KS Daily View 28.03.2022 >>> สัปดาห์นี้ประเมินตลาดหุ้นทั่วโลกชะลอการปรับขึ้น ส่วนหุ้นไทยคาดแกว่งตัว ยังเผชิญแรงกดดันจาก สงครามรัสเซีย – ยูเครนยังยืดเยื้อต่อ, ทิศทางการ Downgrade GDP ยังมีต่อ / SET คาด 1670 -1680 หุ้นแนะนำ CBG, BEM

ตลาดต่างประเทศ : KS ประเมินสัปดาห์นี้ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน มี.ค. ตลาดหุ้นทั่วโลกคาดจะแกว่งตัว ประเมินตลาดหุ้นสหรัฐ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม Tech มีโอกาสชะลอการปรับขึ้นหรืออาจจะเห็นการขายทำกำไร (Take profit)ไ หลังจาก 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอิงดัชนี Nasdaq ปรับเพิ่มขึ้นมาติดต่อกันรวมราว 13.3% แต่ KS ประเมินเป็นการชะลอช่วงสั้น แต่มีโอกาสปรับขึ้นต่อในระยะถัดไป ตามที่เคยนำเสนอว่าในรอบนี้หุ้นกลุ่ม Growth จะ Outperform หุ้นกลุ่ม Value ฝั่งเอเซียประเมินตลาดหุ้นจีน มีโอกาสถูกกดดันจากประเด็น 1.)การระบาดของโควิด-19 ต่อ ล่าสุด มีการประกาศล็อคดาวน์ เซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีขนาด GDP สูงที่สุดในประเทศจีน ราว 3.82 ล้านล้านหยวนระยะเวลา 5 วัน โดยเริ่มมีผลวันนี้ และจะเริ่มจะล็อคดาวน์ฝั่งตะวันตกของจีน เริ่มวันที่ 1 เม.ย. เป็นต้นไป หุ้นที่ได้รับ Sentiement ลบ กลุ่มเรือเทกอง, กลุ่มน้ำมัน, กลุ่มถ่านหิน, กลุ่ม electronics กลุ่มท่องเที่ยวฯลฯ 2.) หุ้นจีนที่จดทะเบียนในตลาดสหรัฐฯอาจถูกเพิกถอน (Delist) เพราะไม่ได้เปลี่ยนมาใช้ผู้สอบบัญชีอเมริกัน เป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อ

ขณะที่ SET ทิศทาง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับขึ้นเพียง 1.8% และตลอดสัปดาห์นี้ลักษณะแกว่งตัวออกข้าง (Sideway) โดยประเมินจากประเด็นปัจจัยพื้นฐานยังไม่มีอะไรใหม่ที่จะทำให้ตลาดหุ้นขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยเฉพาะตัวในประเทศ ประเด็นต่างประเทศเป็นประเด็นเดิม ซึ่งยังเป็น Sentiem ลบ อาทิ

  1. การ Downgrade GDP ไทยปี 2565 ล่าสุด ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (KResearch) ปรับลด GDP ไทยปี 65 ลงอยู่ระดับ 2.5%YoY กรณีฐาน และ 2.9%YoY ในกรณีดี จากเดิมที่คาด 3.7%YoY ณ. ธ.ค.64 หลักๆ ปรับลงจากสมมติฐานการบริโภคครัวเรือน , การลงทุนและส่งออก ประเมินว่าจะเห็นสำนักเศรษฐกิจอื่นๆจะทยอยปรับลด GDP ลงตาม โดย KS ให้น้ำหนัก การประชุม กนง. วันที่ 30 มี.ค. 65 ติดตาม ธปท. เตรียมหั่นประมาณการ GDP ปี 2565 ที่เดิมคาดว่าจะโต 3.4% มองการปรับลดเป้า GDP จะเป็น sentiment เชิงลบต่อกลุ่ม Domestic play ได้แก่ กลุ่มธนาคาร อสังหาฯ ค้าปลีก และท่องเที่ยว
  2. สงครามรัสเซีย – ยูเครนประเมินยังยืดเยื้อต่อ ความคืบหน้าล่าสุด ฝั่งสหรัฐเผยจะจัดหา ทำการค้า Supply พลังงานน้ำมันให้กัยยุโรป ฝั่งรัสเซียประกาศประเทศใดต้องการค้าขายกับรัสเซียต้องเอาทองคำมาซื้อเงินรูเบิลรัสเซียเพื่อทำการค้า KS ประเมินมีโอกาสที่จะเห็นประเทศพันธมิตยูเครนมีโอกาสจะยังคง Economic Sanction กับรัสเซียยาวขึ้น ทำให้เปิด Dowside กับ GDP โลก และหนุนราคาพลังงานสูงต่อ
  3. ประเด็น Fed เชื่อว่าตลาดรอรายงาน Fed Minutes ต้นเดือน วันที่ 6 เม.ย. เชื่อว่า ตลาดจะรอรายละเอียดมาตรการ Quantitative Tightening (QT)? ส่วนประเด็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ตลาดค่อนข้างเชื่อว่ามีโอกาสการประชุม 2 ครั้งในช่วง 2Q22 คือรอบ 4 พ.ค และ รอบ 15 มิ.ย. จะเห็นการปรับขึ้น 50 bps โดยรวมเชื่อว่ายิ่งใกล้วันประชุมตลาดหุ้นโลกยังมีโอกาสถูกกดดัน ขณะที่ไทย หากธปท. ยังคงอัตราดอกเบี้ยที่เดิม 0.5% ?? จะทำให้เงินบาทอ่อนค่าแรง กดดัน Flow ไหลออก

