สรุปภาวะตลาด

วันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหว sideway ในแดนลบ เนื่องจากยังมีประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมือง นอกจากนี้ นักลงทุนยังติดตามตัวเลข CPI ของสหรัฐ และการประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยของเฟด ในช่วงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,551.41 จุด -3.70 จุด -0.24% มูลค่าการซื้อขาย 31,788 ลบ. ต่างชาติ +60.30 ลบ. TFEX -8,336 สัญญา ตราสารหนี้ -1,581.05 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 189.55 จุด หรือ +0.56% ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2565 โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ และผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในสัปดาห์นี้

+ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าค่ำวันนี้สหรัฐจะเปิดเผยดัชนี CPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงานในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 4.1%YoY ชะลอตัว จาก 4.9%YoY ในเดือนเม.ย. สอดคล้องกับผลสํารวจของ FED สาขานิวยอร์คเกี่ยวกับคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภค แม้ตัวเลขยังสูงกว่าเป้าที่ระดับ 2% แต่บ่งชี้ว่าเงินเฟ้อสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และจะไม่กดดันให้ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสองวันนี้

+ FedWatch Toot ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 79.4% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และให้น้ำหนักเพียง 20.6% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25-5.50%

+ คณะกรรมการ EEC เปิดเผยว่าไม่มีสัญญาณว่านักลงทุนย้ายฐานการผลิตหนีจากประเทศไทย แม้มีผลกระทบบ้างจากการรอรัฐบาลชุดใหม่ ส่วน BOI ยืนยันนักลงทุนต่างชาติยังสนใจเข้าลงทุน

ปัจจัยลบ-

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 3.05 ดอลลาร์ -4.4% ปิดที่ 67.12 ดอลลาร์/บาร์เรลกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และอุปสงค์ที่อ่อนแรงลงในประเทศจีนผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ของโลก ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ และผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใน สัปดาห์นี้

– วิกฤติภัยแล้งกำลังจะเกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สภาพอากาศแบบเอลนีโญที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศแห้งแล้งไปอีก 2-3 ปี ส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตภาคเกษตรกรรมของประเทศให้ลดลง

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสรีบาวด์ เนื่องจากตลาดคาดว่าดัชนีเงินเฟ้อสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว อีกทั้งการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 5.00-5.25% อย่างไรก็ตาม เรื่องการประชุมผู้ถือหุ้น ITV ยังเป็นประเด็นกดดันทางการเมืองที่กดดันดัชนี มองกรอบดัชนีในวันนี้ 1,545-1,560 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นปันผลดี : TISCO INTUCH, หุ้นเด่นเกาะ Megatrend : BE8 BBIK GABLE, หุ้นยั่งยืน : EA WAVE, หุ้นเติบโตใน EEC : AMATA WHA ORI, หุ้นพื้นฐานเด่น : PJW XO
  • สินค้าส่งออกเดือน เม.ย. ที่ยังขยายตัวได้ดี : GFPT TFG
  • หุ้นเข้า FTSE SET Index : Large Cap เข้า MAKRO TRUE ออก BEM DIF Mid Cap เข้า BEM BTG DIF ITC SAPPE SISB SNNP SCAP ออก CPNREIT RAM SINGER TRUE VIBHA XPG มีผล 19 มิ.ย.

หุ้นรายงานพิเศษ

SISB “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” (Bloomberg Consensus 44.00 บาท) “กำไร 1Q66 Record High ต่อเนื่อง”

