รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET Outlook & Strategy
SET Outlook
ประเมินดัชนีฯ แกว่งกรอบแคบ ตลาดได้ตัวช่วย Fed อาจไม่เร่งลด QE ฝรั่งซื้อหุ้นเอเชียวันที่สามติดต่อกัน ของไทยยังอิงตัวเลขติดเชื้อรายวัน …
สถานการณ์ Covid-19 วันนี้ ยุโรปและหลายประเทศยังมีความกังวลกับการระบาดของสายพันธ์ Delta ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่เร่งฉีดวัคซีน รวมถึงไทยด้วย อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าการขึ้นลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยจะอิงกับตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันด้วย ซึ่งวันนี้(15) เพิ่มขึ้นในระดับที่ลดลงจากวันก่อน จาก 9,317 เป็น 9,186 ราย …
ทิศทางเศรษฐกิจโลก จาก Covid-19 รอบใหม่ จะถ่วงตลาดหุ้นที่ GDP ถูกกระทบมาก รวมถึงของไทย ซึ่งก็ได้สะท้อนไปในราคาหุ้นมาแล้วระดับหนึ่ง วันนี้ Worldbank จะออกรายงาน “Thailand Economic Monitor:The Road to Recovery” อาจมีสัญญาณว่าจะมีการปรับลด GDP ของไทยลงขนาดไหน (ล่าสุด Worldbank ให้ไว้ที่ 2.2% ในปีนี้) …
นาย Powell ได้กล่าวต่อสภาฯ วานนี้ สรุปได้ว่า Fed อาจยังไม่เร่งลด QE เพราะยังต้องใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เรามองว่า ไม่ได้มีอะไรใหม่ แต่ทำให้ตลาดคลายความกังวลจากเรื่องเงินเฟ้อได้ สังเกตได้จาก Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯ ปรับลงมาถึง 1.34% ในคืนที่ผ่านมา เป็นปัจจัยบวกตัวหนึ่งของตลาด …
ด้าน OPEC+ มีข่าวระบุ UAE และซาอุฯ ตกลงในเรื่องการเพิ่มการผลิต ข่าวระบุว่า UAE จะเพิ่มกำลังการผลิตจาก 3.2 เป็น 3.8 ล้านบาร์เรล/วัน เป็นเรื่องที่กดดันราคาหุ้นน้ำมัน(PTTEP) แต่น่าจะดีต่อผู้ผลิตปิโตรเคมี (เราชอบ IVL) …
ตัวแปรอื่นๆ ที่ติดตามในวันนี้ รมว.คลัง จะกล่าวในเรื่องแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และอาจพูดถึงมาตรการช่วยลูกหนี้ (มีผลตรงต่อราคาหุ้นสถาบันการเงิน) และนักลงทุนกลับมาซื้อในตลาดเอเซียเป็นวันที่สามติดต่อกัน (รวม 6 ประเทศ $2.2 พันล้านเหรียญ) เป็นสัญญาณว่านักลงทุนกลุ่มนี้เริ่มกลับเข้าตลาดอีกครั้ง …
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ ตัวเลข GDP 2q ของจีน คาด 8.1% (1q=18.3%)
Strategy
รูปทรงตลาดหุ้นไทยยังคงดี แต่หากยืนเหนือ 1570 จุดได้ ความมั่นใจจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนมีการเวียนกลุ่มเล่นตลอด กลยุทธ์ ช่วงนี้จึงต้อสลับตัวเล่นตามรายวัน (ส่วนใหญ่หุ้น 1 ตัวจะเล่นไม่เกิน 2 วัน) โดยการจัดหุ้นเข้าพอร์ตของเรายังระมัดระวังตัวอยู่ต่อไป เน้นหุ้นที่ปัจจัยเฉพาะตัว หรือหุ้นที่ราคาลงมาแต่ไม่ได้ถูกกระทบตรงจาก Covid-19 …
พอร์ตหุ้นวันนี้ เรานำหุ้น CBG ออก และเพิ่มหุ้น SUN*, BCPG* เข้ามาแทน หุ้นในพอร์ตประกอบด้วย SUN*(10%), BCPG*(10%), PSL(20%), GUNKUL(15%), JMART*(15%), ASIAN(10%), SYNEX(15%)
