ตลาดหุ้นเมื่อวานนี้

SET Index เพิ่มขึ้น 1 จุด (+0.06%) ปิดที่ 1,549 จุด จากแรงซื้อหุ้นกลุ่มน้ำมัน และโรงกลั่นตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีปรับขึ้นจำกัด เนื่องจากยังมีแรงเทขายหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าและกลุ่มไฟแนนซ์ กดดันดัชนี

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้

ประเมิน SET อ่อนตัวแนวรับ 1,540 – 1,545 จุด ตามความกังวล FED ตรึงดอกเบี้ยระดับสูงเป็นเวลานานจากภาวะเงินเฟ้อ หลังดัชนีภาคบริการสหรัฐเดือน ส.ค.พุ่งขึ้นสู่ 54.5 หนุนให้ US bond yield ดีดขึ้นซึ่งเป็นลบต่อ Fund flow ต่างชาติ ดังนั้นจึงแนะนำ Selective buy ในกลุ่มที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เช่น กลุ่ม Commodity น้ำมัน ยางพารา น้ำตาล และกลุ่มได้ประโยชน์นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย

กลยุทธ์การลงทุน: Selvectie buy

  • PTTEP BCP SPRC ราคาน้ำมันดิบยืนเหนือ 87 US/Barrels
  • STA NER TEGH KSL KBS BRR ราคายางพาราและน้ำตาลเพิ่มขึ้น
  • CPALL CPAXT HMPRO GLOBAL DOHOME CPN CRC COM7 SYNEX คาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย

หุ้นแนะนำวันนี้

  • SPRC (ปิด 9.30 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 10.70 บาท) คาดงบ 3Q23 พลิกมีกำไรจากที่ขาดทุนสุทธิ 2,100 ล้านบาทใน 2023 โดยมีปัจจัยหนุนจากค่าการกลั่นที่เพิ่มขึ้นและมีกำไรจาก Stock gain ตามราคาน้ำมันดิบที่พุ่งแรง
  • SEAFCO (ปิด 3.40 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 4.15 บาท) ได้ Sentiment บวก รมว.คมนาคม คนใหม่เตรียมปัดฝุ่นและเร่งผลักดันโครงการค้างท่อ อาทิ มอเตอร์เวย์, ทางด่วน, และเส้นทางรถไฟฟ้า และได้ประโยชน์หากรัฐลดราคาขายปลีกดีเซล (ต้นทุนของ SEAFCO)

บทวิเคราะห์วันนี้

  • Transportation sector (Top pick: BEM), ALLY (Prompt act)

ประเด็นสำคัญวันนี้

(-) ดาวโจนส์ลดลง 199 จุด นักลงทุนยังกังวลเฟดคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูง: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ลดลง 199 จุด (-0.57%) ปิดที่ระดับ 34,443 จุด จากแรงเทขายหุ้นกลุ่ม Tech กังวลเฟดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบกลับมาสูงขึ้นส่งผลให้เงินเฟ้ออาจจะกลับมาสูงขึ้นได้อีกในอนาคต

(+/-) PMI ภาคบริการของสหรัฐให้แนวโน้มที่ขัดแย้งกันแต่มองเป็นค่าเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง: โดย PMI ภาคบริการเดือน ส.ค.ที่จัดทำโดย ISM เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 54.5 จาก 52.7 ในเดือน ก.ค. ขณะที่ตัวเลขจาก S&P Global หดตัวสู่ระดับ 50.5 จาก 52.3 อย่างไรก็ตาม หากคิดเป็นค่าเฉลี่ยทรงตัวที่ 52.5 ตามเดิม (ไม่ได้แย่)

(+/-) ติดตามตัวเลข ส่งออก/นำเข้าจีน เพื่อหาสัญญาณฟื้นตัวของส่งออกไทย: เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของไทยหากขึ้นมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจะส่งผลบวกต่อการส่งออกของไทยโดยตรง เบื้องต้น Consensus คาดยอดส่งออกจะหดตัว 9.8%yoy แต่ดีขึ้นจากเดือน ก.ค.ที่หดตัว 14.5%yoy ส่วนยอดนำเข้าคาด หดตัว 8.8% แต่ดีขึ้นจากเดือน ก.ค. ที่หดตัว 12.4%

ข่าวในประเทศและต่างประเทศ

สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ

ไทย

(+/-) นักท่องเที่ยวต่างชาติช่วง 28 ส.ค.-3 ก.ย.66 มีจํานวนทั้งสิ้น 505,006 คน คิดเป็นจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยเฉลี่ยวันละ 72,229 คน ส่งผลให้ต้ังแต่วันที่ 1 ม.ค.66 มีจํานวนนักท่องเท่ียวสะสมทั้งส้ิน 18,076,075 คน

(-) ฟิทช์ เรทติ้งส์ เตือนว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และคาดว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของคณะรัฐบาลชุดใหม่ของไทยอาจจะส่งผลให้หนี้สินของรัฐบาลเพิ่มขึ้น

(+) นายจลุพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ยืนยันว่า โครงการจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ท 1 หมื่นบาท จะดําเนินการผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยจะไม่จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการได้ภายในวันที่ 1 ก.พ.67 หรือภายในไตรมาส 1/2567

(+) สภากทม.ไฟเขียวงบปี 67 กว่า 9 หมื่นลบ. เตรียมประกาศใช้ 1 ต.ค.66

สหรัฐ

(+/-) ยอดนําเข้าเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 1.7% และการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.6% ส่งผลให้สหรัฐขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.50 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.80 หมื่นล้านดอลลาร์

(-) ดัชนี PMI ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค. ของสหรัฐ ปรับตัวลงสู่ระดับ 50.5 จากระดับ 52.3 ในเดือนก.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 51.0

(+) ISM รายงานดัชนีภาคบริการพุ่งขึ้นสู่ระดับ 54.5 ในเดือนส.ค. จากระดับ 52.7 ในเดือนก.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 52.5

ยุโรป

(-) เยอรมนี – ยอดสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค. ลดลง 11.7% จากเดือนมิ.ย. ที่เพิ่มขึ้น 7.6% และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 4.0%

เอเชีย

(+) อินเดีย – ONGC บริษัทน้ํามันและก๊าซธรรมชาติอันดับ 1 ของอินเดียเผยอินเดียนําเข้าน้ํามันจากรัสเซียเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลก

- Advertisement -