KS Daily View 27.05.2024 >>> มอง SET ฟื้นตัว เก็งกำไรประชุมครม.เศรษฐกิจ คาด SET ซื้อขายในกรอบ 1,360-1,375 จุด แนะนำ CK, CPALL

Theme การลงทุนในสัปดาห์นี้: ประเมินตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวขึ้นในสัปดาห์นี้หลังถูกกดดันทั้งจากปัจจัยภายในและต่างประเทศในสัปดาห์ก่อน จากประเด็นเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองและช่วงเวลาของการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของ Fed เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงแสดงท่าทีไม่มั่นใจในทิศทางของอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ หลังแรงกดดันเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง เราประเมินสัปดาห์นี้ดัชนี SET index จะซื้อขายในกรอบ 1,360-1,390 จุด มอง theme หลักในภาพใหญ่ยังคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังและเชื่อ Fed ลดดอกเบี้ยได้ 2 ครั้ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยช่วยหนุนแม้ตลาดดูยังไม่มั่นใจในประเด็นนี้ มองปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือ การประกาศทบทวนตัวเลข GDP ของสหรัฐฯ ในช่วงวันพฤหัสฯ รวมถึงตัวเลขดัชนีภาคการผลิต PMI ของจีนและเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์ สัปดาห์นี้เราแนะนำพอร์ตลงทุนใน CK, KCE, SCGP, PSL และ KLINIQ โดยเก็งกำไรตามในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ เข้ากับกระแส China play การส่งออกที่ฟื้นตัว และแนวโน้มกิจกรรมการลงทุนและการก่อสร้างที่เริ่มเร่งตัวตามการเบิกจ่ายเงินภาครัฐ

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศวันนี้: ประเมินดัชนีวันนี้ฟื้นตัว โดยมองดัชนี SET index ซื้อขายในกรอบ 1,360-1,375 จุด รอลุ้นผลการประชุมครม.เศรษฐกิจใหม่ครั้งแรกตั้งวอร์รูมเตรียมพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวเกินเป้า 2.5% ปีนี้

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

  1. ติดตามการประชุม ครม. วันนี้เวลา 16.30 ว่าด้วยวาระการหารือในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น หลังจากรายงาน GDP ของไทยใน 1Q24 ออกมาขยายตัวเพียง 1.5% YoY และเตรียมมาตราการการช่วยเหลือในกลุ่มเปราะบางและ SMEs
  1. สภาพัฒน์ฯ ชี้การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมระหว่างปี122,000 ล้านบาท ต้องพิจารณาความคุ้มค่าและฐานะทางการคลัง โดย timeline คาดการทบทวน วางแผนและจัดทำงบประมาณจะแล้วเสร็จช่วงปลาย มิ.ย. โดยจะส่งต่อให้ ครม. พิจารณาในช่วงต้น ก.ค. และสภา ส.ส. พิจารณาช่วง ปลายเดือน ก.ค. เดือนและสภา ส.ว. ช่วงต้น ส.ค.ก่อนที่จะทูลเกล้าและบังคับใช้ได้ช่วงกลาง ส.ค.
  1. สหรัฐฯ ระงับการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกบางชนิดจากรัฐวิกตอเรียของออสเตรเลีย หลังพบการระบาดของไข้หวัดนกในท้องถิ่นและจำกัดการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกจากญี่ปุ่นและแคนาดาหลังพบมีการระบาด ทั้งนี้สหรัฐอเมริการายงานว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 จำนวน 2 รายที่รัฐเท็กซัสและมิชิแกน โดยมองเป็น sentiment บวกกับ GFPT
  1. Tris rating มีการปรับ credit rating ของ BTS จาก A- มาอยู่ที่ BBB+ จากผลการดำเนินงานที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์และภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ที่จะส่งผลกระทบ Cost of debt ที่ปรับตัวขึ้นในอนาคต
  1. กบน. ได้มีมติปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล 0.50 บาทต่อลิตรเพื่อลดรายจ่ายของกองทุนน้ำมัน เป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องจากเดือน เม.ย. ที่ผ่านมาประมาณ 2 บาทต่อลิตร โดยการปรับขึ้นจะส่งผลบวกระยะสั้นใน inventory gain กับกลุ่ม retail oil เป็นตัวหนุนกำไร 2Q24 ที่คาดจะออกมาแข็งแกร่ง

Daily pick

CK: ราคาพื้นฐานที่ 28.37 บาท 

มองบริษัทได้ประโยชน์จากเม็ดเงินภาครัฐที่เร่งเบิกจ่าย กอปรกับได้ sentiment บวกจากการเก็งกำไรผลการประมูลทางด่วนจตุโชติจะประกาศออกมาได้ในเร็วๆนี้ อีกทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินที่บริษัทเข้าร่วมกับพันธมิตรชนะการประมูลมาเตรียมเริ่มก่อสร้าง

CPALL: ราคาพื้นฐาน 79.20 บาท 

บริษัทรายงานกำไรสำหรับไตรมาส 1/24 ออกมาดีกว่าที่เราคาดและสูงกว่าที่ตลาดมอง จาก same store sales growth (SSSG)และ gross profit margin (GPM) ที่ดีกว่าคาด มองไปข้างหน้าแนวโน้ม outlook ของ CPALL ดูดีทั้งจากผลประกอบการสำหรับไตรมาส 2/24 น่าจะเติบโตดีต่อเนื่องจาก SSSG ที่ยังขยายตัวดีและฐานต่ำในปีที่แล้ว อีกทั้งมองไปครึ่งปีหลังยิ่งน่าสนใจเนื่องจากได้อานิสงค์บวกจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตาม การให้สัมภาษณ์ของทางประธาน BOJ  Kazuo Ueda ต่อทิศทางนโยบายการเงิน
  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลขดัชนีรายงานความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Conference Board Consumer Confidence) ของสหรัฐฯ สำหรับเดือนเม.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ 96.5 จุดเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 97 จุด ต่อด้วยดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (FHFA House Price index) ของสหรัฐฯ สำหรับเดือน มี.ค. ตลาดคาดการณ์เพิ่มขึ้นที่ 0.5% MoM ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.2% MoM
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลขดัชนีภาคการผลิต Richmond manufacturing index ของสหรัฐฯ สำหรับเดือน เม.ย. ตลาดคาดที่ -6 จุด เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ -7 จุด
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม รายงานคาดการณ์การเติบโต GDP ของสหรัฐฯ ใน 1Q24 โดยเป็นการประกาศเพื่อทบทวนตัวเลขครั้งที่ 2 (preliminary version) ตลาดคาดการณ์ที่ 1.2% YoY เทียบกับก่อนหน้าที่ 1.6% YoY ต่อด้วยติดตามตัวเลขจำนวนคนยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาข้อมูลรายงานที่ 2.15 แสนตำแหน่ง
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลขอัตราการว่างงาน (unemployment rate)ของญี่ปุ่นเดือน เม.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ 2.6% ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ต่อด้วยรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีน (Manufacturing PMI) โดยเดือนก่อนหน้ารายงานที่ 50.4 จุด ปิดท้ายด้วยติดตามตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายด้านการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล (Core PCE Price Index) ของสหรัฐฯ สำหรับเดือน เม.ย. ตลาดคาดการณ์ที่ 2.8% YoY ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า
- Advertisement -