รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

ยังเน้นเลือกเก็งกำไรรายตัว
โอเปคเลื่อนการประชุม กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และชาติพันธมิตร ตัดสินใจยุติและเลื่อนการประชุมออกไปไม่มีกำหนด เนื่องจากยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับนโยบายผลิตน้ำมัน ซึ่งล่าสุดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยอมรับข้อเสนอปรับเพิ่มกำลังการผลิตเดือนละ 4 แสนบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรล ในช่วงส.ค.-ธ.ค.64 แต่ไม่เห็นด้วยกับการขยายมาตรการควบคุมการผลิตไปจนปลายปี 2565 ระยะสั้นราคาน้ำมันตอบรับเชิงบวกเนื่องจากปริมาณการผลิตยังเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามแผนเดิม แต่ประเมินความกังวลเรื่องการควบคุมการผลิตจะกลับมาพูดถึงมากขึ้นในช่วงใกล้ปลายปี

CPN เข้าซื้อหุ้น SF 30.36% ที่ราคา 12 บาท จาก MAJOR หลังจากที่มีข่าวลือ และการรายงานเกี่ยวกับความสนใจซื้อหุ้น SF มาระยะหนึ่ง คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการทำรายการดังกล่าว มูลค่า 7,766 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลผูกพันให้ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหุ้นที่เหลืออื่น วงเงินรวม 17,817 ล้านบาท

เราคาดกระแสเงินสดที่บริษัทมีจะถูกกันไว้ใช้กับการคืนหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดในปีนี้ 6,734 ล้านบาท ทำให้น่าจะต้องใช้การกู้ยืมเป็นหลัก ส่งผลให้หนี้สินต่อทุน (D/E) อาจขึ้นไปได้สูงสุดที่ 2.10 เท่า

อย่างไรก็ตามประเมินว่าตลาดอาจตอบรับเชิงบวกต่อการที่ SF มีผู้ถือหุ้นใหม่ที่มีศักยภาพสนับสนุนการเติบโต ประกอบกับด้วย Valuation ที่ถูกกว่า (PER 11x vs 26x) ทำให้นักลงทุนอาจตอบรับเชิงบวกกับดีลนี้ส่งผลให้ราคาหุ้น SF ปรับขึ้นไปเกิน 12 บาท ซึ่งจะทำให้ภาระของ CPN ในการทำคำเสนอซื้อลดลงได้

ข่าวการระเบิดของโรงงานที่กิ่งแก้ว อาจเป็นบวกระยะสั้นต่อ IRPC โรงงานปิโตรเคมีที่ระบเดชื่อ หมิงตี้ เคมิคอล ซึ่งเป็นผู้ผลิต EPS (Expandable Polystyrene) โดยมีวัตถุดิบหลักคือ SM (Styrene Monomer) โดยมีกำลังการผลิตต่อกำลังการผลิตรวมในประเทศ คิดเป็นประมาณ 40% (IRPC คิดเป็น 60%) ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ในกลุ่มที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Product) ของ IRPC โดยส่งออกประมาณ 30% หากอิงสมมติฐานว่ายอดขายทั้งหมดเข้าไปทดแทนของคู่แข่งที่หายไปเพราะอุบัติเหตุ คาดว่าจะสามารถสร้างกำไรเพิ่มมได้ราว 1% (หรือ 300 ล้านบาท) ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเรามองเป็นผลบวกทางจิตวิทยาระยะสั้น

ธีมลงทุนอื่นที่น่าสนใจ
1) กลุ่มพลังงาน ปิโตรฯ PTT, PTTGC, IVL, IRPC
2) อาหารและเกษตร TVO, CPI, TU, CPF
3) ได้ประโยชน์จากเราชนะ TNP และ KK เนื่องจากเป็นร้านค้าธงฟ้า
4) การขายประกันโควิด บวกต่อ THRE, TIP, TQM
5) ปันผลและกองรีทส์ ADVANC, BTSGIF, CPNREIT, AIMIRT, FTREIT, EASTW, WHAUP, TTW, TIP
6) เก็งกำไรกลุ่มดิจิตัลทีวี BEC, WORK, MONO 7) หุ้นกลุ่มเรือ TTA, PSL, RCL

ภาพรวมกลยุทธ์: เลือกเก็งกำไรรายตัวใน
1) กลุ่มหุ้นปลอดภัยที่มีการถือครองน้อย
2) หุ้นที่มีผลการดำเนินงานหรือมีปัจจัยผลักดันระยะสั้นโดดเด่น
3) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตภายนอก โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์ระบาดในประเทศกดดันหุ้นเปิดเมือง โดยยังคงระวังความเสี่ยงทางลงในระดับ 1520 จุด หรือต่ำกว่า แต่มองการปรับลงเป็นโอกาสลงทุนที่ดี // หุ้นแนะนำ: CPF, SF*, SSP*, GIFT*
แนวรับ: 1,570/ แนวต้าน : 1,585-1,606 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%

ประเด็นการลงทุน
Fitch คงอันดับไทยที่ BBB+. Fitch Rating คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี คาด GDP ปี 65 โต 4.2% จากการเปิดรับนักท่องเที่ยว

รายงานตัวเลขเงินเฟ้อไทย. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน มิ.ย. อยู่ที่ 99.93 เพิ่มขึ้น 1.25% yoy โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 0.89% yoy สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) อยู่ที่ 100.47 เพิ่มขึ้น 0.52% yoy เพิ่มต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12

IRPC-EA. ทุ่มเงิน 1.33 หมื่นล้านบาท เดินหน้าโครงการ UCF ปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเป็นมาตรฐานยูโร 5 คาดผลิตเชิงพาณิชย์เดือน ม.ค.67 ทางด้าน EA ผนึก CRCCSA ยักษใหญ่จากจีนลุยพัฒนารถไฟ Hybrid Battery ปูทางสู่การสร้างโรงงานประกอบหัวรถจักร ขนส่งมวลชนไฮบริดแบตเตอรี่ รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุงและซ่อมแซมรถไฟความเร็วสูง

ประเด็นติดตาม: – 6 ก.ค.: Thailand CPI เดือน มิ.ย., EU Retail Sales เดือน มิ.ย., US PMI เดือน มิ.ย. / 8 ก.ค.: FOMC Meeting Minutes, US Initial Jobless Claims

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)

- Advertisement -