บล.พาย:
BCPG: บมจ. บีซีพีจี “การเดินเครื่องโครงการใหม่ในญี่ปุ่น ช่วยหนุนกำไร 2Q22”
คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลง -19% เป็น 13.40 บาท กำไรปกติ 2Q22 อยู่ที่ 549 ล้านบาท (9% YoY, 6% QoQ) สอดคล้องกับคาดการณ์ โดยการเติบโต YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากการเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ (COD) ของโรงไฟฟ้า 3 แห่งในญี่ปุ่น (กำลังการผลิตรวม 65MW) คาดธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาวจะมีผลงานดีขึ้น (Nam San 3A &3B) หนุนจากปัจจัยตามฤดูกาลที่น่าจะช่วยขับเคลื่อนกำไรใน 3Q22 ได้
การ COD โครงการในญี่ปุ่นช่วยขับเคลื่อนกำไร 2Q22
- กำไรสุทธิ 2Q22 ลดลงเหลือ 330 ล้านบาท (-42% YoY, -76% QoQ) แตะจุดต่ำรอบ 2 ไตรมาสที่ลดลง QoQ เป็นเพราะการขาดหายไปของกำไรพิเศษครั้งเดียวที่เคยรับรู้ใน 1Q22 จากการขายเงินลงทุนโครงการ อินโดนีเซีย ส่วนที่ลดลง YoY เป็นผลจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
- หากไม่รวมรายการพิเศษครั้งเดียว (กำไรจากการขายสินทรัพย์ การด้อยค่าสินทรัพย์ และขาดทุนอัตรแลกเปลี่ยน) กำไรปกติจะอยู่ที่ 549 ล้านบาท (+9% YoY, +6% QoQ) การเติบโตทั้ง YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากการรับรู้รายได้จากโครงการในญี่ปุ่นขนาดรวมกัน 65MW ที่ COD ไปในช่วง 4Q21-1H22 ซึ่งช่วยชดเชยส่วนแบ่งที่ลดลงจากการขายสินทรัพย์โครงการอินโดนีเซียใน 1Q22
- ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดมาสู่แดนขาดทุน (จากกำไรใน 2Q21 และ 1Q22) สืบเนื่องจากการขายเงินลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียเมื่อ 1Q22
ภาพรวม 2H22 เป็นบวก
คาดกำไรปกติ 3Q22 โตต่อเนื่อง YoY จากการรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจากโรงไฟฟ้าพลังแสดงอาทิตย์ขนาด 65MW จำนวน 3 โครงการในญี่ปุ่น (COD ในช่วง 4Q21-2H22) ขณะที่คาดว่าช่วง high season สำหรับโรงไฟฟ้าพลัง น้ำในลาว (Nam San 3A &3B) จะช่วยหนุนการเติบโต QoQ ได้ นอกจากนี้ ยังคาดว่ากำไรจะแตะยอดสูงในปี 2022 และลดลงปีละประมาณ 10% ในช่วงปี 2023-24 จากสัญญาแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (adder) สำหรับโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในไทยที่จะสิ้นสุดลงในช่วงปี 2023-25 แต่เล็งเห็น upside จากโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด 469MW ในไต้หวัน ที่คาดว่าจะ COD ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป
คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานเป็น 13.40 บาท
คงคำแนะนำ “ซื้อ” แต่ลดมูลค่าพื้นฐานลง -19% เป็น 13.40 บาท คำนวณด้วยวิธีคิดลดเงินสด (DCF) (WACC 5.1%, TG 1%) อิง 20xPE’22E คาดบริษัทประกาศโครงการใหม่ใน 2H22 เพื่อเติมเต็มสัญญาแบบ adder ที่ หายไป และเพื่อชดเชยส่วนแบ่งกำไรจากการขายสินทรัพย์ในอินโดนีเซีย
การ COD โครงการในญี่ปุ่นช่วยขับเคลื่อนกำไรปกติใน 2Q22
- กำไรสุทธิ 2Q22 ลดลงเหลือ 330 ล้านบาท (-42% YoY, -76% QoQ) แตะจุดต่ำรอบ 2 ไตรมาส ที่ลดลง QoQ เป็นเพราะการขาดหายไปของกำไรพิเศษครั้งเดียวที่เคยรับรู้ใน 1Q22 จากการขายเงินลงทุนโครงการอินโดนีเซีย ส่วนที่ลดลง YoY เป็นผลจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน
- หากไม่รวมรายการพิเศษครั้งเดียว (กำไรจากการขายสินทรัพย์ การด้อยค่าสินทรัพย์ และขาดทุนอัตรแลกเปลี่ยน) กำไรปกติจะอยู่ที่ 549 ล้าน บาท (+9% YoY, +6% QoQ) การเติบโตทั้ง YoY และ QoQ ได้แรงหนุนจากการรับรู้รายได้จากโครงการในญี่ปุ่นขนาดรวมกัน 65MW ที่ COD ไปในช่วง 4Q21-1H22 ซึ่งช่วยชดเชยส่วนแบ่งที่ลดลงจากการขายสินทรัพย์โครงการอินโดนีเซียใน 1Q22
- รายได้โตแตะ 1.4 พันล้านบาท (+32% YoY, +24% QoQ) ใน 2Q22 หนุนจากการรับรู้ยอดขายจากโครงการในญี่ปุ่นขนาดรวมกัน 65MW และอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 65% จาก 64% ใน 2Q21 และ 1Q22 หนุนจากผลการดำเนินงานที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาวที่ปรับดีขึ้น
- ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดมาสู่แดนขาดทุน (จากกำไรใน 2Q21 และ 1Q22) สืบเนื่องจากการขายเงินลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียเมื่อ 1Q22
Updated Earnings Forecast
ลดมูลค่าพื้นฐานลง 19%
- ปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2022-23 ลง 2% และ 21 % ตามลำดับ หลังจากปรับลดการเติบโตของรายได้ GPM และส่วนแบ่งกำไรจาก BCPG ลง
- ประมาณการรายได้รวมผลกระทบจากการสิ้นสุดลงของสัญญาแบบ adder ของโครงการขนาด 38MW ในปี 2022 ขนาด 37MW ในปี 2023 และ 48MW ในปี 2024 เข้ามาแล้ว
Revenue breakdown
ธุรกิจหลักของบริษัทคือการผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทนรวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ พลังลม พลังน้ำ และความร้อนใต้พิภพ บริษัทมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 181MW ในประเทศไทย โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟภ. และ กฟผ. ซึ่งรายได้ 70% ของบริษัทนั้นมาจากการขายไฟฟ้าในประเทศ
และบริษัทย่อยของบริษัทเป็นเจ้าของและดำเนินงานธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น มีกำลังการผลิตรวม 34.7MW ซึ่งคิดเป็น 5% ของรายได้รวม อีกทั้งบริษัทได้ขยายการดำเนินงานไปยังประเทศลาวในปี 2019 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 114MW ซึ่งรายได้ส่วนนี้คิดเป็น 24% ของรายได้รวม
บริษัทยังได้ร่วมลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานลม 36MW ในฟิลิปปินส์ (สัดส่วนการถือหุ้น 40%) แต่ขายเงินลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพในอินโดนีเซียไปใน 1Q22