บล.พาย:

SAPPE: MOGU MOGU กระตุ้นทิศทางกำไรปี 2022-24

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 32.0 บาท อิง 22xPE’22E หรือใกล้เคียงค่าเฉลี่ยการซื้อขาย 5 ปีของบริษัท และค่าเฉลี่ยกลุ่มสินค้าจำเป็นในเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น คำแนะนำซื้อ สะท้อนศักยภาพในการเติบโตจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และการขยายกิจการไปต่างประเทศในช่วง 3 ปีข้างหน้า

  • บริษัทคือผู้ส่งออกเครื่องดื่มด้วยยอดขาย 65% จากต่างประเทศ ในช่วงปี 2021 ต้นทุนด้านโลจิสติกส์พุ่งขึ้น แตะ 341 ล้านบาท (+251%YoY) เพราะบริษัทจัดหาสัญญาขนส่งสินค้าทางเรือให้กับผู้จัดจำหน่าย และส่งต่อ ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้กับกลุ่มผู้จัดจำหน่ายเหล่านี้
  • ค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉลี่ยปรับลดลงเหลือ US$8,800/ตู้ขนาด 40 ฟุต ในเดือน มี.ค. 2022 จากยอดสูงที่ US$10,000/ตู้ขนาด 40 ฟุต ในเดือน ก.ย. 2021 โดยเชื่อว่าค่าขนส่งนี้จะลดลงต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยหนุนให้ผู้จัดจำหน่ายป้อนคำสั่งซื้อมากขึ้น
  • คาดกำไรในช่วง 2022-24 จะโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 12% แตะ 580 ล้านบาทในปี 2024 จาก CAGR ปี 2019-21 ที่ 5% คาดว่าการเติบโตจะได้แรงหนุนจาก 1) การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง 2) การจัด กิจกรรมการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 3) การเจาะตลาดต่างประเทศและขยายช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น

คาดค่าขนส่งที่ลดลงจะกระตุ้นยอดขายส่งออกขึ้น

  • บริษัทคือผู้ส่งออกเครื่องดื่มด้วยยอดขาย 65% จากต่างประเทศ โดยยอดขายไปต่างประเทศโตขึ้นเป็น 2.2 พันล้านบาทในปี 2021 หรือ +18% จากปี 2019 ด้วยแรงหนุนจากการเติบโตของยอดขายจากแบรนด์ “MOGU MOGU” ที่แข็งแกร่ง (86% ของยอดขายต่างประเทศทั้งหมดในปี 2021)
  • ในช่วงปี 2021 ต้นทุนด้านโลจิสติกส์พุ่งขึ้นแตะ 341 ล้านบาท (+251%YoY) เพราะบริษัทจัดหาสัญญาขนส่งสินค้าทางเรือให้กับผู้จัดจำหน่าย และส่งต่อต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้กับกลุ่มผู้จัดจําหน่ายเหล่านี้
  • ค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์โดยเฉลี่ยปรับลดลงเหลือ US$8,800/ตู้ขนาด 40 ฟุต ในเดือน มี.ค. 2022 จากยอดสูงที่ US$10,000/ตู้ขนาด 40 ฟุต ในเดือน ก.ย. 2021 โดยเชื่อว่าค่าขนส่งนี้จะลดลงต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยหนุนให้ผู้จัดจำหน่ายป้อนคําสั่งซื้อมากขึ้น

กําไรมีศักยภาพการเติบโตที่แข็งแกร่ง

  • คาดกำไรในช่วง 2022-24 จะมี CAGR ที่ 12% แตะ 580 ล้านบาท ในปี 2024 จาก CAGR ปี 2019-21 ที่ 5% คาดว่าการเติบโตจะได้แรงหนุนจาก 1) การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง 2) การจัดกิจกรรมการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ 3) การเจาะตลาดต่างประเทศและขยายช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น

สรุปผลประกอบการ 4Q21

  • กำไร 4Q21 อยู่ที่ 55 ล้านบาท (-33%YoY, -61%QoQ) จากค่าขนส่งที่สูงขึ้น
  • จากการที่สภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ส่งผลให้ค่าขนส่งทางเรือปรับสูงขึ้น SG&A ต่อยอดขายจึงปรับเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ เป็น 39.6% จาก 25.7% ใน 4Q20 และ 30.2% ใน 3Q21
  • รายได้ลดลง 18%QoQ (+3%YoY) เป็น 819 ล้านบาท เป็นผลจากปัจจัยตามฤดูกาล และยอดขายส่งออกที่ชะลอออกไปเพราะสภาวะขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์
  • อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ขยายตัวเป็น 39.2%, จาก 36.6% ใน 4Q20 หนุนจากอัตราการดำเนินงานที่สูงขึ้นและมาตรการประหยัดต้นทุน
  • กำไรสุทธิปี 2021 อยู่ที่ 411 ล้านบาท (+8%YoY) หนุนจากรายได้ ยอดขายการส่งออกที่โตขึ้น 16%YoY
  • GPM ทั้งปี 2021 เพิ่มเป็น 39.3% จาก 36.7% ในปี 2020 หนุนจากอัตราการดำเนินงานที่สูงขึ้น และมาตรการประหยัดต้นทุน

Revenue breakdown

  • SAPPE เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภท Innovative และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพและความงามของผู้บริโภค
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ของบริษัท มีทั้งหมด 6 แบรนด์ ดังนี้ Mogu Mogu, Sappe Beauti Drink, Sappe for One Day, Sappe Aloe Vera, St. Anna และ Preaw (Preaw Coffee และ Preaw Chlorophyll) โดยมีการจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมกว่า 91 ประเทศ
  • ในปี 2021 มีสัดส่วนการส่งออกราว 65% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งแบ่งตามภูมิศาสตร์ได้ดังนี้ เอเชีย คิดเป็น 37% ของรายได้ส่งออก สหภาพยุโรปและอเมริกา คิดเป็น 16% ของรายได้ส่งออก ตะวันออกกลางและอื่นๆ คิดเป็น 12% ของรายได้ส่งออก
- Advertisement -