* เป็นหุ้นที่แนะนำโดย KTBST ยังไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
Strategy Stock Pick
SUN*: (เป้าเชิงกลยุทธ์ 7.80 บาท) “ได้ประโยชน์เต็มที่จากเงินบาทอ่อนค่า”
• SUN เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ส่งออกที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนค่าของเงินบาทมากที่สุด เพราะรายได้มากกว่า 80% มาจากต่างประเทศ
• บริษัททยอยเพิ่มสินค้าพร้อมรับประทาน (Ready to eat) เพราะตลาดตอบรับดี (ปัจจุบันอยู่ที่ 9% ของรายได้) ช่วยดันมาร์จิ้นเพิ่มขึ้น
• Bloomberg Consensus ประเมินกำไรปี 2021 ที่ 242 ลบ. +26%YoY, ลุ้นอัพเป้ารายได้จากการเพิ่มกำลังการผลิตสินค้ากลุ่ม Frozen
Technical : ASK, NEX
Key Events
• 15 ก.ค.: ตัวเลข GDP 2Q ของจีน
News Comment
( + ) JKN (ซื้อ/เป้า 12.50 บาท) ยอดขายคอนเทนต์ดีล็อกดาวน์ไม่กระทบ เตรียมออกน้ำดื่มผสมกัญชงหลัง อย.อนุญาต
( 0 ) Energy (Overweight) ราคาน้ำมันดิบลง จากข่าวความคืบหน้าการตกลงของซาอุฯและ UAE
Company Report
( + ) GPSC (ปรับขึ้นเป็น ซื้อ/ปรับเป้าขึ้นเป็น 93.00 บาท) Unlocked new source of growth
( – ) TKN (ถือ/ปรับเป้าลงเป็น 7.40 บาท) กำไร 2Q21E ชะลอตัวจาก COVID-19, คาดฟื้นตัวตั้งแต่ 3Q21E
( 0 ) GLOBAL (ปรับลงเป็น ถือ/เป้า 25.00 บาท) กำไรอ่อนตัวเล็กน้อย QoQ แต่ SSSG +35% เติบโตสูงสุดในกลุ่ม
Economic Outlook
• ตลาดสหรัฐฯปิดแดนบวกรับการแถลงต่อสภาคองเกรสของประธาน Fed ที่ยังคงมุมมอง Dovish สนับสนุนการฟื้นตัวตลาดแรงงาน และมองว่าการพุ่งขึ้นของเงินเฟ้อเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว ทำให้กลุ่มการบริโภคมีแรงเข้าซื้อเพียงกลุ่มเดียวเนื่องจากกลุ่มการเงินถูกขายทำกำไรหลังรายงานผลประกอบการ และกลุ่มพลังงานปรับตัวลงตามราคาน้ำมันดิบ
• อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหราชอาณาจักรรายงานสูงกว่าคาดการณ์ ออกมาที่ 2.5% YoY ขยายตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยต้นทุนการคมนาคมในประเทศขยายตัว ประกอบกับราคารถยนต์มือสองที่เป็นปัจจัยสำคัญของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วโลก ขณะที่ต้นทุนอาหารสดยังขยายตัวในระดับต่ำ ทาง BOE คาดว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะขยายตัวเกินกว่าระดับ 3%
What to Watch
ติดตามการรายงานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนประจำไตรมาส 4 คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวที่ 13% YoY หรือ 0.5% QoQ ลดลงจากไตรมาสแรก โดยยังเป็นการเติบโตในระดับสูงเทียบกับปีก่อนหน้าที่ได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยการเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคครัวเรือนและการส่งออกสินค้าโรงงาน