ตลาดหุ้นวานนี้
SET ผันผวนในกรอบจำกัด ปิดที่ 1,579. 28 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากตลาดยังไม่มีปัจจัยหนุนใหม่ประกอบกับหุ้นในกลุ่ม Domestic Play (ท่องเที่ยว&ธนาคาร) ยังถูกกดดันจากตัวเลขผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ที่เร่งตัวขึ้น
แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้
คาด SET แกว่งตัว 1,570 – 1,590 จุด เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน โดยแม้ว่ากลุ่มพลังงานจะได้แรงหนุนราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นเหนือ 76 US/Barrels หลังกลุ่มโอเปกพลัสเลื่อนการประชุมออกไปจากความเห็นการขยายเวลาลดการผลิตน้ำมันที่ไม่ตรงกัน อย่างไรก็ตามยอดผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศที่พุ่งขึ้น รวมถึง Fund flow ต่างชาติไหลออกยังคงกดดันต่อภาวะตลาดในช่วงนี้
กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy
- กลุ่มพลังงาน PTT PTTEP TOP ราคาน้ำมันดิบทรงตัวระดับสูง
- กลุ่มส่งออก HANA KCE TU CPF ASIAN EPG อานิสงส์เงินบาทอ่อนค่า
- หุ้นที่คาดว่างบ 2Q21 เติบโต BCH CHG BDMS HMPRO GLOBAL HMPRO BEM CKP CBG ICHI
หุ้นแนะนำวันนี้
- BDMS (ปิด 23.6 ซื้อ/เป้า 26) ราคาหุ้นยัง Laggard จากกลุ่ม โดย YTD ราคาหุ้น BDMS เพิ่มขึ้นเพียง 14% ขณะที่ BCH และ CHG เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 70% ผลประกอบการจะทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ 2Q21 และพุ่งแรงใน 3Q21 จาก High Season และยังมี Upside จาก Theme เปิดเมือง
- OSP (ปิด 38.25 ซื้อ/เป้า 40) คาดกำไร 2Q21 เติบโต yoy และ qoq โดยมีปัจจัยหนุนมาจาก 1) กลับมาเปิดเตาหลอมแก้วช่วยลดต้นทุนหนุน GPM, 2) ยอดขาย CLMV กลับมาฟื้นตัว และ 3) มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มผสมวิตามินของ ร.พ. ยันฮี
บทวิเคราะห์วันนี้
ADVANC (ปิด 171 ซื้อ/เป้า 210), PTTEP (ปิด 119 ซื้อ/เป้า 160)
ประเด็นสำคัญวันนี้
- (+/-) OPEC+ ยังตกลงกันไม่ได้ เลื่อนการประชุมไม่มีกำหนด: ล่าสุดที่ประชุม OPEC+ ที่ดำเนินการมาแล้ว 3 วัน ประกาศยกเลิกการประชุม เนื่องจากที่ประชุมยังตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณการผลิตของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะ UAE ยังเป็นประเทศที่คัดค้านข้อเสนอและต้องการเพิ่มโควตาการผลิต
- (+/-) ดัชนี PMI ภาคบริการของยูโรโซนยังขยายตัวดีแต่จีนเริ่มชะลอลง: ยูโรโซนรายงานดัชนี PMI ภาคบริการเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 58.3 จาก 58.0 ในเดือน พ.ค. ส่งผลให้ PMI รวมภาคผลิตและบริการพุ่งสู่ระดับ 59.5 สูงสุดในรอบ 15 ปี อย่างไรก็ตาม PMI ภาคบริการจีนกลับลดลงสู่ระดับ 50.3 ต่ำสุดในรอบ 14 เดือน
- (+/-) เงินเฟ้อทั่วไปของไทยปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 3: อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน มิ.ย.ลดลงสู่ระดับ 1.25% จาก 2.44% ในเดือน พ.ค. นับเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 3 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทยอยเพิ่มขึ้นเป็น 0.52% จาก 0.49% ในเดือน พ.ค. แม้จะยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำแต่เป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน (Covid-19 กระทบพฤติกรรมการใช้จ่ายกดดันราคาสินค้าหลายรายการลดลง)