  • รายงานกำไร 1Q66 ที่ 159 ลบ. +152%YoY และ +24%QoQ โดยได้แรงหนุน 1) จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น 170 คนจากไตรมาสก่อนสู่ 3,284 คน โดยจำนวนนักเรียนต่างชาติเพิ่มขึ้น 102 คนและนักเรียนไทย 68 คน และ 2) การปรับขึ้นค่าเล่าเรียน 5% ตั้งแต่ ส.ค. 65 ช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ที่ระดับ 55.7% เพิ่มขึ้นจาก 53.3% ใน 4Q65 เนื่องจากต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่ และมีอัตรากำไรสุทธิ 1Q66 ที่ 36.5%
  • ผบห.คาดจำนวนนักเรียนปี 66 เติบโต 8-10% สู่ 3,700 คน โดยได้แรงหนุนจากการเปิดโรงเรียน นนทบุรี และระยองช่วงเดือน ส.ค. 66 ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนสมัครเข้ามาทั้ง 2 สาขา แล้ว 250 คนจากเป้าหมาย 300 คน เป็นปัจจัยหลักที่หนุนการเติบโต นอกจากนี้ในเดือน ส.ค. 66 จะปรับขึ้นค่าเล่าเรียนอีก 5% ทั้งนี้ บริษัทมีแผนขยายห้องเรียนที่สาขา ประชาอุทิศ ธนบุรี สุวรรณภูมิ และเชียงใหม่เพิ่มเติมหลังจำนวนนักเรียนทั้ง 4 สาขา New High ในปี 1Q66 โดยในปัจจุบันมี Utilization rate ราว 85.9% (Utilization rate 4Q65 อยู่ที่ 82.7%)
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลการดำเนินงาน 2Q66 และผลประกอบการปี 66 เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและการเปิดเรียนที่โรงเรียนเต็มรูปแบบ อีกทั้งโรงเรียนอีก 2 สาขาจะแล้วเสร็จช่วง ส.ค. 66 ช่วยหนุนการเติบโตเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นราว 98.2%YTD เราจึงแนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว”

หุ้นมีข่าว

(+) BJC (Bloomberg consensus 43.50 บาท) ชี้กำลังซื้อในประเทศ นักท่องเที่ยวหนุนยอดขายต่อสาขา เดิมไตรมาส 2/2566 เติบโตต่อเนื่อง คงเป้ายอดขายทั้งปีเติบโต 10-15% รับอานิสงส์ต้นทุนค่าไฟ อะลูมิเนียม น้ำมันปาล์มที่เริ่มอ่อนตัว หนุนศักยภาพการทำกำไร (ที่มา ทันหุ้น)

(+) LEO (Bloomberg consensus – บาท) ตั้ง PwC นั่งที่ปรึกษาทางการเงิน ทำดีลซื้อกิจการบริษัทขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศด้าน Chemical Logistics ด้านผู้บริหารมั่นใจต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์ สร้างรายได้เพิ่ม คาดใช้เงินลงทุน 150 ล้านบาท พร้อมรับรู้รายได้ทันทีในไตรมาส 3/2566 นี้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) VGI (Bloomberg consensus 3.70 บาท) วางเป้าปี 2566/2567 รายได้รวมเติบโต 20-30% แตะ ระดับ 6-6.5 พันล้านบาท คาดรักษามาร์จิ้นเหนือ 10% พร้อมวางเป้าอัตราการใช้สื่อเพิ่มเป็น 55-60% อัดงบ ลงทุน 1.15 พันล้านบาท เสริมแกร่งธุรกิจ เล็งลงทุนซื้อกิจการต่อยอด (ที่มา ทันหุ้น)

(+) MAJOR (Bloomberg consensus 20.10 บาท) งบไตรมาส 2/2566 สดใส หนังทำเงินแรงหลายเรื่อง นำโดย Fast&Furious10 ทำรายได้ทะลุ 200 ล้านบาท พร้อม Guardians of the Galaxy Vol3, Transformers 2023 ทั้งปีผลประกอบการดี รายได้จากธุรกิจป๊อบคอร์นขายดี แถมไตรมาส 2/2566 บันทึก กำไรพิเศษจากการขายหุ้น MPIC (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
    • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
    • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 30 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 13 ก.ค. กกต.รับรองผลเลือกตั้งวันสุดท้าย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 13 มิ.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.
    • สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือน พ.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค.
  • 13-14 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ทราบผลเช้าวันที่ 15 มิ.ย. เวลาในประเทศไทย)
  • 14 มิ.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • (เช้าวันที่ 15 มิ.ย.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
  • 15 มิ.ย. จีน รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.
    • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
    • สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • 22 มิ.ย. นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐต่อคณะกรรมการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐ
- Advertisement -