บล.บัวหลวง: 

Economics – เงินเฟ้อไทยเดือน มิ.ย. ขึ้น 0.23% YoY

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) ของไทยในเดือน มิ.ย. ปรับตัว ขึ้น 0.23% YoY ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ -0.1% YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับตัวขึ้น 1.32% YoY ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาด คาดที่ 1.40% YoY หากเปรียบเทียบรายเดือน CPI และ Core CPI ปรับตัวขึ้น 0.6% และ 0.02% MoM ตามลำาดับ จากตัวเลขดังกล่าว เราปรับประมาณการ CPI และ Core CPI ปี 2566 จาก 2% และ 1.5% ไปเป็น 1.5% และ 1.4% ตามลำดับ

ส่องกล้องเดือน มิ.ย.

เงินเฟ้อชะลอตัวลง YoY โดยหลักมาจากกลุ่มที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ปรับตัวลง 1.9% YoY (ค่าไฟที่ปรับตัวขึ้นถูกกลบโดยราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงแรง) ขณะที่กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวขึ้น 3.4% YoY (ราคาเนื้อสัตว์ที่ปรับตัวลงถูกกลบโดยราคาสินค้าประเภทอื่นที่ปรับตัวขึ้น ได้แก่ ผัก ผลไม้ ไข่ นม และข้าว) ขณะที่ดัชนีปรับตัวขึ้น 0.6% MoM จากกลุ่มค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวขึ้น (หลักๆ จากการหักการอุดหนุนค่าไฟของ รัฐบาล)

แนวโน้มแต่ละกลุ่มในช่วงที่เหลือของปี

เราคาดเงินเฟ้อในเดือนเดือน ก.ค. จะกลับมาโตประมาณ 0-0.1% MoM โดยการปรับลงของราคาพืชผลอาจลดลงในช่วงหน้าฝน ชดเชยกับการปรับขึ้นของราคาสินค้าอื่นๆ ส่วน CPI เทียบกับปีก่อนเราคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นประมาณ 0.5% YoY ในขณะที่ Core CPI จะชะลอลงเหลือประมาณ 1% YoY จากฐานปีก่อนที่สูงขึ้น ทั้งนี้หากราคาน้ำมันหรือราคาอาหารไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมากจากปัจจุบัน CPI ในช่วงที่เหลือของปีจะอยู่ในกรอบ 0.3-0.6%YoY และ Core CPI 0.9-1.2%YoY

ประมาณการ CPI ปี 2566

เราปรับคาดการณ์ CPI ปี 2566 จาก 2% ไปเป็น 1.5% YoY และ Core CPI จาก 1.5% ไปเป็น 1.4% YoY โดยอาจมีอัพไซด์หากราคาน้ำมัน (มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดวันที่ 20 ก.ค. และไม่มีการต่ออายุ) หรือราคาอาหาร ผลกระทบ El Nino) ปรับตัวขึ้นอย่างมีนัย ในขณะเดียวกันก็อาจ มีโอกาสลดต่ำกว่าคาดหากราคาน้ำมันลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือมีนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะปรับลดค่าไฟและราคาน้ำมัน

ผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย

อิงจากตัวเลข CPI ล่าสุดที่ต่ำกว่า 1% YoY และมีแนวโน้มที่จะยืนในระดับต่ำกว่า 1% ช่วงที่เหลือของปี 2566 เรามองว่า กนง.ไม่มีความจําเป็นที่ต้องประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้ออีก (ล่าสุดขึ้นจาก 1.75% มาเป็น 2% ในการประชุมวันที่ 31 พ.ค. 2566) รวมถึงน่าจะยังไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆ นี้ จากแนวโน้มการฟื้นตัว/เติบโตของเศรษฐกิจที่ยังคงได้แรงหนุนมาจากภาคการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

 

- Advertisement -