สำนักวิจัยซีไอเอ็มบี ไทย :

สถานการณ์เศรษฐกิจที่สำคัญ
กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 11.6% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี หลังจากขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในเดือนเม.ย. โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ลดลงอย่างหนักในปีที่แล้ว จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การใช้จ่ายเฉลี่ยของภาคครัวเรือนที่มีสมาชิกอย่างน้อย 2 คนอยู่ที่ 281,063 เยน (2,500 ดอลลาร์ฯ) ซึ่งการเพิ่มรายปีครั้งนี้ถือเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่ญี่ปุ่นได้เริ่มจัดเก็บข้อมูลในเดือนม.ค. 2544 รองจากในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาที่มีการขยายตัว 13%

ทั้งนี้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่เพิ่มขึ้น 6.2%อย่างไรก็ดี หากเทียบเป็นรายเดือน การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือนพ.ค.ลดลง 2.1% จากเดือนเม.ย. และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เจ้าหน้าที่กระทรวงฝ่ายกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น กล่าวว่า การใช้มาตรการคุมโควิด-19 รอบที่ 3 ในญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย.จนถึงกลางเดือนมิ.ย.ในโตเกียว ได้ฉุดรั้งการบริโภคภาคเอกชน

 ส่วนรายได้ต่อเดือนโดยเฉลี่ยของครัวเรือนที่มีสมาชิกอย่างน้อย 2 คนในเดือนพ.ค.ลดลง 2.6% เมื่อเทียบรายปี แตะที่ 489,019 เยน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.8% ในเดือนเม.ย. Source: https://www.ryt9.com

– สำนักงานสถิติเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดช็อปปิ้งออนไลน์ของเกาหลีใต้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา รายงานระบุว่า ยอดช็อปปิ้งออนไลน์ของเกาหลีใต้ อยู่ที่ 16.06 ล้านล้านวอน (1.42 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ตัวเลขดังกล่าวทะลุหลัก 16 ล้านล้านวอน (1.41 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เป็นครั้งแรก เพราะชาวเกาหลียังคงนิยมทำอาหารในบ้านและสั่งอาหารกลับมาทานที่บ้านในยุคการระบาดของโควิด-19 (Source: https://www.ryt9.com)

– อุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีได้ปรับลดคาดการณ์การผลิตรถยนต์ในปีนี้ โดยบ่งชี้ว่า การฟื้นตัวจากโควิด-19 จะเป็นไปอย่างยากลำบาก ขณะที่ผู้ผลิตเผชิญกับภาวะชะงักงันด้านอุปทาน สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนีปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของการผลิตรถยนต์ลงเหลือ 3% จาก 13% ที่เคยคาดไว้ก่อนหน้านี้ โดยระบุว่า การผลิตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาต่ำกว่าคาดอย่างมาก โดยคาดการณ์ในรายงานตลาดรอบครึ่งปีว่า เยอรมนีจะมีการผลิตรถยนต์ 3.6 ล้านคันในปีนี้ ลดลง 400,000 คันจากการคาดการณ์ครั้งก่อน (Source: https://www.ryt9.com)

– ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.1% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในการประชุมวันอังคารที่ผ่านมา พร้อมส่งสัญญาณว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำจนถึงสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ RBA ประกาศว่าจะขยายโครงการซื้อพันธบัตรออกไปจนถึงอย่างน้อยในช่วงกลางเดือนพ.ย. 2564 แต่จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรลงเหลือ 4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียต่อสัปดาห์ จากปัจจุบันที่ระดับ 5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียต่อสัปดาห์
– (Source: https://www.ryt9.com)

MONEY MARKET
– ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาท วันอังคาร (6 ก.ค ) เงินบาทวันนี้อ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ค่าเงินเอเชียวันนี้มีทั้งที่อ่อนค่าและแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยดอลลาร์สหรัฐฯยังมีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาทในช่วงนี้ ขณะที่นักลงทุนก็รอดูสัญญาณว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะเริ่มลดมาตรการ QE เมื่อไหร่

CAPITAL MARKET
-ตลาดหุ้นสหรัฐฯ วันอังคาร (6 ก.ค ) ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐลดลงวันนี้เนื่องจากแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,577.37 ลดลง 0.60%, ดัชนี S&P500 ปิดลดลง 0.20% และดัชนี Nasdaq ปิดเพิ่มขึ้น 0.17%

-ตลาดหุ้นไทย วันอังคาร (6 ก.ค ) ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้สูงขึ้นสอดคล้องกับดัชนีตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่โดยปัจจัยแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศสำคัญทั้งสหรัฐฯ จีน รวมทั้งยุโรปหนุนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ขณะเดียวกันแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยหลายประเทศที่เป็นขาขึ้นก็เป็นปัจจัยลบที่ต้องจับตามากขึ้น ปิดตลาดวันนี้ SET INDEX เพิ่มขึ้น 12.15 จุด

Analyst View
เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในวันอังคารที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปตามทิศทางแนวโน้มการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงนี้จากปัจจัยเรื่องการคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ขณะที่ปัจจัยในประเทศนักลงทุนจับตาเกี่ยวกับตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 และความคืบหน้าวัคซีน

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ทางด้านญี่ปุ่น การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 11.6% ในเดือนพ.ค.เมื่อเทียบรายปี หลังจากในเดือนเม.ย.ขยายตัว 13% อย่างไรก็ดี หากเทียบเป็นรายเดือน การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือนพ.ค.ลดลง 2.1% จากเดือนเม.ย. เนื่องจากการใช้มาตรการคุมโควิด-19 รอบที่ 3 ในญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย.จนถึงกลางเดือนมิ.ย.ในโตเกียว ได้ฉุดรั้งการบริโภคภาคเอกชน

ส่วนทางด้านออสเตรเลีย ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.1% และประกาศว่าจะขยายโครงการซื้อพันธบัตรออกไปจนถึงอย่างน้อยในช่วงกลางเดือนพ.ย. 2564 แต่จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรลงเหลือ 4 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียต่อสัปดาห์ จากปัจจุบันที่ระดับ 5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียต่อสัปดาห์

- Advertisement -