บล.คันทรี่กรุ๊ป:

BBL: Corporate Bank ขนาดใหญ่ที่มีกลยุทธ์อนุรักษ์นิยม

เราเริ่มต้นบทวิเคราะห์ BBL ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยมูลค่าพื้นฐาน 155บาท อิงกับ 0.65xPBV’21E บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (ROE’21 ที่7.8%และการเติบโตในระยะยาวที่2%) ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 3 ปีที่ 0.69xPBV

The Story:

• ปลอดภัยที่สุดในกลุ่มธนาคาร
• ได้รับประโยชน์จากการเข้าซื้อธนาคาร Permata
• พอร์ตสินเชื่อมีความเสี่ยงต่ำจากฐานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
• มีสภาพคล่องสูงในการรองรับการเติบโตของสินเชื่อ

Risk:

• NPLs ที่สูงขึ้นและการตั้งสำรองจากสินเชื่อที่ไม่ก่อเกิดรายได้
• อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานซึ่งกดดัน NIM
• ความล่าช้าในการพัฒนาและแจกจ่ายวัคซีน

BBL: ปลอดภัยที่สุดในกลุ่มธนาคาร 

Coverage ratio สูงสุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ BBL เป็นธนาคารที่ได้รับผลกระทบไม่มากในช่วงการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 ในประเทศไทย จากการวางกลยุทธ์แบบอนุรักษนิยม ธนาคารมีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัย
จะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพหรือ Coverage ratio ที่ 181% ในปี2020 สูงสุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่และเพียงพอรองรับ NPL ที่เพิ่มขึ้นได้ในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวธนาคารมีโอกาสปรับลดการสำรองหนี้สูญเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อได้

BBL มีฐานเงินทุนที่มั่นคง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2010-2019) ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ในไทย และคาดจะรักษาสถานะทุนที่แข็งแกร่งเอาไว้ได้ในระยะยาวด้วยกลยุทธ์ที่อนุรักษ์นิยม ในการขยายฐานสินเชื่อ การตั้งสำรอง และการมีฐานลูกค้าที่มั่นคง

การเข้าซื้อธนาคาร Permata ช่วยขยายและกระจายพอร์ตสินเชื่อของ BBL

แม้ขนาดสินทรัพย์ของธนาคาร Permata อยู่ที่ราว 10% ของ BBL แต่ฐานผู้กู้ในอินโดนีเซียจะเป็นตัวช่วยหนุนให้สินเชื่อและฐานรายได้ของธนาคารเติบโตได้ในระยะยาวจาก (1) เศรษฐกิจอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตเร็วกว่าไทย โดย Bloomberg consensus คาดการณ์ GDP ของอินโดนีเซียเติบโต 4.5%-5.3% ในปี 2021-22 เทียบกับไทยที่เติบโต 2.3%-4.7% นอกจากนี้อินโดนีเซียมีหนี้ครัวเรือนต่อ GDP (18%) ต่ำกว่าไทย (89%) ภาระหนี้ที่น้อยกว่าแสดงถึงศักยภาพในการเติบโตของสินเชื่อที่มากกว่า (2) หนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (NIM) โดยรวมให้เพิ่มขึ้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ โดยในปี 2020 สินเชื่อรวมของธนาคาร (รวม Permata) เติบโต +14.7%YoY และหากไม่รวม Permata การเติบโตจะเหลือเพียง +2.7%YoY นอกจากนี้Permata ยังมี NIM ที่สูงกว่าที่ 4.4% เทียบกับของธนาคารที่2.22% ใน 4Q19 (BBL เริ่มรับรู้งบการเงินรวมกับ Permata ใน2Q20)
แพลตฟอร์มออนไลน์ของ Permata ที่รองรับ “New Normal”

ธนาคารได้ประโยชน์ช่องทาง Online Banking ที่แข็งแกร่งของ Permata โดยปี2020 หลายประเทศรวมถึงอินโดนีเซียนั้นเกิดการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เกิดธุรกรรมจำนวนมากในช่องทางออนไลน์ของ Permata และช่วยผลักดันกำไรจากการดำเนินงานก่อนการตั้งสำรองของ Permata เพิ่มขึ้นได้ถึง +20.4%YoY และ +50%QoQ ใน3Q20

