ติดตามข้อสรุปของการประชุม OPEC+ / ผลกระทบของมาตรการล็อคดาวน์ / การเปิดประเทศขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนและประสิทธิภาพในการป้องกันวันนี้คาด SET แกว่ง 1,575-80 แนะ BCH CBG

ข้อสรุปของการประชุม OPEC+ / ผลกระทบของมาตรการล็อคดาวน์ / การเปิดประเทศขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนและประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิดสายพันธ์เดลต้า 

สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญ ติดตามผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตรหรือโอเปกพลัสซึ่งเลื่อนมาจากวันศุกร์ หลัง UAE เสนอให้เพิ่มระดับการผลิตมากขึ้นอีก 2 ล้านบาร์เรลภายในสิ้นปี 2021 ทั้งนี้กลุ่ม OPEC+มีการลด supply 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวันปี 2020 และลดลด supply cut เหลือ 5.8 ล้านบาร์เรลในเดือน ก.ค. 2021 ทำให้ ณ ปัจจุบัน ราคาน้ำมันยังคงผันผวน / เทรดเดอร์ชะลอซื้อ

ในขณะที่ราคาถ่านหิน NEX ล่าสุดอยู่ที่ 138.7 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน (+5.5% WoW) ขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติที่สหรัฐฯยังปรับตัวขึ้นต่อ 5.7% WoW ปิดที่ 3.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ MMBTU จากภาวะอากาศที่ร้อนมากทั่วโลกหนุนความต้องการใช้ไฟฟ้าพุ่งสูงต่อเนื่อง มองหุ้นที่ได้ประโยชน์คือ BANPU

ในส่วนชองทิศทางค่าเงินบาทที่ล่าสุดอ่อนตัวลงมาที่ 32.25 บาทต่อดอลลาร์จากทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐฯที่กำลังเข้มงวดขึ้น มองเป็นบวกกับกลุ่มส่งออกอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์

ภาพในประเทศ การผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์และการเปิดประเทศในไตรมาส 3/2564 ขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนและประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิดสายพันธ์เดลต้า โดย

1) ผลกระทบหลังรัฐบาลมีคำสั่งห้ามนั่งทานอาหารในร้านใน กทม. และปริมณฑล ที่เริ่ม 28 มิ.ย. ทำให้ตัวเลข apple mobility ใน กทม. ล่าสุดอยู่ที่ -52% เทียบระดับก่อนโควิด-19 แต่ยังดีกว่าช่วงเดือน พ.ค. ที่ -60%

2) ผลกระทบจากปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในพื้นที่ 10 จังหวัดที่มีการควบคุมสูงสุดเป็นเวลา 30 วัน โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์), โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ซึ่งตอนนี้ได้หยุดก่อสร้างแล้ว สำหรับภาพรวมการก่อสร้างทั้ง 3 โครงการคืบหน้าเกิน 80% แล้ว ส่วนใหญ่เหลืองานติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกล และตกแต่ง ซึ่งเหลืองานที่ใช้แรงงานไม่มากแล้ว โดย รฟม. คาดว่าการหยุดงาน 30 วันจะทำให้งานล่าช้าประมาณ 1-2%

ในส่วนของรายอุตสาหกรรม ติดตามหลาย ๆ แบงก์เริ่มทยอยขายเอ็นพีเอออกมาเคลียร์พอร์ต จ่อรับหนี้เสียก้อนใหม่ โดยล่าสุดแบงก์กรุงเทพซึ่งปกติไม่ค่อยขาย NPLs/NPAs ได้ประกาศเปิดประมูลระบายทรัพย์ “เอ็นพีเอ” ที่ดินแปลงใหญ่ทั่วประเทศ ทุกประเภททั้งโรงแรม-อาคารสำนักงาน-สนามกอล์ฟ-โรงงาน-โกดังสินค้า-โรงสี รวมถึงท่าเทียบเรือ มองเป็นโอกาสของ AMCs ที่จะซื้อหนี้ได้จำนวนมาก

ติดตามประกาศราชกิจจาเรื่องที่รัฐบาลจะปรับค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิดเพิ่ม 25% เพื่อเป็นแรงจูงใจให้โรงพยาบาลเอกชนรับผู้ป่วยเพิ่ม โดยน่าจะ backdate ไปตั้งแต่ต้น 2Q21

และ ติดตามความคืบหน้าของอุตสาหกรรมกัญชงในประเทศหลัง RBF เป็นบริษัทแรกที่ได้รับใบอนุญาตสกัด CBD และ THC ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง สมุนไพร อาหารเสริม และสินค้าอื่นๆ คาดรับรู้รายได้ใน 4Q21 มองเป็น Rerating catalysts ต่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง

มุมมองตลาดหุ้น/ กลยุทธ์การลงทุน กลยุทธ์การลงทุนวันนี้คาด SET แกว่ง 1575-80 แนะ BCH CBG

หุ้นแนะนำ BCH (พื้นฐาน 26.70 บาท) เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนจะได้รับประโยชน์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจาก COVID-19 โดย คาดว่าจะมีการกระจายวัคซีน 80.5 ล้านโดสในปี 2564, CBG (พื้นฐาน 154.00 บาท) ตลาดคาดการณ์งบ 2Q21 จะดีกว่า 1Q21 จากยอดขายในจีน / สต๊อกสินค้าในเมียนมาร์ที่ต่ำ / ความต้องการตลาด CLMV ฟื้นตัวใน เม.ษ. และ พ.ค. และ การ ดส่วนผสมน้ำตาลจาก  20 กรัม/150 มล. เป็น 12 กรัม/100 มล.

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ วันจันทร์ ติดตาม ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน มิ.ย. คาด +1.14% YoY ดัชนี Caixin PMI ภาคบริการของจีนเดือน มิ.ย. คาด 55 จุด ทรงตัว MoM ตัวเลข Markit Services PMI ของยูโรโซนเดือน มิ.ย. คาด 58 จุด +5.4% MoM ยอดจดทะเบียนรถใหม่ของเยอรมันเดือน มิ.ย. คาด +25% YoY และถ้อยแถลงของ ปธ. ECB วันอังคาร ติดตาม ผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลียคาดคงดอกเบี้ยที่ 0.10% ตัวเลข Zew Economic sentiment ของเยอรมันเดือน ก.ค. คาด 75.1 จุด ลดลง 5.9% MoM ตัวเลข ISM Non manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. คาด 63.5 จุด (-0.8% MoM) วันพุธ ติดตาม FOMC minutes ของ Fed ครั้งล่าสุด วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขการส่งออกของเยอรมันเดือน พ.ค. คาด +0.5% MoM ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯรายสัปดาห์คาด 3.55 แสนคน วันศุกร์ ติดตาม  ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจีนเดือน มิ.ย. คาด +1.4% YoY และดัชนีราคาผู้ผลิตของจีนเดือน มิ.ย. คาด +8.8% YoY

- Advertisement -