รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

Investment Strategy
กลยุทธ์ : การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยหรือในอาเซียน เคลื่อนไหวในทางตรงข้ามกับตลาดหุ้นสหรัฐในรอบนี้ คงไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลอะไร เพราะปัญหากาลังแก้ไขกันโดยการเร่งฉีดวัคซีน แต่ประเด็นลบที่เห็นได้ค่อนข้างชัดมาก คือ เม็ดเงินต่างชาติไม่ไหลเข้า ดังนั้นในช่วงนี้ เรามองว่า ดัชนีน่าจะเริ่มแกว่งตัวออกข้าง หรือดีสุดคือซึมขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในแต่ละตลาด โดยในตลาดหุ้นไทย เรามองว่าแม้แนวโน้มการติดเชื้อจะยังมาก แต่ดูเหมือนดัชนี SET จะลงไปทดสอบจุดที่จะเด้งกลับได้แล้วเพียงแต่จะไปต่อขนาดไหนขึ้นกับจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันว่าจะมากจนต้องประกาศ lockdown หรือไม่นอกนั้นจะอิงกับงบ Q2/21

แนวโน้มดัชนีวันนี้คาดจะปรับตัวขึ้นทะลุ 1600 จุด หลังเมื่อวานนี้เริ่มมีแรงซื้อหุ้นเพื่อทาปิดงบและการดัชนีได้ซึมตัวลงรับข่าวการออกมาตรการกึ่ง lockdown มาหลายวันโดยเรามองว่าดัชนีได้ลงไปในระดับที่เพียงพอที่จะมีการรีบาวน์ขึ้นกลับรอบใหม่มาเล่นเหนือ 1600 จุดอีกครั้งในสัปดาห์นี้ โดยมีปัจจัยหนุนจาก มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและตลาดหุ้นในต่างประเทศยังไปได้ดี กลุ่มอุตสาหกรรมที่เริ่มค่อยๆ มีแรงซื้อคืนเข้ามาคือ ปิโตรเคมีและพลังงานนอกนั้นจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากการเยียวยาของรัฐบาลและผลของการแพร่ระบาดของCOVID อย่าง ค้าปลีกเล็ก โรงพยาบาล ไฟแนนซ์ วันนี้มองแนวต้านที่ 1602-1606 จุดและแนวรับที่1586-1582 จุด แนะนำ PTT PTTGC SCC IRPC CPN STA

Themes play :
CPF CPALL : เราแนะนำ ซื้อเก็งกำไร CPF CPALL ที่ราคาหุ้นยังปรับตัวขึ้นช้ากว่าตลาด (laggard) อยู่มาก โดยราคาหุ้นของ CPF ปรับตัวลดลง -1.87% เทียบจากต้นปี (YTD) ในขณะที่ราคาหุ้น CPALL ปรับตัวเพิ่มขึ้น +3% YTD เทียบกับ SET ที่ +9.8% โดยจากฐานข้อมูลของ Bloomberg consensus เราจะพบว่าหุ้นทั้ง 2 บริษัท คาดว่าจะมีกำไรฟื้นตัวในปีนี้ โดย CPF คาดว่าจะมีกำไรเติบโต 15% yoy และ CPALL เติบโต 2.7% yoy ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้เติบโตมากนักจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศที่ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับสูง 4-5 พันราย/วัน แต่ราคาหุ้นก็ได้มีการปรับลงมาสะท้อนปัจจัยดังกล่าวไปมากแล้ว

เราเชื่อว่าหากการกระจายวัคซีนเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นและนำไปสู่การเปิดประเทศได้ตามเป้า 120 วัน การบริโภคจับจ่ายใช้สอยก็จะเพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งจะส่งผลบวกต่อรายได้และผลกำไรของทั้ง CPF และ CPALL ในระยะสั้นหากพิจารณาคาดการณ์ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/64 (Bloomberg consensus) จะพบว่า CPF คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 6.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น +15.5% yoy ส่วน CPALL คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 4.1 พันล้านบาท เติบโต 42.8% yoy (จากฐานที่ต่ำมากในไตรมาส 2/63 เนื่องจากมีการ lockdown 46 วัน)

โดยเราเชื่อว่ากำไรที่ฟื้นตัวดีในไตรมาส 2/64 จะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นในระยะสั้นได้ หากพิจารณาในแง่ของการประเมินมูลค่าหุ้น (Valuation) เราจะพบว่า Bloomberg consensus ให้ราคาเป้าหมายของ CPF เฉลี่ยที่ 37.67 บาท หรือมี upside 42% (Buy/Hold/Sell : 20/4/1) ส่วน CPALL มีราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 69.63 บาท หรือมี upside 17% (Buy/Hold/Sell : 19/7/2)

CGS-CIMB : ประเด็นในสัปดาห์
30 มิ.ย. : จีนประกาศตัวเลข Manufacturing PMI เดือน มิ.ย. จากเดือนก่อนหน้าที่ 51
30 มิ.ย. : สหรัฐประกาศตัวเลข ADP Employment Change เดือน พ.ค. จากเดือนก่อนหน้าที่ 9.78 แสนราย
30 มิ.ย. : สหรัฐประกาศตัวเลข Pending Home Sales MoM เดือน พ.ค. จากเดือนก่อนหน้าที่ -4.40%
1 ก.ค. : การประชุมกลุ่มโอเปกพลัสเพื่อพิจารณานโยบายการผลิตน้ามันดิบ
1 ก.ค. : จีนประกาศตัวเลข Caixin China PMI Mfg เดือน มิ.ย. โดยตลาดคาด 51.9 จากเดือนก่อนหน้าที่52
1 ก.ค. : สหรัฐประกาศตัวเลข Markit US Manufacturing PMI เดือน มิ.ย. จากเดือนก่อนหน้าที่ 62.6
1 ก.ค. : สหรัฐประกาศตัวเลข Construction Spending MoM เดือน พ.ค. โดยตลาดคาด 0.5%จากเดือนก่อนหน้าที่ 0.2%
1 ก.ค. : สหรัฐประกาศตัวเลข ISM Manufacturing เดือน มิ.ย. โดยตลาดคาด 61 จากเดือนก่อนหน้าที่61.2

Opportunity Day
วันที่ 30 มิ.ย.: NNCL SIMAT CAZ PRIME

Fundamental Stock :
IRPC : คำแนะนำ : ถือ ราคาเป้าหมาย : 4.20 บาท

Technical Pick
กลยุทธ์ : SET Index แนวโน้มหลักยังมีความเสี่ยงในการปรับตัวลดลงไปทดสอบแนวรับถัดไปที่ 1570 และ 1540 เป็นเป้าหมายในการปรับฐานตามกรอบแนวโน้มขาขึ้น โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1600 ถ้าสามารถทะลุผ่านขึ้นไปได้ จะเป็นสัญญาณซื้อทางเทคนิคไปทดสอบแนวต้านถัดไปที่ 1615 และ 1630

SYNEX
แนวรับ : 27.25 และ 26.75
แนวต้าน : 29.50 และ 30.50
MGT
แนวรับ : 4.00 และ 3.94
แนวต้าน : 4.30 และ 4.50

- Advertisement -