Valuation SET INDEX อยู่ในจุดที่ควรทยอยสะสม

SET INDEX ปรับฐานลงมาในเดือน ม.ค. ราว 4.4% รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นของ US Bond Yield การปรับฐานของตลาดหุ้นจีน และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไทยที่แย่กว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ (ธนาคารพาณิชย์ และ ปีโตรเคมี) แม้อาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯที่โอกาสปรับลดดอกเบี้ยเริ่มน้อยลง เพราะตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังไม่เห็นสัญญาณอ่อนแอประกอบกับราคาน้ำมันเริ่มปรับขึ้นมาจะยิ่งกดดันเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ประกอบกับระดับ Valuation ของ SET INDEX ค่อนข้างไม่แพงมากนัก จึงประเมิน Downside Risk จึงจำกัดจากระดับ 1370 แนะกลยุทธ์สะสมในหุ้น ที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรม อาทิ สนามบิน (AOT) โรงแรม (CENTEL MINT) ค้าปลีก (CPALL)

  • SET INDEX ตั้งแต่ต้นปี 24 จนถึงช่วงวันที่ 22 ม.ค. ปรับลงมา 4% รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นของ US Bond Yield จากการที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯรายงานออกมาแล้วส่วนใหญ่ดีกว่าตลาดคาดการณ์ จนทำให้นักลงทุนเริ่มปรับมุมมองว่าดอกเบี้ยจะไปปรับลงในช่วง เดือน พ.ค. 24 จากเดิมประเมินไว้ที่ มี.ค. 24 ประกอบกับผลประกอบการกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางรายงานผลประกอบการ 4Q23 ที่แย่กว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ (KTB) เพราะสำรองที่เร่งตัวขึ้นจากลูกค้ารายใหญ่และบางธนาคาร (KBANK) คุณภาพสินทรัพย์เห็นสัญญาณอ่อนแอจากการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้ ชั้น 2 และ ชั้น 3 โดยเฉพาะจากลูกค้า SME ขณะเดียวกันยังเผชิญอีกแรงกดดันจากกระแสเงินทุนต่างชาติที่ขายสุทธิต่อเนื่อง YTD ขายไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท (ข้อมูล ณ 24 ม.ค.) ประเมินว่าสาเหตุที่นักลงทุนต่างชาติขายต่อเนื่องอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาจีน ค่อนข้างสูง หากดูการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้นจีน (CS1300) กับ SET INDEX ตั้งแต่ช่วงปี 22 จะพบว่ามีค่าความสัมพันธ์ระหว่างกัน สูงถึง 0.89 บ่งชี้ว่าระหว่างทั้ง 2 ดัชนีมีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกันสูง หากพิจารณาในเชิงปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจระหว่างไทยกับจีนพบว่าเศรษฐกิจไทยเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนค่อนข้างสูง ผ่านการส่งออกและการท่องเที่ยว โดยมูลค่าส่งออกของไทยทั้งหมด มีจีนเป็นอันดับ 2 ด้วยสัดส่วน 12% ขณะที่การท่องเที่ยวแม้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 23 สัดส่วนนักท่องเที่ยวจีนจะคิดเป็นเพียง 12-15% แต่หากพิจารณาช่วงปี 19 สัดส่วนมากถึง 30%
  • เศรษฐกิจจีนเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวเล็กน้อยหนุนจากการขยายตัวของยอดค้าปลีก (Retail Sale) และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) อย่างไรก็ตามสัญญาณอื่นๆยังไม่เห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ รวมถึงยอดขายอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลจีนทยอยุประกาศออกมา อาทิ ลดจำนวนเงินฝากกับธนาคารกลาง (RRR) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ขณะเดียวกัน Valuation ของตล่าดหุ้นจีนก็อยู่ในจุดที่ค่อนข้างถูก โดย CS1300 ลงมาซื้อขายเพียง 11.8x Forward PE นับเป็นระดับที่ใกล้เคียง -1SD ซึ่งน่าจะช่วยสนับสนุนให้ Downside Risk เริมจำกัดและจะเป็นปัจจัยบวกทางอ้อม ต่อไทยทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
  • ฝั่งสหรัฐฯก็เผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะดอกเบี้ยที่เริ่มเห็นโอกาสลดดอกเบี้ยที่น้อยลง ก่อนหน้าช่วงปลายปี 23
    ประธาน FED ส่งสัญญาณจะปรับลดดอกเบี้ยในปี 24 อย่างไรก็ตามภายหลังเข้าสู่เดือน ม.ค. ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯรายงานออกมาดีกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ประกอบไปด้วย ยอดขายบ้านมือหนึ่ง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคผลิต (PM) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่ำคาดยอดค้าปลีกที่สูงกว่านักวิเคราะห์คาด ขณะเดียวกันราคา
    น้ำมันดิบ Brent ก็เริ่มปรับขึ้นมา 2% จะเป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อปรับลงยาก ซึ่งด้วยตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา ดีและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มปรับขึ้น ส่งผลให้ CME FED Watch ปรับน้ำหนักในการลดดอกเบี้ยสำหรับการประชุมปลายเดือน มี.ค. เหลือเพียง 50% จากจุดสูงสุดที่ 77% อย่างไรก็ตามด้วยดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มคงระดับสูงจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงหุ้นไทย
  • ปัจจัยพื้นฐานของ SET INDEX ยังไม่เห็นสัญญาณเชิงบวกอย่างมินัยยะสำคัญ Bloomberg Consensus เริ่มปรับลดเป้าหมายดัชนีล่วงหน้า 12 เดือนมาอยู่ที่เพียง 1673 จากก่อนหน้า 3 สัปดาห์อยู่ที่ 1685 พร้อมกับปรับลดกำไรต่อหุ้นในปี 24 มาอยู่ที่ 87.88 บาท / หุ้น สะท้อน มุมมองเชิงลบจากนักวิเคราะห์
  • ปัจจัยบวกเพียงอย่างเดียวของ SET INDEX คือระดับ Valuation ที่น่าสนใจและค่อนข้างถูก หากอิงมิติการประเมินมูลค่าจาก Earnings Yield Gap (ส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างตลาดหุ้นกับตลาดพันธบัตรรัฐบาล) พบว่า Earnings Yield Gap ปรับขึ้นมาใกล้เคียงกับ ค่าเฉลี่ยในรอบ 15 ปี นักลงทุนระยะกลาง – ยาว จึงควรเริ่มทยอยสะสมุสำหรับลงทุ่นระยะกลางขึ้นไป กลุ่มที่น่าสนใจมองไปที่กลุ่มท่องเที่ยวประกอบไปด้วยสนามบิน (AOT) โรงแรม (CENTEL MINT) ปัจจัยบวกการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ข้อมูลในช่วง 21 วันแรกของเดือน ม.ค. เข้ามาราว 2 ล้านคน จึงคาดการณ์ว่าภายในเดือน ม.ค. อาจมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาราว 2.8 – 2.9 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัว 35%YoY แม้จะลดลง 11%MoM แต่ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติของปัจจัยฤดูกาลและเดือน ก.พ. มีโอกาสที่จำนวนนักท่องเที่ยวจะขยายตัวได้ต่อตามเทศกาลตรุษจีน ขณะเดียวกันราคาหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยวก็ปรับฐานลงมาจนน่าสนใจและเชื่อว่า รับรู้ปัจจัยกดดันจากการมาของนักท่องเที่ยวจีนที่น้อยกว่าคาดไปแล้วในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันกลุ่มภายในประเทศอื่นๆอย่างค้าปลีก (CPALL) ก็มีความน่าสนใจด้วยการฟื้นตัวของผลประกอบการ เราคาดการณ์กำไร 4Q23 ขยายตัว 10%QoQ , 68%YoY และประเมินว่าทั้งปี 24 จะขยายตัวได้ 26%YoY
- Advertisement -