บล.บัวหลวง:

(Eastern Commercial Leasing ECL TB /ECL.BK)

ECL – ยังต้องรอความชัดเจนของการฟื้นตัวครั้งใหม่

จากภาพอุตสาหกรรมสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังขาดปัจจัยหนุน และอยู่ในช่วงที่ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น อีกทั้งยังมีแรงกกดดันด้านต้นทุนตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น อีกทั้งในส่วนธุรกิจใหม่ของ ECL เอง ยังต้องรอเห็นผลชัดเจนอีกระยะหนึ่ง

เรายังคงน้ำหนักการลงทุนสำหรับกลุ่มการเงิน “น้อยกว่าตลาด” และสําหรับ ECL คงคำแนะนำถือ โดยครั้งนี้เราได้ปรับลดราคาเป้าหมายลงเป็น 2.06 บาท (เดิม 2.16 บาท) ตามการปรับลดประมาณการกำาไร และ PE กลุ่มฯ ที่มีการ De-rating ไปก่อนหน้านี้ (จากเดิม 20 เท่า เหลือ 14.2 เท่า) ทั้งนี้ เราประเมินอัตราผลตอบแทนปันผลที่ยังสูงกว่า 4-5% ต่อปี…

กำไร 4Q22 ลดลง YoY จากฐานสูง แต่ฟื้นตัว QoQ

ECL รายงานกําไรสุทธิ 4Q22 ที่ 44 ล้านบาท ลดลง 40% YoY (เนื่องจากฐานสูงใน 4Q21 จากการกลับรายการตั้งสำรอง) แต่ฟื้นตัว 17% QoQ จาก ชการตั้งสํารองที่ลดลง กําไรสุทธิที่ออกมาต่ำกว่าที่เราคาด 19.8% เนื่องจาก รายได้ดอกเบี้ยรับน้อยกว่าคาด และต้นทุนทางการเงินสูงเกินคาด โดยรายได้ดอกเบี้ยรับอยู่ที่ 113 ล้านบาท -3% YoY (แต่ทรงตัว QoQ) เป็นไปตามพอร์ตสินเชื่อสุทธิที่ลดลง เนื่องจากมีลูกค้าชำระคืนมากกว่าการขยายสินเชื่อใหม่ ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (Interest Spread) อยู่ที่ 7.2% เพิ่มขึ้นจาก 6.8% ใน 3Q21 ตามอัตราดอกเบี้ยรับเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แต่ลดลงเล็กน้อยจาก 7.3% ใน 3Q22 ขณะที่การตั้งสํารองอยู่ที่ 9 ล้านบาท พลิกจากที่กลับรายการ สํารองสุทธิ 36 ล้านบาท ใน 4Q21 แต่ลดลงจาก 15.8 ล้านบาท ใน 3Q22 ภาพรวมกำไรสุทธิปี 2022 อยู่ที่ 185 ล้านบาท ลดลง 5% YoY เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับลดลง 13% YoY ตามพอร์ตสินเชื่อที่ลดลง แต่ชดเชยด้วย Interest Spread ที่เพิ่มขึ้นจาก 7.05% ในปี 2021 เป็น 7.15% ในปี 2022

ภาพรวมคุณภาพสินทรัพย์ปี 2022 ดีขึ้น

สําหรับคุณภาพสินทรัพย์ (NPL) ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2022 อยู่ที่ 4.7% ของพอร์ตสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 4.6% ของพอร์ตสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2022 (แต่ลดลงอย่างมีนัยสําคัญจาก 5.0% ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2021 ขณะที่หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Gearing ratio) ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2022 อยู่ที่ 1.3 เท่า ลดลงจาก 1.4 เท่า จากสิ้นเดือน ก.ย. 2022 ทั้งนี้ เรามองว่ายังเป็นระดับที่เพียงพอรองรับการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อได้ และยังมีวงเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำราว 2.6% จากพันธมิตรญี่ปุ่นด้วย

คาดกําไรจากการดำเนินงาน 1Q23 ยังทรงตัว QoQ

เราคาดกําไรจากการดำเนินงาน 1Q23 จะลดลง YoY (แต่จะทรงตัว QoQ) โดยเราประเมินว่ารายได้ดอกเบี้ยรับจะลดลง YoY ตามพอร์ตสินเชื่อสุทธิที่ยังน้อยกว่างวด 1Q22 แต่จะทรงตัว QoQ ต่อได้ ขณะที่ Interest Spread คาดว่าจะลดลง YoY (ทรงตัว QoQ) ตามต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น

กลยุทธ์ปี 2023 ลุยขยายพอร์ตหลัก และปักธงธุรกิจ Car for Cash

ปี 2023 ECL ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อใหม่ราว 3 พันล้านบาท (ปี 2022 อยู่ที่ 1.9 พันล้านบาท) ซึ่งเป็นไปตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยว บวกกับการขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์และพันธมิตร เช่น คาร์ ฮีโร่ และโอมาคาเสะ คาร์ (Platform ซื้อ-ขายรถฯ) ที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว ส่วนสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ (Car for cash) อยู่ในช่วงจัดตั้งทีมงาน และระบบไอที คาดว่าจะเป็นรูปธรรมช่วง 2H23 ซึ่งเราได้รวมในประมาณการแล้ว ขณะที่ NPL ค่อนข้างมั่นใจว่าจะลดลงต่ำไปราว 4% ซึ่งหากทําได้ ก็ถือว่าดีกว่าที่เราคาดไว้อยู่ราว 4.5%

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2023-24

เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2023 ลง 4% เป็น 216 ล้านบาท (เติบโต 17% YoY) (และปรับลด ของปี 2024 ลง 8%) โดยหลักๆ เราปรับลดสมมติฐาน Interest spread ลงเป็น 8.13% (เดิม 8.33%) เพื่อสะท้อนความคาดหวังของการขยายพอร์ตสินเชื่อกลุ่มได้ดอกเบี้ยสูง (Car 4 Cash) ที่ล่าช้ากว่าแผนเดิม (คาดเริ่มในช่วง 2H23) ทําให้ราคาเป้าหมายของเราปรับลดลงเป็น 2.06 บาท (เดิม 2.16 บาท) ซึ่งอิง Fully Diluted EPS (ที่ 0.15 บาท/หุ้น) ที่ PE 14.2 เท่า (อิงตามค่าเฉลี่ยกลุ่มการเงิน) มีอัปไซด์จากราคาปัจจุบันจำกัด เราจึงคงคำแนะนำถือ รับปันผลราว 4-5% ต่อปี

ความเสี่ยงที่สําคัญ

บริษัทประกอบธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อบุคคล มีความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหภาค หนี้ครัวเรือน เป็นความเสี่ยงหลัก และมีความเสี่ยงเฉพาะธุรกิจ

ความเสี่ยงด้านการเงิน: ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย, ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน, ความเสี่ยงจากโอกาสในการก่อหนี้เพิ่มในอนาคต

ความเสี่ยงด้านประกอบธุรกิจ: ความเสี่ยงด้านการตลาดและการแข่งขัน, ความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มือสอง, ความเสี่ยงจากการดำเนินงานอันเกิดจากสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้, ความเสี่ยงจากการจําหน่ายรถยนต์ที่ยึดคืนมา

ความเสี่ยงด้านบริหารจัดการ: ความเสี่ยงจากอิทธิพลในการบริหารงานของผู้ถือหุ้นรายใหญ่, ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะ

- Advertisement -