BBL: พอร์ตสินเชื่อมีความเสี่ยงต่ำจากฐานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่

ฐานลูกค้าที่มีความเสี่ยงต่่าและปลอดภัย

พอร์ตสินเชื่อโดยรวมของธนาคารมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ โดยลูกค้าที่มีหลักประกันคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของสินเชื่อรวมของธนาคาร ซึ่งรวมถึงลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ (40%), SME ขนาดใหญ่ (16%) และสินเชื่อระหว่างประเทศ (24%) โดยธนาคารมีสัดส่วนสินเชื่อธุรกิจที่สูงที่สุดในกลุ่มธนาคารไทยที่ 40% ของสินเชื่อทั้งหมดใน 1Q21 ซึ่งสินเชื่อธุรกิจที่มีอยู่สูงจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดที่ยืดเยื้อและช่วป้องกันความเสี่ยงจาก NPL ที่ขยายตัว

ลดความเสี่ยงของ NPL จากปรับโครงสร้างหนี้

ธนาคารมีความเสี่ยงหนี้เสียที่ลดลง จากโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ ตามที่ผู้บริหารเปิดเผยว่าธนาคารมีมูลหนี้ที่ยังอยู่ภายใต้การช่วยเหลือลูกหนี้อยู่น้อยที่สุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ (น้อยกว่า 5% ของสินเชื่อที่อยู่ภายใต้โครงการช่วยเหลือลูกหนี้) ซึ่งในปี2020 มีสินเชื่อ 23% ของสินเชื่อในระบบธนาคารอยู่ภายใต้โครงการ และมีเพียง 20% ของพอร์ตสินเชื่อธนาคาร (สินเชื่อธุรกิจและผู้บริโภค) ที่ถือเป็นลูกค้ากลุ่มเปราะบาง และ 20% ของสินเชื่อเหล่านี้ (4% ของสินเชื่อรวม) มีความเสี่ยงสูงที่จะเปลี่ยนเป็น NPL ในปีนี้

BBL: มีสภาพคล่องสูงในการรองรับการเติบโตของสินเชื่อ

อัตราส่วนเงินกู้ต่อเงินฝากลดลงและ LCR ที่สูงขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของสินเชื่อในระยะยาว

เรามองว่าธนาคารมีสภาพคล่องสูงที่สามารถรองรับการเติบโตของสินเชื่อได้ในระยะยาว โดยธนาคารมีอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากที่ต่ำกว่าธนาคารขนาดใหญ่อื่นๆ ที่ 81.6% ใน1Q21 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ที่ 87.3% ซึ่งส่งผลให้ BBL มีโอกาสที่จะขยายสินเชื่อได้มากขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า หลังสิ้นสุดการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ธนาคารมี Liquidity Coverage Ratio : LCR) ที่ 287% ซึ่งสูงกว่าอุตสาหกรรมธนาคารใน 2Q20 โดย LCR ที่สูงขึ้นสามารถลดความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและช่วยสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัว และ LCR ที่สูงขึ้นยังหมายถึงสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี สภาพคล่องสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดสุทธิที่ไหลออก (ส่วนใหญ่เกิดจากการถอนเงินฝาก) จึงส่งผลให้ธนาคารสามารถใช้สินทรัพย์สภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าได้มากกว่าธนาคารขนาดใหญ่เจ้าอื่นๆ

BBL: Recent Performance

1Q21 ก่าไรสุทธิ 6.9พันล้านบาท (+189%QoQ, -10%YoY) รายงานกeไรสุทธิ 1Q21 ที่ 6.9 พันล้านบาท (+189%QoQ, -10%YoY) จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 1.97 หมื่นล้านบาท
(+2.3%QoQ, -0.6%YoY) โดยการเติบโต QoQ เกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินรับฝาก ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ(NIM) เพิ่มขึ้นเป็น 2.17% เทียบกับ 2.12% ใน4Q20 แต่ลดลงจากที่ 2.252% ใน1Q20 ในขณะเดียวกัน NPL มีสัดส่วน 3.7% ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 3.5% ใน 1Q20 แต่ลดลงจาก 3.9% ใน 4Q20

