บล.พาย: 

BEM: คาดกำไร 1Q22 คือจุดต่ำสุดของปี

กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 336 ล้านบาท (-15%QoQ, +10%YoY) ลดลงจากยอดสูงในรอบ 5 ไตรมาสใน 4Q21 และถือว่าต่ำกว่าคาด ขณะที่คิดเป็น 16% ต่อประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 2022

  • การเติบโต YoY เป็นผลจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องมา ไตรมาสแล้ว 2-3
  • การหดตัวลง QoQ เป็นผลจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้นในช่วงที่รายได้ทรงตัว ทำให้อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ลดลงเหลือ 38.4% ใน 1Q22 จาก 42.1% ใน 4Q21
  • คาดปริมาณจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวันที่ 9.63 แสนเที่ยว/วัน (-1%YoY, -2%QoQ) ขณะที่ประเมิน จำนวนการโดยสารในระบบ MRT ที่ 1.88 แสนเที่ยว/วัน (-12%YoY, +7%QoQ)
  • คาดจำนวนการโดยสารรายวันจะแตะระดับ 70% ของช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิดภายใน 3Q22 และคาดว่าจะกลับสู่ระดับปกติของช่วงก่อนวิกฤติได้ภายในปลายปี 2023 หนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กลับเข้ามาเกินครึ่งของจำนวนในช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19
  • คาดถึงการจัดประมูลสายสีส้มภายในต้น 3Q22 ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกสำคัญต่อหุ้น โดยประเมินว่าโครงการนี้จะสร้าง upside ได้ 1.90 บาทต่อหุ้น

คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 9.50 บาท คำนวณด้วยวิธีรวมส่วนธุรกิจ (SOTP) อิง 45.2xPE’23E หรือคิดลด 10% ต่อค่าเฉลี่ยกลุ่มขนส่งไทย

สรุปผลประกอบการ

  • กำไรสุทธิ 1Q22 อยู่ที่ 336 ล้านบาท (-15%QoQ, +10%YoY) ลดลงจากยอดสูงในรอบ 5 ไตรมาสใน 4Q21
  • การเติบโต YoY เป็นผลจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องมา 2-3 ไตรมาสแล้ว
  • การหดตัวลง QoQ เป็นผลจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่สูงขึ้นในช่วงที่รายได้ทรงตัว ทำให้ GPM ลดลงเหลือ 38.4% ใน 1Q22 จาก 42.1% ใน 4Q21
  • คาดปริมาณจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวันที่ 9.63 แสน เที่ยว/วัน (-1%YoY, -2%QoQ) ขณะที่ประเมินจำนวนการโดยสารในระบบ MRT ที่ 1.88 แสนเที่ยว/วัน (-12%YoY, +7%QoQ)
  • อิงข้อมูลเดือน เม.ย. 2022 พบว่าปริมาณการจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวันขยายตัว 1%MoM เป็น 9.8 แสนเดี่ยว/วัน แต่จำนวนการโดยสารในระบบ MRT หดตัวลง 6%MoM เป็น 1.79 แสนเที่ยว/วัน มีสาเหตุมาจากวันหยุดยาว ทั้งหมดนี้ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ในช่วงเดือน ธ.ค. 2019 อยู่ (-19% และ -51% ตามลำดับ)

อิงข้อมูลเดือนเม.ย.2022 พบว่าปริมาณการจราจรบนทางพิเศษเฉลี่ยรายวันขยายตัว 1%MoM เป็น 9.8 แสนเท่ียว/วัน แต่จำนวนการโดยสารในระบบ MRT หดตัวลง 6%MoM เป็น 1.79 แสนเท่ียว/วัน มีสาเหตุมาจากวันหยุดยาว ทั้งหมดนี้ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ในช่วงเดือน ธ.ค. 2019 อยู่ (-19% และ -51% ตามลำดับ)

Revenue breakdown

BEM เป็นผู้ให้บริการทางพิเศษครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ เฉลิมมหานครมหานคร ศรีรัชถนนวงแหวนรอบนอกศรีรัช และทางด่วนอุดรรัถยา ซึ่งเส้นทางเหล่านี้คิดเป็น 60% ของรายได้ปกติทั้งหมดของบริษัท

ธุรกิจรถไฟฟ้าใต้ดินคิดเป็นสัดส่วน 32% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนนี้เป็นการบริการขนส่งโดยรถไฟใต้ดิน โดยปัจจุบันบริษัทให้บริการใน 2 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ซึ่งเป็นเส้นทางหลังดำเนินการภายใต้สัญญาสัมปทานที่เอกชนผู้รับสัมปทานเป็นผู้จัดเก็บรายได้จากการบริการเดินรถทั้งหมด และจ่ายค่าตอบแทนคืนให้รัฐตามที่ตกลง (Net Cost Agreement)

บริษัทและบริษัทย่อย (BMN) ยังปล่อยพื้นที่ให้เช่าแก่เอกชน เพื่อใช้ในการพาณิชย์ รวมถึงการโฆษณาในพื้นที่ โดยการให้เช่าพื้นที่เชิงพาณิชย์ (Commercial Development) นี้ สร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 8% ของรายได้ของบริษัทในปี 2021

 

 

- Advertisement -