บล.เอเชียพลัส:

กําไรยังแรง หนุนด้วยธุรกิจปิโตรเคมี

คาดการณ์กําไร 2Q64 ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มข้ึน 1%QoQ ธุรกิจปิโตรเคมี มีโมเมนตัมดีต่อเนื่องจากงวด 1Q64 และได้ผลบวกจาก Spread ท่ีเพิ่มขึ้นในสายธุรกิจ PVC ช่วยชดเชย Stock Gain ที่มีไม่มากเหมือนงวด 1Q64 ธุรกิจ ซีเมนต์ได้รับผลกระทบบ้างจากภาคการก่อสร้างที่ชะลอตัวในเดือน มิ.ย. ส่วน ธุรกิจ Packaging เติบโตได้จากการทํางบการเงินรวมกับ SOVI และ Go-Pak

ทุกธุรกิจหลักมีแนวทางการเติบโตที่ชัดเจนในระยะยาว ท้ังการเพิ่มกําลังการผลิตในธุรกิจปิโตรเคมี และดีลซื้อกิจการของธุรกิจ Packaging ฝ่ายวิจัย ประเมินราคาเหมาะสมส้ินปี 2564 ด้วยวิธี DCF ได้ที่ 500 บาท เทียบเท่า PER 12.8 เท่า มี Upside 19% พร้อมคาดหวัง Dividend Yield อีก 4.17% แนะนํา ซื้อ

คาด 2Q64 กําไรสุทธิ 1.51 หมื่นล้านบาท เพิ่มข้ึน 61%YoY

คาดการณ์กําไรสุทธิ 2Q64 ท่ี 1.5 หมื่นล้านบาท (+1.2%QoQ,+60.9%YoY) กําไรเติบโต QoQ แม้ Stock Gain ในธุรกิจปิโตรเคมีจะลดลงมาก แต่ชดเชยได้จาก Spread ผลิตภัณฑ์ สาย PVC ท่ีเพิ่มข้ึน และ Lag time ในการขายสินค้าล่วงหน้า 1 เดือน ทําให้ Spread ผลิตภัณฑ์หลักอื่นๆยังอยู่ในเกณฑ์ดี กําไรธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และ Packaging อ่อนตัว QoQ ตามฤดูกาลท่ีมีวันหยุดมากและเริ่มได้รับผลกระทบจากต้นทุนพลังงานท่ี เพิ่มขึ้น ไตรมาสน้ีมีเงินปันผลจากธุรกิจลงทุนเข้ามาเป็นรายได้อื่นราว 500-700 ล้านบาท

Spread ปิโตรเคมีสาย Olefin ที่อ่อนตัว จะกดดันกําไร 3Q64

แนวโน้มกําไร 3Q64 น่าจะอ่อนตัว QoQ จาก Spread HDPE และ PP เทียบกับ Naphtha ท่ีลดลงแรงเหตุผลหลักมาจากราคา Naphtha พุ่งข้ึนตามราคาน้ํามันดิบขณะที่ราคาเม็ด พลาสติกปรับข้ึนช้ากว่าเพราะมี Supply ส่วนเกินจากผู้ผลิตในตะวันออกกลางเข้ามาในภูมิภาค กอปรกับสถานการณ์โควิดที่กลับมารุนแรง ทําให้ผู้ซื้ออยู่ในภาวะ Wait&See ธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างได้รับผลกระทบช่วงสั้นจากกิจกรรมการก่อสร้างที่ชะลอตัว ส่วนธุรกิจ Packaging น่าจะกําไรเติบโตจากการเริ่มรวมงบการเงิน Duy Tan และ Intan

พื้นฐานธุรกิจยังแข็งแกร่ง พร้อมฝ่าฟันทุกอุปสรรคที่เข้ามา

ทุกธุรกิจหลักมีแนวทางการเติบโตท่ีชัดเจนในระยะยาว ฝ่ายวิจัยประเมินราคาเหมาะสมสิ้น ปี 2564 ด้วยวิธี DCF ได้ท่ี 500 บาท เทียบเท่า PER 12.8 เท่า มี Upside 19% พร้อม คาดหวัง Dividend Yield อีก 4.17% แนะนํา ซื้อ

คาดกําไร 2Q64 เติบโตต่อเนื่องจากฐานที่สูงมากใน 1Q64

ภาพรวมผลประกอบการ 2Q64 เช่ือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดีมาก คาดการณ์กําไรสุทธิ 1.5 หมื่น ล้านบาท (+1.2%QoQ, +60.9%YoY) กําไรเติบโตมาจากธุรกิจปิโตรเคมีเป็นหลัก เพราะได้กําลังการผลิตส่วนเพิ่มจากโครงการ MOC Debottleneck ต้ังแต่เดือน เม.ย. 64 อีกท้ัง Spread สาย PVC ที่เพิ่มขึ้นมาก ช่วยชดเชย Stock Gain ท่ีคาดไตรมาสน้ีจะมีเพียง 2-300 ล้านบาท ลดลงจากงวด 1Q64 ท่ีมีเข้ามาถึง 1,140 ล้านบาท ส่วนธุรกิจหลักอื่นๆ ประคองตัวได้ดีท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมท่ีไม่ค่อยเอื้ออํานวย โดยไตรมาส 2 ของทุกปี SCC จะมี รายได้เงินปันผลรับจากธุรกิจลงทุนเข้ามาอีกราว 5-700 ล้านบาท

