รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

SET Outlook & Strategy
SET Outlook
คาดดัชนีฯ ถูกกดดันจากปัจจัยในประเทศ ประเมินกรอบ 1570-1610 การระบาด Covid-19 รอบใหม่ และบรรยากาศการเมือง ทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน …

สัปดาห์ที่ผ่านมา ความกังวลต่อนโยบายการเงินของ Fed นั้นเริ่มกดดันน้อยลง แม้จะมีความเป็นไปได้ว่า Fed อาจประกาศลด QE ภายในปีนี้ก็ตาม ตลาดพันธบัตรของสหรัฐฯ ผันผวนน้อยลง (ดีต่อตลาดหุ้น) Bond Yield 10 ปี ขึ้นมาแต่ 1.52% หลังตัวเลข PCE(เงินเฟ้อสูงเกินคาด) …

หากนักลงทุนสหรัฐฯ กลับมาใช้กลยุทธ์ Reflation Trade คือใช้ประโยชน์กับเงินเฟ้อ จะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะเอเซียที่ถูกขายหุ้นติดกันมา 2 สัปดาห์แล้ว …

ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้น 2% สัปดาห์ก่อน สวนทางกับตลาดหุ้นไทยที่มีประเด็นเฉพาะ คือ การระบาด Covid-19 รอบใหม่ของไทยที่รัฐบาลประกาศ lock down บางจุด 1 เดือน ส่งผลลบต่อตลาด หากยังไม่สามารถคุมการระบาดได้ และบรรยากาศการเมือง ดูไม่เป็นใจนัก หลังร่าง รธน.ยังไม่มีความคืบหน้า(ยังแก้ไม่ได้เต็มที่)

เรามองว่าหากปัจจัยภายในประเทศ เป็นแบบนี้ดัชนีฯ ก็อาจอยู่ในระดับต่ำกว่า 1600 จุด อยู่ต่อไปจนกว่าจะดีขึ้น ตัวแปรสำคัญที่ต้องติดตาม คือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายวัน ความเห็นกรรมการ Fed ตัวเลข ISM ของสหรัฐฯ(1) ตัวเลขการจ้างงานของ สหรัฐฯ(2) ประชุม OPEC+ และ อิหร่านเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ …

หุ้นที่นำเสนอข้อมูล Op Day สัปดาห์นี้สัปดาห์สุดท้าย4ตัว NNCL, SIMAT, CAZ, PRIME

Strategy
ตลาดพลิกมาสวนทางตลาดหุ้นอื่นๆ อาจมีแรงขายเพิ่มหาก Covid-19 ของไทยเองยังไม่ดีขึ้น กลยุทธ์หลักสัปดาห์นี้ จึงควรชะลอดูทิศทาง ลดการถือหุ้นที่ลงตามดัชนีฯ จะให้ดีดัชนีฯไม่ควรต่ำกว่า 1570 จุด (ยืนได้ ค่อยซื้อ) …

หุ้นอิงรายได้จากการท่องเที่ยว และธนาคาร จะถูกกระทบตรงๆ จาก Covid-19 และการเปิดประเทศ …

หุ้น Commodity เริ่มฟื้นแต่รอดูผลประชุม OPEC+ และอิหร่านประกอบด้วย เราให้น้ำหนักกับหุ้นน้ำมัน(PTTEP) และถ่านหิน(BANPU) …

หุ้นขนาดเล็ก หรือหุ้นมีประเด็นบวก อาจถูกยกมาเล่นมากขึ้น … พอร์ตหุ้นวันนี้เราเลือกนำหุ้น KCE, JMT*, MAKRO* ออก และนำหุ้น STA, AGE*, SIMAT* เข้ามาแทน หุ้นในพอร์ตประกอบด้วย STA(15%), AGE*(15%), SIMAT*(15%), SAT(10%), TU(10%), BCH(15%), EA*(15%)
* เป็นหุ้นที่แนะนำโดย KTBST ยังไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์

Strategy Stock Pick
SIMAT*: (เป้าเชิงกลยุทธ์ 6.00 บาท) “คาดกำไรจะดีขึ้นเรื่อยๆ, เตรียมปั้น HST เข้าตลาด”
• คาดกำไรของบริษัทจะดีขึ้นเรื่อยๆ หลังผ่านช่วงรับรู้รายได้งานก่อสร้างมาร์จิ้นต่ำไปแล้ว, HST ธุรกิจ Silk Screen ดาวเด่นเตรียมปั้นเข้าตลาดในปี 2022

