in)ในดัชนีไปมากแล้วและปัจจุบันตลาดเชื่อว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยฯ 50bps ในการประชุม 3 ครั้งถัดไป (ลดลงจากเดิมคาด 75 bps) ต้องติดตามวันที่ 26 พ.ค.ติดตามรายงาน Fed Minutes จะออกมาโทนใด หากออกมาจะไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยประเมินจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้น

ส่วนตลาดหุ้นฝั่งเอเซีย โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนคาดยังมีโมเมนตัมเชิงบวกและนำตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน หนุนจากวันศุกร์ที่แล้วธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย LPR-5years จาก 4.6% เป็น 4.45% กระตุ้นตลาดอสังหาฯ กระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องเพิ่มเติมจากรัฐบาลเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงเซี่ยงไฮ้จะคลายล๊อกดาวน์วันที่ 1 มิ.ย. บวกต่อตลาดหุ้นเอเซีย และบวกต่อหุ้นเรือเทกอง อาทิ PSL, TTA โดยจีนติดตาม upsides เพิ่มเติมในช่วง มิ.ย.-ก.ค.หากสหรัฐฯ-จีนสามารถเจรจาลดกำแพงภาษีนำเข้าสินค้า

ส่วนปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คือ สงครามรัสเซีย-ยูเครน รอดูท่าทีรัสเซียจะเป็นอย่างไร หลังฟินแลนด์-สวีเดนเข้าร่วมนาโต อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในช่วงหลังตลาดหุ้นเริ่มจะชิน และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ อาทิ ยอดขายบ้านใหม่, อัตราเงินเฟ้อ PCE/Core PCE Index เดือน เม.ย., และดัชนี PMI ในเดือน พ.ค. ซึ่งเกือบทุกดัชนีตลาดคาดจะอ่อนตัวลง จากผลกระทบสงคราม และเงินเฟ้อที่สูง ฯลฯ หากลดลงมากกว่าคาดอาจจะเป็นแรงกดดันตลาดหุ้นโลก

ในประเทศ : KS ประเมินดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์แกว่งตัวในกรอบ 1580 – 1650/1666 จุด โดยปัจจัยบวก (+) หนุน SET ยังคงเป็นเรื่องการเดินหน้าเปิดประเทศ วันศุกร์ ศบค. เปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ เริ่ม 1 มิ.ย.2565 และตัวเลขยอดการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของชาวต่างชาติมากขึ้น (นับตั้งแต่ต้นปี YTD เข้ามารวม 1.1 ล้านคน มากกว่าทั้งปี 2564 เข้ามาราว 5.9 แสนคน) บวกต่อกลุ่มร้านอาหาร (M,ZEN), กลุ่มค้าปลีก (CPALL), กลุ่มรถไฟฟ้าและทางด่วน (BEM, BTS ,DMT), กลุ่มท่องเที่ยวโรงแรม (AWC, DUSIT, MINT, CENTEL), กลุ่มห้างสรรพสินค้า (CPN), กลุ่ม packaging (BGC), และโรงพยาบาล (BH, BDMS)

ประเด็นสำคัญในประเทศที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ คือ

1.) รฟม.จะออกทีโออาร์ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกภายในเดือน พ.ค. เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหุ้นรับเหมาและรถไฟฟ้า อาทิ CK, BEM

2.) หลังการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. คุณชัชชาติชนะการเลือกตั้งติดตามนโยบายหาเสียงที่จะไม่ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ BTS ที่จะหมดอายุในปี 2029 อาจเป็น sentiment เลบต่อหุ้น BTS และบริษัทในเครือ VGI, PLANB

กลยุทธ์การลงทุน :

1.) กลุ่มเปิดเมือง อาทิ BEM, CENTEL,OR, PTG, D, AMATA
2.) กลุ่ม Growth อาทิ SINGER, BE8
3.) กลุ่ม Defensive อาทิ BH, BDMS, ADVANC, AP
4.) กลุ่มโรงกลั่น แนะนำ SPRC
5.) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าและได้ประโยชน์จากจีนเปิดประเทศ (CPF, GFPT,CBG, EKH)

Top pick :

BEM (ราคาพื้นฐาน 9.99 บาท) กระแสบวกจากการเปิดเมือง ทั้ง 1) นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสอาจเดินทางเข้าไทยได้โดยไม่ต้องตรวจโควิด-19 2) โรงเรียนเริ่มเปิดเรียนออนไซต์ 3) การเปิดร้านอาหารและบริการอย่างเต็มรูปแบบ เช่น การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 4) การกลับไปทำงานในสำนักงาน โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มการเดินทางและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อ BEM นอกจากนี้ BEM ยังจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีเหลือง และสายสีม่วงใต้ การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งคาดว่าจะประกาศ TOR ในสัปดาห์นี้ และโครงการทางด่วน 2 ชั้น

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน เม.ย. คาด +12.5% YoY และ +15.65% YoY ตัวเลขดุลการค้าของไทยเดือน เม.ย. คาดขาดดุล 382 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (จากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 1,460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตัวเลข Ifo Business Climate ของเยอรมัน เดือน พ.ค. คาด 91.4 จุด (-0.4% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Bostic
  • วันอังคาร ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 57.9 จุด (-2.2% MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 55.4 จุด (ทรงตัว MoM) ตัวเลข New home sales ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 0.75mn ยูนิต (-1% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell
  • วันพุธ ถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde ตัวเลข Durable goods orders ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +0.6% MoM การรายงานสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯรายสัปดาห์ ถ้อยแถลงของ Fed Brainard และ FOMC minutes
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม การประชุมธนาคารกลางเกาหลีใต้ คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 1.75% ตัวเลข Initial jobless claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด +2.21 แสนคน (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.18 แสนคน) และตัวเลข Pending home sales ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด -1.9% MoM
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลข Personal spending และ Personal income ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +0.7% MoM และ +0.6% MoM ตามลำดับ ตัวเลข Retail inventories ex auto ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +1.5% MoM ตัวเลข Wholesale inventories ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +2.1% MoM และตัวเลข Michigan consumer sentiment ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 59.1 จุด (-9.4% MoM)
- Advertisement -