ธุรกิจปิโตรเคมี: หลังเปิดดําเนินงานเชิงพาณิชย์โครงการ MOC Debottleneck ในเดือน เม.ย. 64 ทําให้ SCC มีกําลังการผลิตปิโตรเคมีต้นน้ําเพิ่มขึ้น 3.5 แสนตัน/ปี หนุนยอดขายเม็ดพลาสติก Polyolefin (PE+PP) เพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนตัน/ไตรมาส จากฐานปกติที่ขายได้ ราว 4.5 แสนตัน/ไตรมาส ขณะท่ี Spread ของ HDPE-Naphtha และ PP-Naphtha ใน 2Q64 แม้ปรับตัวลงจาก 1Q64 โดย Spread HDPE-Naphtha ลดลงจาก 588 USD/ตัน เหลือ 586 USD/ตัน และ Spread PP-Naphtha ลดลงจาก 791 USD/ตัน เหลือ 702 USD/ตัน เนื่องจากราคา Naphtha ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ํามันดิบ ในขณะที่ราคาเม็ดพลาสติก HDPE และ PP ปรับตัวข้ึนตามไม่ทัน เพราะมี Supply ส่วนเกินจากผู้ผลิตในตะวันออกกลาง ไหลเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากข้ึน หลังประเทศอินเดียท่ีเคยเป็นผู้นําเข้าหลักจากผู้ผลิตในตะวันออกกลางประสบปัญหาการแพร่ระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิดและมีความต้องการใช้เม็ดพลาสติกน้อยลง นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องการจัดหาตู้ขนส่ง Container ทําให้ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกหลายประเทศไม่สามารถระบายสินค้าไปสู่จุดหมายท่ีไกลออกไปได้ และต้องมุ่งเน้นทําการตลาด ภายในประเทศตัวเองเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันท่ีรุนแรงข้ึนจากในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ตาม SCC มีการขายสินค้าล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน จึงไม่ได้รับผลกระทบจากSpread ที่ลดลงมากนักในงวด 2Q64 ขณะท่ี Spread สาย PVC เพิ่มขึ้นมาก โดยงวด 2Q64 Spread PVC-EDC/C2 อยู่ที่ 660 USD/ตัน เทียบกับ 534 USD/ตันในงวด 1Q64 เข้ามาชดเชยผลกระทบจาก Stock Gain ท่ีคาดว่าไตรมาสน้ีจะมีเพียง 2-300 ล้านบาท เทียบกับงวด 1Q64 ท่ีมี Stock Gain เข้ามาถึง 1,140 ล้านบาท โดยรวมเชื่อว่าธุรกิจปิโตรเคมียังทํากําไรได้ดีมากในงวด 2Q64

สําหรับแนวโน้มกําไรธุรกิจปิโตรเคมีในงวด 3Q64 น่าจะเห็นการอ่อนตัวลงชัดเจนเทียบกับงวด 2Q64 จาก Spread ของ HDPE-Naphtha ท่ีลดลงต่อเนื่องทุกเดือน โดยช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ก.ค. Spread ลดลงเหลือเพียง 445 USD/ตัน และ Spread PP-Naphtha อยู่ท่ี 575 USD/ตัน สาเหตุสําคัญมาจากราคา Naphtha ที่พุ่งข้ึนอย่างรวดเร็วตามราคาน้ํามัน ส่วน Spread สาย PVC ก็เร่ิมลดความร้อนแรงลงจาก Supply ในฝั่งอเมริกาท่ีเคยประสบปัญหาพายุฤดูหนาวเร่ิมกลับเข้ามาสู่ตลาดมากขึ้น โดย Spread PVC-EDC/C2 สัปดาห์แรกของเดือน ก.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 569 USD/ตัน เทียบกับค่าเฉลี่ยงวด 2Q64 ที่ 660 USD/ตัน

ธุรกิจปูนซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง: อ้างอิงจากตัวเลขของสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง พบว่าปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศเดือน เม.ย. ลดลง 1.6%YoY เหตุผลเป็นเพราะ เดือน เม.ย. 63 รัฐบาลส่ังยกเว้นวันหยุดยาวสงกรานต์จึงมีจํานวนวันทํางานมากกว่าเดือน เม.ย.64 แต่การใช้ปูนซีเมนต์กลับมาเติบโตอีกคร้ังในเดือนพ.ค.ท่ี 6.3%YoY สําหรับเดือน มิ.ย. จะเป็นเดือนท่ีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ ระบาดอย่างหนักของไวรัสโควิด-19 ทําให้ภาครัฐออกมาตรการควบคุมงานก่อสร้างและกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่าง ฝ่ายวิจัยเช่ือว่าปริมาณการใช้ปูนซีเมนต์โดยรวมช่วง 2Q64 น่าจะติดลบเล็กน้อยเทียบกับปีก่อน แต่สําหรับสินค้าวัสดุก่อสร้างอื่นเช่น กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องหลังคา น่าจะเห็นการเติบโตได้ดีโดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัดท่ีกําลังซื้อของผู้บริโภคได้รับผลบวกจากราคาสินค้าเกษตรท่ีเพิ่มขึ้น อีกทั้งในปีนี้ร้านค้า Modern Trade ซึ่งเป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าวัสดุก่อสร้างของ SCC ไม่ได้ถูกสั่งปิดเหมือนปีก่อน กลยุทธ์หลักท่ี SCC นํามาใช้ต่อเนื่องคือการมุ่งเน้นตลาด Retail ที่ทำกําไรได้ดีกว่าตลาด Wholesale รวมถึงการขายสินค้าพร้อมบริการที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภค ส่วน โครงการลดต้นทุนท่ีสําคัญมีท้ังการเพิ่มกําลังการผลิตของ Solar Farm จากส้ินปี 2563 ที่มี 67MW เป็น 94 MW ภายในปีน้ี การนําระบบ LEAN มาใช้ในทุกกระบวนการเพื้อลด Operating Cost และการใช้พลังงานทางเลือกจากวัสดุเหลือใช้การเกษตรทดแทนการใช้ถ่านหินเป็นต้น โดยรวมเชื่อจะเห็นกําไรเติบโต YoY แต่ลดลงตามฤดูกาล QoQ

ธุรกิจ Packaging: ช่วง 2Q64 ถือเป็น Low Season ของธุรกิจเพราะมีวันหยุดยาวจากเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทยและเทศกาล Hari Raya ในประเทศอินโดนีเซีย ขณะท่ีต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนพลังงานที่เพิ่มข้ึนยังคงเป็นปัจจัยกดดันสําคัญ อย่างไรก็ตามฝ่าย วิจัยเช่ือว่า SCGP น่าจะทํากําไรจากการดําเนินงานเติบโตจากปีก่อน เนื่องจากมีฐานรายได้เพิ่มข้ึนจากการทํางบการเงินรวมกับ SOVI ในเดือน ธ.ค. 63 (รายได้ 2,200 ล้านบาท/ปี) และ Go-Pak ในเดือน ม.ค. 64 (รายได้ 2,800 ล้านบาท/ปี ) บวกกับโรงงาน Fajar#2 กําลัง การผลิต 4 แสนตัน/ปี ในประเทศอินโดนีเซียได้เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 64

ทิศทางผลการดําเนินงานของ SCGP ในอนาคตยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ทั้งจากการขยายกําลังการผลิต 5 โครงการ Brown field ในไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่จะทยอย แล้วเสร็จใน 2Q-2Q65 เมื่อ 5 โครงการดังกล่าว Operate เต็มปี จะช่วยเพิ่มรายได้ปีละ 1.1 หมื่นล้านบาท รวมถึงดีลซื้อกิจการและจับมือเป็นพันธมิตรท่ีช่วงกลางปีน้ีจะมีการสรุปดีลบริษัท Duy Tan ในเวียดนาม (รายได้ 6,100 ล้านบาท/ปี) และ Intan Group ใน อินโดนีเซีย (รายได้ 3,000 ล้านบาท/ปี) และใน 3Q64 จะมีการสรุปดีลซื้อบริษัท Deltalab ในสเปน (รายได้ 2,800 ล้านบาท/ปี) ทั้งหมดนี้เป็นไปตามแผนงานของ SCGP ท่ีมีเป้าหมายจะเพิ่มรายได้ขึ้น 1 เท่าตัว ภายใน 5 ปีข้างหน้าภายหลังเข้า IPO ในปี 2563

ประเด็นความเสี่ยง

1.ความผันผวนของราคาน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ส่งผลกระทบต่อการทํากําไรของ SCC โดยราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงทุก 10 เหรียญฯ/บาร์เรลจะทําให้ SCC มีผลขาดทุนจากสต็อกประมาณ 700-1,000 ล้านบาท

2.ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบต่อผลการดําเนินงานของ SCC ที่มีสถานะเป็น NetExporter โดยการแข็งค่าทุก 1 บาท/USD จะกระทบต่อกําไรของ SCC ให้ลดลงประมาณ 2,000 ล้านบาท

 

- Advertisement -