ส่วนปัจจัยบวกที่หนุนตลาดหุ้นไทยหลักๆ คือ รัฐบาลไทยเดินหน้าปลดล็อกมาตรการเข้าประเทศทุกเงื่อนไข จ่อชง ศบค.พิจารณายกเลิกระบบ Thailand Pass-Test & Go 1 มิ.ย.นี้ หลังประกาศยกเลิกการตรวจ RT-PCR วันแรกที่เดินทางถึงไทย 1 พ.ค. โดยรวมมุมมอง KS ประเมินโค้งสุดท้ายของเดือน มี.ค.65 KS ยังคงคำแนะนำในช่วงนี้ คือ ไม่เพิ่มน้ำหนักพอร์ตการลงทุน ประเมินหุ้นไทยทิศทางจะเป็นลักษณะแกว่งตัวผันผวน ยังแนะนำหากตลาดหุ้นขึ้นมาแนะนำให้ขายทำกำไร กลยุทธ์การลงทุน : กลุ่มที่แนะนำลงทุนในช่วงนี้ คือ กลุ่มเครื่องดื่ม (SAPPE, CBG, OSP) กลุ่มการเงิน (TIDLOR, ASK ,THANI, AEONTS, BAM) กลุ่ม Tech Consult อาทิ (BBIK, BE8) , กลุ่มโรงไฟฟ้า (GPSC, SSP) กลุ่ม ICT (DTAC, TRUE)

มุมมองตลาดหุ้น SET คาด 1670 -1680 หุ้นแนะนำ CBG, BEM

Top pick :

  • CBG (ราคาพื้นฐาน 111.0 บาท) เราประเมินยอดขายฟื้นตัวใน 1Q22 และทั้งปี 2565 หลักๆ มาจากการกลับมาเติบโตในเวียดนาม เมียนมา อังกฤษ และจีน และประเมินแนวโน้ม GPM ดีขึ้นจาก ASP ทีสูงขึ้น
  • BEM (ราคาพื้นฐาน 10.1 บาท) มีปัจจัยหนุน ได้แก่ 1) คาดแนวโน้มการฟื้นตัวหลังเปิดเมืองและผ่อนคลายล็อกดาวน์ และรัฐยังเดินหน้าเปิดประเทศ รวมถึงความคาดหวังการชนะการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม. 2) การฟื้นตัวที่เร็วขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และทางพิเศษ 3) ชนะประมูลโครงการทางพิเศษและรถไฟฟ้าสายใหม่

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามตัวเลข Wholesales inventories และ Retail inventories ex Autos ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.7% MoM และ +1% MoM
  • วันอังคาร ติดตามตัวเลข Gfk consumer confidenc ของเยอรมันเดือน เม.ย. คาด -12 จุด แย่ลงต่อเนื่องจาก -8.1 จุดในเดือน มี.ค. ดัชนีราคาบ้านของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. โดย S&P/Case-Shiller คาด +18.3% YoY ดัชนี CB Consumer Confidence ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 107 จุด (-3.2% MoM) ตัวเลข JOLTs Job Openings เดือน ก.พ. คาด 11.1 ล้านตำแหน่ง (-1.4% MoM)
  • วันพุธ ติดตามตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยเดือน ก.พ. คาด +2.5% YoY การประชุม กนง.ของไทย คาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของเยอรมันเดือน มี.ค. คาด +1.6% MoM และ +6.1% YoY ตัวเลขการจ้างภาคเอกชนของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 4.38 แสนคน ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลข NBS manufacturing PMI ของจีนเดือน มี.ค. คาด 49.1 จุด (-2.2% MoM) ตัวเลข NBS non-manufacturinng PMI ของจีนเดือน มี.ค. คาด 50.2 จุด (-2.7% MoM) ตัวเลข Retail sales ของเยอรมันเดือน ก.พ. คาด +0.6% MoM ตัวเลข ตัวเลขการบริโภคภาคเอกชนของไทยเดือน ก.พ. คาด -0.1% MoM ตัวเลขการลงทุนภาคเอกชนของไทยเดือน ก.พ. คาด +1.1% MoM ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย เดือน ก.พ. คาด -2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขอัตราการว่างงานของยุโรปเดือน ก.พ. คาด 6.7% (ทรงตัว MoM) ตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.5% MoM ตัวเลข Personal income ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.5% MoM ดัชนี PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.8% MoM และ +6.5% YoY ตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด 2 แสนตำแหน่ง ถ้อยแถลงของ Fed Williams และการประชุมกลุ่ม OPEC+
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลข Caixin manufacutring PMI ของจีนเดือน มี.ค. ของจีน คาด 49.1 จุด (-2.6% MoM) อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือน มี.ค. คาด +1.4% MoM และ +6.4% YoY ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 4.75 แสนตำแหน่ง ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 3.7% (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.8%) ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.3% MoM และ +5.5% YoY และตัวเลข ISM manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 58.6 จุด (ทรงตัว MoM)
- Advertisement -