• ธุรกิจ IT Solution เข้าสู่ช่วง Cash Cow นับตั้งแต่ไตรมาส 2 หลังส่งมอบงานก่อสร้าง ทยอยรับรายได้ค่าดูแลระบบปีละ 200 ลบ. 5 ปี

• ธุรกิจ Silk Screen ภายใต้ HST มีมาร์จิ้นสูงและกำลังเติบโต บริษัทตั้งเป้าโตถึง 20%YoY และเตรียมเข้าตลาดในปี 2022

Technical : RBF, PHOL

Key Events
• 30 มิ.ย.: รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทย
• 4 ก.ค..: ตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภค

News Comment
( – ) Automotive (Neutral) โรงงาน “AAT” หยุดผลิต “มาสด้า-ฟอร์ด” 2 สัปดาห์ จากปัญหาชิปขาดแคลน
( – ) TKN (ถือ/เป้า 9.50 บาท) พนักงานโรงงานนพวงศ์ ติด COVID-19 จำนวน 10 กว่าราย

( – ) Construction Services (Overweight), Property (Neutral) ประกาศสั่งปิดแคมป์คนงาน และให้หยุดงานก่อสร้างในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล อย่างน้อย 30 วัน

( – ) CENTEL (ซื้อ/เป้า 38.00 บาท), MINT (ซื้อ/เป้า 35.00 บาท), CPN (ซื้อ/เป้า 57.00 บาท) ประกาศล็อกดาวน์ กทม., ปริมณฑลและ 4 จังหวัดภาคใต้ ห้ามนั่งกินในร้าน, ห้างเปิดได้ถึง 21.00 น. เริ่มวันนี้

Company Report
( + ) TISCO (ซื้อ/เป้า 105.00 บาท) คาดกำไร 2Q21E เพิ่มขึ้นและจะเพิ่มขึ้นต่อใน 3Q21E จากสำรองฯที่ลดลง

( + ) STEC (ซื้อ/เป้า 17.50 บาท) backlog แข็งแกร่ง และโอกาสเติมงานใหม่ยังมีสูง

Economic Outlook
• สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดสินทรัพย์จับตาถ้อยแถลงของประธาน Fed แกว่งตามความเห็นของคณะกรรมการ Fed ที่มีการแสดงความเห็นต่อทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต ตลาดเริ่มเห็นสัญญาณ Hawkish จาก FOMC หลายท่านส่งผลให้ความกังวลต่อความเร็วในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินเป็นตัวกดดันตลาด อีกปัจจัยสนับสนุนคือฝ่ายบริหารและวุฒิสภาสหรัฐฯ เห็นพ้องต้องกันต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโครงสร้างพื้นฐานช่วยการขยายตัวเศรษฐกิจในระยะยาว

• ติดตามการรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมสหรัฐฯ มีแนวโน้มเติบโตทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า แม้ว่าจะมีการใช้นโยบายภาครัฐบาลเพื่อสนับสนุนตลาดแรงงานในประเทศ แต่การฟื้นตัวของตลาดแรงงานยังเติบโตล่าช้าจากการนโยบายอุดหนุนคนตกงาน และการเข้าสู่ตลาดแรงงานจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการปรับตัว

What to Watch
ติดตามการรายงานตัวเลข Manufacturing PMI เดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯ และจีน คาดว่ามีแนวโน้มเติบโตชะลอตัวตามไปกับภูมิภาคยุโรป หลังจากการเร่งผลิตสินค้าโรงงานในช่วงต้นไตรมาส 2 ส่งผลให้สินค้าคงคลังมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมบางส่วนยังขาดแคลนสินค้าต้นน้ำส่งผลให้การส่งมอบล่าช้า

ติดตามการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหภาพยุโรปและเยอรมนี คาดว่ามีแนวโน้มชะลอการเร่งตัวลงเล็กน้อย หากยังคงทิศทางการเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อความกังวลในตลาดการเงินต่อการเปลี่ยนแปลงทิศทางการใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป อย่างไรก็ดีต้องประเมินควบคู่กับทิศทางดัชนีราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯ

- Advertisement -