BBL: Earnings Preview

คาดก่าไรสุทธิเติบโต YoY ใน 2Q21
• คาดว่าก าไรสุทธิ 2Q21 ของ BBL จะเติบโต YoY แต่จะหดตัว QoQ ที่ 6.02 พันล้านบาท (+95% YoY,-13% QoQ) โดยการเติบโต YoY จะเกิดจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลง (-56% YoY)
และรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้น (+11% YoY) ในขณะที่จะหดตัว QoQ จากการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นและรายได้อื่นที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่
• คาดว่ากำไรก่อนตั้งสำรองจะลดลง 22% YoY และ 11% QoQ เป็น 1.34 หมื่นล้านบาทจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง (-28%YoY,-8%QoQ) ผลจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในครั้งล่าสุด
• คาดว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 11% YoY และ 2% QoQ สู่ 2.01 หมื่นล้านบาทใน 2Q21 ด้วยการเติบโตของสินเชื่อที่ 1.6% YoY และ 0.9% QoQ

BBL: Revenue Breakdown

รายได้ของธนาคารมาจาก:
(1) รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 65% ของรายได้รวมของธนาคารในปี 2020 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิถือเป็นรายได้หลัก หากการเติบโตของสินเชื่อของธนาคารและ NIM สูง รายได้นี้จะเติบโตสูงไปด้วย
(2) รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 21% ของรายได้รวมในปี 2020 โดยรายได้จากส่วนนี้ประกอบด้วยรายได้ค่าธรรมเนียมในการจัดการสินทรัพย์และค่าธรรมเนียมวาณิชธนกิจ
(3) รายได้จากการด่าเนินงานอื่นๆ 14% ของรายได้รวมในปี 2020 โดยรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ
ส่วนใหญ่มาจากกำไรจากการลงทุน การซื้อขายและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

BBL: Risk – การเพิ่มขึ้นของ NPL ดอกเบี้ยต่ำเป็นระยะเวลานาน ความล่าช้าแจกจ่ายวัคซีน

NPLs ที่สูงขึ้นและการตั้งส่ารองจากสินเชื่อที่ไม่ก่อเกิดรายได้
เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เป็นเงินกู้ที่ผิดนัดหรือใกล้จะผิดนัดที่ผิดชำระเป็นเวลา 90 วัน จากนั้นธนาคารจะตัดจำหน่ายเงินกู้และตั้งสำรองเพื่อคงสถานะทางการเงินที่ดีและเพื่อลดภาระภาษีลง ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ NPL อาจทำให้ธนาคารสูญเสียรายได้ดอกเบี้ยบางส่วนหรือทั้งหมดของเงินต้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารและอัตราส่วนเงินกองทุน อย่างไรก็ตามธนาคารได้จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบสถานะสินเชื่อของลูกค้าและติดตามสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อย่างสม่ำเสมอ
อัตราดอกเบี้ยต่่าเป็นเวลานานซึ่งกดดัน NIM
อัตราดอกเบี้ยสุทธิ(NIM) คือการวัดเปรียบเทียบรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจากการปล่อยกู้และการปล่อยจำนองกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับผู้ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ โดยในช่วงกิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวและส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยลดลง ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยสุทธิลดลงและส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
ความล่าช้าในการพัฒนาและแจกจ่ายวัคซีน
ธุรกิจธนาคารสามารถเติบโตได้ดีในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นซึ่งจะช่วยผลักดันให้ NIM ของการสินเชื่อนั้นขยายตัว ทั้งนี้การแพร่ระบาดของCOVID-19 ได้สร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจทั่วโลก และการพัฒนาวัคซีนได้สร้างความหวังและช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมาได้ ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าจะมีการฉีดวัคซีนในประเทศไทยภายในต้นปีนี้ อย่างไรก็ตามความล่าช้าในการขนส่งและกระจายการฉีดวัคซีนจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมธนาคาร

- Advertisement -